ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจเพราะเมื่อร่างกายแก่ตัวลงโรคภัยก็ย่อมถามหาเรื่องสุขภาพจิตก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาสุขภาพจิตอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกายในอานาคตได้ เพื่อสุขภาพของคนที่เรารัก วันนี้ Hello คุณหมอจึงปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ
ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง
ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความรู้สึกโดดเดี่ยว ความผิดปกติทางอารมณ์และความวิตกกังวล ภาวะสมองเสื่อมและโรคจิต และผู้สูงอายุบางคนอาจเกิดอาการนอนไม่หลับ ความผิดปกติทางพฤติกรรม ภาวะสมองเสื่อม เกิดความสับสน เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกายภาพหรือการผ่าตัด ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่พบบ่อย ดังนี้
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าแตกต่างจากอารมณ์เศร้า เพราะเป็นโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลต่อความรู้สึก ความคิด กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับ การกิน การทำงาน
โรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นโรคประจำตัวของผู้สูงอายุแต่พบได้บ่อยเนื่องจากอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกไม่สบายใจ เครียดและเศร้า เช่น การเสียชีวิตของคนในครอบครัว การเกษียณอายุจากงาน ขาดรายได้ อาการเจ็บป่วยร้ายแรง ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการเศร้าหรือวิตกกังวล แต่หลังจากการปรับตัวอาการจะดีขึ้นตามลำดับ
โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder : OCD)
โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder : OCD) เป็นโรคความเจ็บป่วยทางจิตที่ทำให้เกิดความคิดหรือความรู้สึกที่ไม่ต้องการซ้ำ ๆ หรือถูกกระตุ้นให้ทำอะไรซ้ำ ๆ ในบางคนอาจเกิดความหลงไหลและมีแรงผลักดันให้ทำ เช่น คุณล้างเมือซ้ำแล้วซ้ำอีกหลังจากการสัมผัสสิ่งที่ต่าง ๆ แม้ความคิดของคุณไม่ต้องการที่จะทำแต่ก็ไม่สามรรถหยุดการกระทำนั้นได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำอาจมาจากความเครียดที่ส่งผลให้อาการแย่ลงได้ หรืออาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ
- มาจากพันธุกรรม
- ความแตกต่างทางกายภาพในบางส่วนลของสมอง
- อาการซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล
- มีประวัติเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก
โรคหรืออาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์รุนแรง รวมถึงอันตรายต่างๆ (Post-traumatic stress disorder : PTSD)
โรคหรืออาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์รุนแรง รวมถึงอันตรายต่างๆ (Post-traumatic stress disorder : PTSD) เป็นภาวะสุขภาพจิตที่เกิดจากเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัว อาจรวมไปถึงเหตุการณ์ย้อนหลัง ฝันร้าย และความวิตกกังวลอย่างรุนแรง
อาแสดงอาการให้เห็นทันทีเมื่อพบเจอกับเรื่องราวกระทบจิตใจ แต่ในบางครั้งอาจแสดงอาการเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านมาเป็นเวลานานแล้ว อาการต่าง ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวันทั้งทางสังคม ความสัมพันธ์ การทำงาน เมื่อเวลาผ่านไปอาการอาจรุนแรงมากขึ้นหรือเมื่อคุณเจอสิ่งเตือนใจ เช่น คุณอาจได้ยินเสียงรถแล้วนึกถึงเหตุการณ์รถชนในอดีต หรือคุณดูข่าวเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศแล้วทำให้คุณนึกถึงความทรงจำที่คุณเคยถูกกระทำมาในอดีต
โรคสองขั้ว หรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
โรคอารมณ์สองขั้วเป็นภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง ทำให้คุณรู้สึกหดหู่ใจ เศร้า สิ้นหวัง หมดความสนใจในกิจกรรมที่ทำอยู่และอารมณฺของคุณก็เปลี่ยนไปกลายเป็นความรู้สึกร่าเริงเต็มไปด้วยพลังงานหรืออาจหงุดหงิดอย่างผิดปกติ อารณ์เหล่านี้ส่งผลต่อการนอนหลับ พลังงาน การทำกิจกรรม การตัดสินใจ พฤติกรรม และความสามารถในการคิดอย่างชัดเจน
ปัจจัยเสี่ยง ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุอาจประสบกับความเครียดในชีวิตที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตอย่างรุนแรง เช่น การสูญเสียความสามารถในการทำงาน อย่างการเคลื่อนไหวได้ช้าลง ปวดเรื้อรัง ความอ่อนแอของร่างกาย ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งต้องการได้รับการดูแลสุขภาพในระยะยาว หรือในผู้สูงอายุบางคนอาจมีแนวโน้มประสบกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น สูญเสียคนรัก ขาดรายได้เมื่อเกษียณอายุ ความเครียดเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการแยกตัว ความทุกข์ทางจิตใจในระยะยาว
ปัญหาสุขภาพจิตยังส่งผลต่อสุขภาพกาย เช่น โรคหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าสูง และอาจส่งผลต่อการรักษาเมื่อผู้สูงอายุมีโรคหัวใจแล้วภาวะซึมเศร้ารวมอยู่ด้วย
สัญญาณ ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
สัญญาณเตือนที่อาจบอกว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่
- อารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง
- การกินและการนอนเปลี่ยนแปลงไป
- เก็บตัวและออกห่างจากผู้คน
- รู้สึกสับสน หลงลืม โกรธ หงุดหงิด กังวล กลัว
- มีอาการปวดเมื่อยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกเศร้า สิ้นหวัง
- สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
- มีอารมณ์โกรธ หงุดหงิด ก้าวร้าว
- หลงลืมง่าย
- ได้ยินเสียงแว่ว หรือเห็นภาพหลอน
- อาจมีความคิดทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น
[embed-health-tool-bmi]