backup og meta

อาหารบำรุงสายตาผู้สูงอายุ กินแล้วช่วยให้สายตามองชัดเจนอยู่เสมอ

อาหารบำรุงสายตาผู้สูงอายุ กินแล้วช่วยให้สายตามองชัดเจนอยู่เสมอ

อาหาร สิ่งที่เราจำเป็นที่ต้องกินเป็นประจำ โดยอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตานั้นมีอยู่รอบ ๆตัว ซึ่งการปรับเปลี่ยนวิถีการกิน รวมถึงมีโภชนาการที่ดี อาจช่วยชะลอหรือป้องกันปัญหาสายตา งั้นมาดูกันดีกว่าว่า อาหารบำรุงสายตาผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

[embed-health-tool-bmi]

ดวงตา สำคัญอย่างไร

ดวงตา (Eyes) ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่ง และมีบทบาทสำคัญมาก ๆ ประมาณ 80 % สิ่งที่เราได้เรียนรู้ และรับรู้นั้นมาจากการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน รวมไปถึงช่วยในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประวันมากมาย สายตาปกติเป็นผลของการที่แสงโฟกัสผ่านกระจกตา และเลนส์แก้วตา ลงพอดีที่จอประสาทตา (Retina) การปกป้องดวงตาจะช่วยลดโอกาสตาบอด และสูญเสียการมองเห็น แล้วสัญญาณเตือนสุขภาพตามีอะไรบ้าง

สัญญาณเตือนสุขภาพดวงตา ที่ควรใส่ใจ

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญไวมองอะไรที่สวย ๆ งาม ๆ แล้วพาเราไปหาประสบการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เกิด ดังนั้นหากเกิดอาการแบบนี้ เราควรหันมาใส่ใจสุขภาพตามากขึ้น

  • ตาไวต่อแสง
  • ปวดศีรษะ หรือเมื่อยล้าทางสายตา
  • ขยี้ตาบ่อย
  • ตาแห้ง
  • เห็นภาพไม่ค่อยชัดเจนเท่าทีควร
  • สายตาค่อย ๆ มัวลง
  • เห็นภาพเป็นเงาซ้อน
  • มีปัญหาการโฟกัสในระยะไกล

อาหารบำรุงสายตาผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

อาหารเป็นสิ่งที่คนเราต้องรับประทานอยู่แล้วในทุก ๆ วัน วันละ 3 มื้อ แต่ถ้าอาหารเหล่านี้สามารถบำรุงสายตาได้ อย่างนี้ต้องรีบรับประทานแล้วรึเปล่านะ

  • ผักใบเขียว เช่น คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง และผักชนิดอื่น ๆ ซึ่งผักเหล่านี้อุดมไปด้วยสารสำคัญที่ไม่ว่าจะเป็นลูทีน ซีแซนทีน ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารบำรุงสายตา จากการศึกษาพบว่าสามารถช่วยลดความเสื่อมของจอประสาทตา การเกิดต้อกระจก
  • ผักสีส้มและสีเหลือง เช่น แครอท มีวิตามินเอที่มีความสำคัญต่อการมองเห็น และช่วยบำรุงกระจกตา
  • ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ผลไม้รสเปรี้ยวนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ตระกูลส้มที่อุดมด้วยวิตามินซี ได้แก่ เลมอน มะนาว ส้ม เกรปฟรุ้ต หรือแม้แต่ผลไม้ตระกูลเบอรี่
  • เมล็ดพืช ถั่ว ถั่วอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และยังมีวิตามินอี พืชตระกูลถั่วที่ดีต่อสุขภาพดวงตา ได้แก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ วอลนัท อัลมอนด์ ซึ่งผลวิจัยพบว่าช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา
  • ไข่ แหล่งที่ดีของลูทีน ซีแซนทีน ลดความเสี่ยงของการสูญเสียการมองเห็น ไข่ยังเป็นแหล่งวิตามินซีและวิตามินอี รวมถึงสังกะสี ผู้สูงอายุควรรับประทานไข่ต้มที่สุก
  • ปลา แหล่งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะตาแห้ง ซึ่งพบมากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ทูน่า
  • การดื่มน้ำ น้ำมีความสำคัญมากมาย ร่วมถึงสุขภาพดวงตาเช่นกัน การดื่มน้ำบ่อย ๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำ และอาจลดอาการตาแห้ง

การดูแลดวงตา ด้วยวิธีอื่น ๆ

การดูแลดวงตานั้นไม่ได้มีแค่วิธีการกินอาหารอย่างเดียว แต่เรายังสามารถปกป้องดวงตาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ได้อีก เช่น

  • สวมใส่แว่นกันแดด เมื่อต้องออกไปนอกสถานที่ หรือสถานที่ที่มีแดดจ้า
  • หาจักษุแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจโรค และปัญหาทางตาของผู้สูงวัยที่สามารถพบเจอ
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อต้องทำงานกับสารระคายเคืองตา
  • สวมแว่นที่สามารถป้องกันแสงสีฟ้า
  • เลิกสูบบุหรี่
  • การมองอะไรที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น ดูต้นไม้ หรือการหลีกเลี่ยงการจอมองโทรทัศน์ โทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ

การรับประทานอาหารที่หลากหลาย รวมถึงผัก ผลไม้ และโปรตีนไร้มัน ในปริมาณที่เพียงพอ สามารถช่วยให้สุขภาพดวงตาดี และมองอะไร ๆ ได้ชัดเจน ซึ่งอาหารเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นแค่ผู้สูงอายุนะ เพราะวัยไหนก็สามารถรับประทานได้ เพื่อการมองเห็นที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Boost your diet to protect aging eyes. https://www.allaboutvision.com/over60/nutrition.htm. Accessed July 13, 2021

Top 10 foods for healthy eyes. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321226. Accessed July 13, 2021

Importance of Eye Care. https://www.medicaleyecenter.com/2016/06/20/importance-eye-care/. Accessed July 13, 2021

How to Keep Your Eyes Healthy. https://www.webmd.com/eye-health/good-eyesight. Accessed July 13, 2021

Good Foods for Eye Health.  https://www.webmd.com/eye-health/features/foods-eye-health. Accessed July 13, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารอาหารบำรุงกระดูกผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

โรคตาในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมอายุที่มากขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา