backup og meta

กระชายดำ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

กระชายดำ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

กระชายดำ เป็นพืชสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องแกงในการทำอาหารหลายชนิด เช่น น้ำยาขนมจีน ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า กระชายดำมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด เช่น ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดไขมัน อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ อาจช่วยรักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดและอาจช่วยต้านมะเร็งได้อีกด้วย

[embed-health-tool-bmr]

คุณค่าสารอาหารของกระชายดำ

กระชายดำมีสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

  • กรดอะมิโน
  • ไฟเบอร์หรือใยอาหาร
  • เซเลเนียม (Selenium)
  • สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แทนนิน (Tannins) แอนโทรไซยานิน (Anthocyanins) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)

ประโยชน์ของกระชายดำที่มีต่อสุขภาพ

กระชายดำ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของกระชายดำในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

  1. อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

กระชายดำมีสารประกอบอย่างเอทานอล (Ethanol) ซึ่งเป็นสารสกัดที่พบในเหง้าของกระชายดำที่อาจช่วยเพิ่มการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายและอาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดกระชายดำในการเพิ่มสุขภาพทางเพศในผู้ชาย ตีพิมพ์ใน Journal of Integrative Medicine พ.ศ. 2561 นักวิจัยให้เพศชายอายุ 50-68 ปี ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเล็กน้อย รับประทานสารสกัดเอทานอลที่ได้จากเหง้าของกระชายดำ 100 มิลลิกรัม เป็นเวลา 30 วัน พบว่า สารสกัดเอทานอลจากเหง้าของกระชายดำช่วยปรับปรุงการแข็งตัวของอวัยวะเพศในชายวัยกลางคนและวัยสูงอายุได้ แต่ประสิทธิภาพอาจไม่เทียบเท่ากับยาตามใบสั่งคุณหมอ จึงอาจจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงประสิทธิภาพของสารสกัดจากกระชายดำ ที่อาจใช้เพื่อเป็นยาในการรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในอนาคต

  1. อาจช่วยลดน้ำหนักและไขมันหน้าท้อง

กระชายดำอาจนำมาใช้เพื่อปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดและรักษาอาการอักเสบ ภูมิแพ้ และระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งยังอาจช่วยยับยั้งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวและการสะสมไขมันในร่างกาย ซึ่งอาจช่วยในการลดความอ้วนและไขมันหน้าท้อง

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคกระชายดำที่อาจช่วยยับยั้งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวและการสะสมไขมันในร่างกาย ตีพิมพ์ในวารสาร Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 โดยทดลองในชายและหญิงอายุ 20-65 ปี ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 24 และน้อยกว่า 30 กิโลกรัม/เมตรยกกำลังสอง แบ่งกลุ่มให้รับประทานยาหลอกและกระชายดำ 1 แคปซูล ปริมาณ 150 มิลลิกรัม อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่รับประทานกระชายดำมีไขมันหน้าท้อง ไขมันใต้ผิวหนัง ไขมันทั้งหมด รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ที่ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก

ดังนั้น กระชายดำจึงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์และปลอดภัยในการใช้เพื่อป้องกันและยับยั้งโรคอ้วน รวมถึงอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบเผาผลาญที่ผิดปกติให้ทำงานได้ดีขึ้น

  1. อาจช่วยรักษาโรคเบาหวาน

สารสกัดเอทานอลและเมทอกซีฟลาโวน (Methoxyflavone) ที่พบในกระชายดำอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อช่วยในการเผาผลาญน้ำตาล จึงส่งผลให้สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวานได้

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดจากกระชายดำ พบว่า สารสกัดเอทานอลที่เสริมด้วยเมทอกซีฟลาโวนที่ได้จากกระชายดำ ตีพิมพ์ใน Songklanakarin Journal of Science and Technology เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563  อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพตับอ่อนในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดเป็นพลังงานมากขึ้น

ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของกระชายดำในการช่วยรักษาโรคเบาหวาน

  1. อาจช่วยรักษาโรคภูมิแพ้และหอบหืด

กระชายดำเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมใช้ในการแพทย์แผนไทย ด้วยการต้มยากับผงกระชายดำผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ความอ่อนแอและเหนื่อยล้า โรคเกาต์ โรคท้องร่วง โรคบิด แผลในกระเพาะอาหาร และโรคเบาหวานได้ เนื่องจากกระชายดำมีสารประกอบเมทอกซีฟลาโวที่อาจมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการแพ้ได้

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารประกอบจากกระชายดำ ตีพิมพ์ใน Journal of Ethnopharmacology เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551  พบว่า สารสกัดในกระชายดำอย่างเมทอกซีฟลาโวนมีฤทธิ์ต่อต้านอาการแพ้ได้มากที่สุด โดยกระตุ้นการปล่อยเอนไซม์เบต้าเฮกโซซามินิเดส  (β-hexosaminidase) ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งอาการแพ้ ดังนั้น การรับประทานกระชายดำจึงอาจช่วยรักษาอาการแพ้ได้

  1. อาจช่วยต้านมะเร็ง

กระชายดำมีสารประกอบออกฤทธิ์ตามธรรมชาติอย่างฟลาโวนอยด์ ที่อาจช่วยต้านการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตและกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายลงได้

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการต้านมะเร็งและเซลล์มะเร็งปากมดลูกของกระชายดำ ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Pharmacology เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2560  พบว่า สารสกัดจากระชายดำอย่างฟลาโวนอยด์อาจมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และอาจช่วยทำลายเซลล์ที่ผิดปกติที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เมทริกเมทัลโลโปรติเนส (Matrix Metalloproteinase) ยับยั้งการลุกลามของเซลล์ที่ผิดปกติและกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งปากมดลูกตายลง

ข้อควรระวังในการบริโภคกระชายดำ

การบริโภคกระชายดำ มีข้อควรระวังเพื่อป้องกันผลเสียต่อสุขภาพบางประการ ดังนี้

  • การบริโภคกระชายดำในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้
  • การบริโภคเหง้าของกระชายดำเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการเหงือกร่นได้
  • กระชายดำมีฤทธิ์ร้อน อาจส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหารของเด็กได้
  • กระชายดำอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยโรคตับจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคกระชายดำในปริมาณมาก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Kaempferia parviflora Extract Exhibits Anti-cancer Activity against HeLa Cervical Cancer Cells. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5600991/. Accessed September 27, 2022.

Diet Review: Anti-Inflammatory Diet. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/healthy-weight/diet-reviews/anti-inflammatory-diet/. Accessed September 27, 2022.

Anti-allergic activity of compounds from Kaempferia parviflora. https://www.researchgate.net/publication/5771698_Anti-allergic_activity_of_compounds_from_Kaempferia_parviflora. Accessed September 27, 2022.

Antidiabetic activity of methoxyflavone-enriched extract

of Kaempferia parviflora in streptozotocin-induced diabetic rats. https://www.thaiscience.info/Journals/Article/SONG/10992870.pdf. September 27, 2022.

Daily intake of Kaempferia parviflora extract decreases abdominal fat in overweight and preobese subjects: a randomized, double-blind, placebo-controlled clinical study. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6120512/. September 27, 2022.

Kaempferia parviflora ethanol extract improves self-assessed sexual health in men: a pilot study. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29880257/. September 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/09/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถั่วลิสง ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

Zinc (สังกะสี) คุณประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา