backup og meta

น้ำมันรำข้าว ดีต่อสุขภาพอย่างไร

น้ำมันรำข้าว ดีต่อสุขภาพอย่างไร

น้ำมันรำข้าว เป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวที่อุดมไปด้วยวิตามินอีและวิตามินเค อาจมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลและปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคเบาหวานประเภท 2 นอกจากนี้ ยังอาจมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น ต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบ อาจช่วยต้านมะเร็ง ลดกลิ่นปาก การรับประทานน้ำมันรำข้าวทดแทนน้ำมันชนิดอื่นจึงอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพได้

ประโยชน์น้ำมันรำข้าว

น้ำมันรำข้าวสกัดจากรำข้าวหรือแกลบของเมล็ดข้าว มีรสชาติเฉพาะที่เป็นเอกกลักษณ์ มีจุดเดือดสูงจึงดีต่อการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูง น้ำมันรำข้าว 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 14 มิลลิกรัม ประกอบด้วยปริมาณ 120 แคลอรี่ และไขมัน 14 กรัม อุดมไปด้วยวิตามินอีและวิตามินเค เป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ที่อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคเบาหวานประเภท 2 นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ดังนี้

ลดคอเลสเตอรอล

สำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ควรใช้น้ำมันรำข้าวปรุงอาหารทดแทนน้ำมันชนิดอื่น จากการศึกษา น้ำมันรำข้าวส่งผลให้ความเข้มข้นของไขมันเลว (LDL) และคอเลสเตอรอลรวมลดลง ซึ่งอาจช่วยป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดหัวใจได้ จึงควรรับประทานน้ำมันรำข้าวประมาณ 4.8 กรัม/วัน เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด

ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด

น้ำมันรำข้าวอาจช่วยลดการดื้อต่ออินซูลินและปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด 2 จากการศึกษา การผสมน้ำมันรำข้าว 80% และน้ำมันงา 20% อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารได้ เมื่อผ่านไป 4 สัปดาห์

ต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบ

สารประกอบในน้ำมันรำข้าว เช่น แกมมา โอไรซานอล (Gamma Oryzanol) อาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบได้ ช่วยยับยั้งเอนไซม์หลายชนิดที่ส่งผลต่อการอักเสบในหลอดเลือดและเยื่อหุ้มหัวใจ อาจกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบและภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจได้

อาจช่วยต้านมะเร็ง

จากการศึกษา โทโคไตรอีนอล (Tocotrienols) สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันรำข้าว อาจช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน

สุขภาพช่องปาก

จากการศึกษา ในน้ำมันรำข้าวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีประสิทธิภาพช่วยลดกลิ่นปาก ดังนั้น การกลั้วปากด้วยน้ำมันรำข้าวอาจช่วยลดกลิ่นปากได้

อาจช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน

น้ำมันรำข้าวอาจช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ

อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพผิว

ในน้ำมันรำข้าวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพผิว ช่วยลดความแห้งและหยาบกร้าน เพิ่มความยืดหยุ่นและอาจช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์ลง การทาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันรำข้าวอาจช่วยลดผื่นแพ้ผิวหนังได้

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำมันรำข้าว

  • ในผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทานหรือประกอบอาหาร เนื่องจาก คุณสมบัติของน้ำมันรำข้าวอาจส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง
  • ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าน้ำมันรำข้าวจะเป็นไขมันดี แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่ต้องการลดคอเลสเตอรอลควรรับประทานน้ำมันรำข้าวประมาณ 4.8 กรัม/วัน
  • หากมีภาวะระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลในลำไส้ ภาวะที่ทำให้ระบบย่อยตีบหรืออุดตัน การย่อยอาหารช้า ไม่ควรรับประทานน้ำมันรำข้าวเพราะอาจขัดขวางระบบย่อยอาหารได้
  • หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำมันรำข้าวในปริมาณมาก เนื่องจาก ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อยืนยันความปลอดภัย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Rice Bran Oil: Is It Good for You?. https://www.webmd.com/diet/rice-bran-oil-good-for-you#1. Accessed October 28, 2021

Rice Bran. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-852/rice-bran. Accessed October 28, 2021

Health benefits of rice bran oil. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10625933/. Accessed October 28, 2021

Rice bran oil ameliorates hepatic insulin resistance by improving insulin signaling in fructose fed-rats. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31275879/. Accessed October 28, 2021

Hypolipidemic mechanism of oryzanol components- ferulic acid and phytosterols. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27179780/. Accessed October 28, 2021

Chemopreventive Properties of Dietary Rice Bran: Current Status and Future Prospects1,2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3648746/. Accessed October 28, 2021

Studies on hypocholesterolemic activity of rice bran oil. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2783204/. Accessed October 28, 2021

γ-Oryzanol suppresses COX-2 expression by inhibiting reactive oxygen species-mediated Erk1/2 and Egr-1 signaling in LPS-stimulated RAW264.7 macrophages. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28728842/. Accessed October 28, 2021

Anticancer properties of tocotrienols: A review of cellular mechanisms and molecular targets. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30066964/. Accessed October 28, 2021

The effect of oil pulling with rice bran oil, sesame oil, and chlorhexidine mouth rinsing on halitosis among pregnant women: A comparative interventional study. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27966509/. Accessed October 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/10/2021

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำมันดอกทานตะวัน ประโยชน์จากธรรมชาติ

น้ำมันดอกคำฝอย กับสรรพคุณสุดเลิศ จะใช้บำรุงผิว ผม หรือปรุงอาหารก็ดีไม่แพ้กัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/10/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา