backup og meta

โหระพา ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

โหระพา ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

โหระพา เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดหรือนำมาประกอบอาหาร โหระพามีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว และอาจให้รสชาติที่แตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ อีกทั้งยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งอาจช่วยปรับปรุงบำรุงสุขภาพ ป้องกันโรคต่าง ๆ แต่ขณะเดียวกันหากรับประทานในปริมาณมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน

[embed-health-tool-bmr]

สารอาหารในโหระพา

โหระพาปริมาณ 100 กรัม อาจให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

  • โปรตีน 14.8 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 63.8 กรัม
  • ไฟเบอร์ 22.6 กรัม
  • ไขมัน 13.8 กรัม

นอกจากนี้โหระพายังอาจให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่

  • วิตามินเอ เป็นสารอาหารสำคัญที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการมองเห็น เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ โหระพา 100 กรัม มีวิตามินเอ 60 ไมโครกรัม ซึ่งปริมาณของวิตามินเอที่ควรได้รับตามช่วงอายุ มีดังต่อไปนี้
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 300 ไมโครกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 400 ไมโครกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 600 ไมโครกรัม/วัน
    • เด็กผู้หญิงอายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินเอ 700 ไมโครกรัม/วัน
    • เด็กผู้ชายอายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินเอ 900 ไมโครกรัม/วัน
  • วิตามินเค อาจมีส่วนช่วยป้องกันเลือดออกมากเกินไป บำรุงกระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน และลดการสูญเสียมวลกระดูก โหระพา 100 กรัม มีวิตามินเค 414.8 ไมโครกรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณของวิตามินเคที่ควรได้รับในแต่ละวัน คือไม่ควรเกิน 120 ไมโครกรัม/วัน
  • เหล็ก คือสารอาหารที่ช่วยสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง เพื่อช่วยนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อทั่วทั้งร่างกาย  โหระพา 100 กรัม อาจมีปริมาณของธาตุเหล็ก 2.27 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณธาตุเหล็กที่ควรได้รับในแต่ละวัน มีดังนี้
    • เด็ก 4-8 ปี ควรได้รับธาตุเหล็ก 10 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็ก 9-13 ปี ควรได้รับธาตุเหล็ก 8 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ใหญ่อายุ 19-50 ปี ควรได้รับธาตุเหล็ก 18 มิลลิกรัม/วัน
  • แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง โหระพา 100 กรัม อาจมีแมกนีเซียม 31.55 มิลลิกรัม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์กำหนดที่ทุกช่วงวัยสามารถรับประทานได้ ปริมาณของแมกนีเซียมที่แนะนำสำหรับแต่ละช่วงวัย มีดังนี้
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 80 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 130 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 240 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงอายุ 14-18 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 360 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ชายอายุ 14-18 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 410 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงอายุ 19-30 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 310 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ชายอายุ 19-30 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 400 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงอายุ 31 ปี ขึ้นไป ควรได้รับแมกนีเซียม 320 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ชายอายุ 31 ปี ขึ้นไป ควรได้รับแมกนีเซียม 420 มิลลิกรัม/วัน
  • สังกะสี อาจช่วยส่งเสริมการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายและสร้างโปรตีนที่ช่วยรักษาเนื้อเยื่อที่สึกหรอ โหระพา 100 กรัม อาจมีสังกะสี 1.58 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณ ที่เหมาะสม เนื่องจากผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับสังกะสี 11 มิลิกรัม/วัน 
  • โพแทสเซียม คือแร่ธาตุที่มีส่วนช่วยลดวามเสี่ยงของความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้ออักเสบ และช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและ ไต ให้เป็นไปตามปกติ โหระพา 100 กรัม มีโพแทสเซียม 295 มิลลิกรัม โดยปริมาณของโพแทสเซียมที่ควรได้รับตามช่วงอายุ มีดังนี้
    • ทารก 0-6 เดือน ควรได้รับโพแทสเซียม 400 มิลลิกรัม/วัน
    • ทารก 7-12 เดือน ควรได้รับโพแทสเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับโพแทสเซียม 3,000 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับโพแทสเซียม 3,800 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับโพแทสเซียม 4,500 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับโพแทสเซียม 4,700 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป ควรได้รับโพแทสเซียม 4,700 มิลลิกรัม/วัน
  • แคลเซียม มีบทบาทสำคัญที่ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ โหระพา 100 กรัม มีแคลเซียม 177 มิลลิกรัม ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำตามช่วงอายุ มีดังนี้
    • ทารก 0-6 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 200 มิลลิกรัม/วัน
    • ทารก 7-12 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 260 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 9-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ใหญ่อายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้หญิงอายุ 51-70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ชายอายุ 51-70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัม/วัน
  • แมงกานีส อาจช่วยบำรุงกระดูกที่เปราะบาง แตกหักง่าย และช่วยป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม โรคกระดูกพรุน ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล โหระพา 100 กรัม มีแมงกานีส 1.148 มิลลิกรัม โดยปริมาณแมงกานีสที่ควรได้รับตามช่วงอายุ มีดังนี้
    • ทารก 0-6 เดือน ควรได้รับแมงกานีส 0.03 มิลลิกรัม/วัน
    • ทารก 7-12 เดือน ควรได้รับแมงกานีส 0.6 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแมงกานีส 1.2 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแมงกานีส 1.5 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กผู้หญิงอายุ 9-13 ปี ควรได้รับแมงกานีส 1.6 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กชายอายุ 9-13 ปี ควรได้รับแมงกานีส 1.9 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กผู้หญิงอายุ 14-18 ปี ควรได้รับแมงกานีส 1.6 มิลลิกรัม/วัน
    • เด็กผู้ชาย 14-18 ปี ควรได้รับแมงกานีส 2.2 มิลลิกรัม/วัน
    • ผู้ใหญ่อายุ 19-51 ปีขึ้นไป ควรได้รับแมงกานีสไม่เกิน 2.3 มิลลิกรัม/วัน

ประโยชน์ของโหระพา

ประโยชน์ของโหระพา มีดังนี้

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา พบว่า ใบโหระพามีเอทานอล (Ethanol) ที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส่งผลให้โปรตีนผิดรูป นำไปสู่การเกิดสาร AGEs ซึ่งย่อมากจาก Advanceed Glycation End Products เป็นสารที่เกิดจากร่างกายได้รับโปรตีนและน้ำตาลมากเกินไป จนส่งผลให้การทำงานของหลอดเลือดเสื่อมลงจนเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ป้องกันโรคหัวใจ

โหระพามีสารยูจีนอล (Eugenol) ที่เป็นสารประกอบอยู่ในพืช ที่ซึ่งอาจช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ จากการทดสอบของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยว่า สารยูจีนอล อาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา นอกจากนี้ โหระพายังมีแมกนีเซียมที่อาจช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น สามารถนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงหัวใจ และช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นไปตามปกติอีกด้วย

  • ป้องกันการติดเชื้อ

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากโหระพา อาจมีส่วนช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล (E.coli) ที่พบได้ในลำไส้และ ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อในช่องท้อง และแพร่กระจายไปยังทางเดินปัสสาวะได้ 

  • ลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น

โหระพาอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ยูจีนอล (Eugenol) เบตาแคโรทีน ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระที่อาจนำไปสู่การทำลายเซลล์ในร่างกาย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ข้ออักเสบ

  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง

โหระพามีสารพฤกษเคมี เช่น ยูจีนอล (Eugenol) โรสมารินิค (Rosmarinic Acid) กรดคาร์โนซิค (Carnosic Acid) อะพิจีนีน (Apigenin) กลุ่มสเตอรอยด์ (β-sitosterol) ลูทอีโอลิน (Luteolin) จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในสุขภาพแห่งชาติพบว่า สารเหล่านี้อาจช่วยชะลอการเจริญเติบโต และยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งในช่องปาก

ข้อควรระวังการรับประทานโหระพา

การรับประทานโหระพาส่วนใหญ่มักจะปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่ก็อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในสภาวะต่าง ๆ ดังนี้

  • เด็ก สตรีตั้งครรภ์และอยู่ในช่วงให้นมบุตร โหระพาทั้งแบบสดและแบบที่พบได้ในอาหาร มักจะปลอดภัยสำหรับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร แต่โหระพาในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจมีสารเคมี Estragole ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์พบได้ตามธรรมชาติ และเป็นสารก่อมะเร็งที่อาจส่งผลให้เกิดมะเร็งตับได้
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ และการผ่าตัด น้ำมันโหระพาอาจทำให้เลือดไหลออกได้มากกว่าเดิม ทำให้เลือดแข็งตัวช้าในระหว่างการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเสียเลือดมาก ควรหยุดรับประทานสารสกัดจากโหระพาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนถึงวันผ่าตัด
  • ความดันโลหิตต่ำ โหระพามีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต ดังนั้น ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตต่ำอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานโหระพาในปริมาณมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตต่ำลงจนเกินไป

นอกจากนี้โหระพาที่สกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ หรือลดประสิทธิภาพของยาลง โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคเบาหวาน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน (Aspirin) โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ทิโคลพิดีน (Ticlopidine) ลอซาร์แทน (Losartan) แคปโตพริล (Captopril) แอมโลดิปีน (Amlodipine) เพื่อความปลอดภัย ก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากโหระพา ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Health Benefits of Basil. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-basil#1 . Accessed December 03, 2021

BASIL. HTTPS://WWW.RXLIST.COM/BASIL/SUPPLEMENTS.HTM . Accessed December 03, 2021

Vitamin A (Retinoid). https://www.webmd.com/a-to-z-guides/supplement-guide-vitamin-a#1 . Accessed December 03, 2021

Vitamin K. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/vitamin-k/ . Accessed December 03, 2021

What You Need to Know About Iron Supplements. https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/features/iron-supplements . Accessed December 03, 2021

Amount of Vitamin K in Basil. http://www.dietandfitnesstoday.com/vitamin-k-in-basil.php . Accessed December 03, 2021

Magnesium. https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-magnesium#1 . Accessed December 03, 2021

Zinc. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/zinc/ . Accessed December 03, 2021

Potassium. https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-potassium#1 . Accessed December 03, 2021

Manganese in basil Calculator. http://www.dietandfitnesstoday.com/manganese-in-basil.php . Accessed December 03, 2021

Calcium. https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-calcium#1 . Accessed December 03, 2021

Manganese. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Manganese-HealthProfessional/ . Accessed December 03, 2021

Glucose Lowering Effect of Basil Leaves in Diabetic Rats. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6542390/ . Accessed December 03, 2021

กินหวานดับร้อน เพิ่มความชรา. https://med.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/11232020-1032. Accessed December 03, 2021

Prevention of isoproterenol-induced cardiac hypertrophy by eugenol, an antioxidant. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23105625/ . Accessed December 03, 2021

The Potential of Use Basil and Rosemary Essential Oils as Effective Antibacterial Agents. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6270641/ . Accessed December 03, 2021

Role of Phytochemicals in Cancer Prevention. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6834187/ . Accessed December 03, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/12/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะรุม พืชสมุนไพรไทยใกล้ตัวกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

มะขามป้อม สมุนไพรที่ช่วยลดหุ่น แถมยังทำให้สุขภาพดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา