backup og meta

สูตรกะเพราเต้าหู้กรอบ อีกหนึ่งเมนูมังสวิรัติ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

สูตรกะเพราเต้าหู้กรอบ อีกหนึ่งเมนูมังสวิรัติ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

ผัดกะเพราเป็นอาหารไทยอีกหนึ่งเมนูที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย มีรสชาติเผ็ดร้อนจากพริกและสมุนไพร โดยทั่วไปนิยมเติมเนื้อสัตว์ เช่น หมูกรอบ หมูสับ ไก่ อาหารทะเล แต่สำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ หรือรับประทานมังสวิรัติ ก็สามารถทำตาม สูตรกะเพราเต้าหู้กรอบ ได้ เพื่อให้ได้รับโปรตีนจากเต้าหู้ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ทั้งยังอาจช่วยลดระดับไขมันเลวหรือคอเลสเตอรอลแอลดีแอล (LDL) ได้ด้วย ทั้งนี้ ควรเลือกน้ำมันสำหรับผัดและทอดให้เหมาะสม และไม่ควรใช้น้ำมันมากเกินไป เพื่อไม่ให้ร่างกายมีไขมันเลวและไตรกลีเซอไรด์สูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

สูตรกะเพราเต้าหู้กรอบ

ส่วนผสมสำหรับ กะเพราเต้าหู้กรอบ

  • เต้าหู้แข็งสีขาวหั่นชิ้น               200 กรัม
  • พริกขี้หนูสดสีแดง                     7-10 เม็ด
  • กระเทียม                                   5 กลีบ
  • น้ำมันพืช                                   2 ช้อนโต๊ะ
  • ซอสหอยนางรม                        1 ½ ช้อนโต๊ะ
  • ซอสปรุงรส                                1 ช้อนชา
  • น้ำตาลทราย                             ½ ช้อนชา
  • ใบกะเพรา                                 ½ ถ้วยตวง
  • พริกชี้ฟ้าสีแดงหั่นแฉลบ          1 เม็ด
  • น้ำเปล่า                                     3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันพืชสำหรับทอด

วิธีทำ กะเพราเต้าหู้กรอบ

  1. โขลกพริกขี้หนูกับกระเทียมให้ละเอียด เตรียมไว้สำหรับผัด
  2. นำกระทะตั้งไฟปานกลาง ใส่น้ำมันพืช พอน้ำมันร้อน ใส่เต้าหู้ลงทอดจนเหลืองกรอบ ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
  3. ใบกะเพรา ¼ ถ้วยตวงลงทอดจนกรอบ ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
  4. นำกระทะตั้งไฟปานกลาง ใส่น้ำมันพืชลงไป พอน้ำมันร้อน ใส่พริกขี้หนูกับกระเทียมที่โขลกไว้ลงไป แล้วผัดพอหอม
  5. ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรม ซอสปรุงรส และน้ำตาลทราย เติมน้ำเปล่า ผัดให้เข้ากันดีกับเนื้อหมู
  6. ใส่ใบกะเพราที่เหลือและเต้าหู้ทอดลงผัดให้เข้ากัน ยกลง ตักใส่จาน โรยใบกะเพราทอดกรอบที่ทอดไว้ จัดตกแต่งจานให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ

ประโยชน์สุขภาพจากเต้าหู้

เต้าหู้ทำมาจากถั่วเหลือง เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยทั่วไปมักปราศจากกลูเตน (Gluten) ทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ เต้าหู้ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและแคลเซียม (Calcium) และเป็นแหล่งของโปรตีนจากพืชที่ดี ผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์และไม่แพ้ถั่วเหลืองจึงสามารถบริโภคเต้าหู้เพื่อรับโปรตีนแทนการบริโภคเนื้อสัตว์ได้

นอกจากนี้ ในเต้าหู้ยังมีสารกลุ่มที่เรียกว่าไอโซฟลาโวน (Isoflavones) เช่น ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)  ซึ่งเป็นสารอาหารจากพืชที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับผลทางชีวภาพของสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตหรือโรคพฤติกรรม พบว่า ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีแนวโน้มว่าสามารถช่วยป้องกันโรคจากวิถีชีวิตหรือโรคพฤติกรรมได้ เช่น โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน (เช่น โรคมะเร็งเต้านม) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกพรุน

เต้าหู้

ใบกะเพรากับประโยชน์ต่อร่างกาย

กะเพราเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะส่วนใบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน โดยมีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่เผยว่า กะเพรามีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น งานศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพทางคลีนิกและความปลอดภัยต่อสุขภาพมนุษย์ของกะเพรา โดยการรวบรวบและทบทวนข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1,553 ชิ้น พบว่า กะเพรา โดยเฉพาะใบกะเพรามีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น ยูเจนอล (Eugenol) กรดยูโซลิก (Ursolic acid) จัดเป็นสมุนไพรที่นำมาใช้งานด้านสุขภาพได้อย่างปลอดภัย อาจช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือดให้เป็นปกติ รวมถึงใช้ในการบรรเทาภาวะเครียดทางจิตใจหรือปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งใบกะเพรายังมีน้ำมันหอมระเหยที่อาจช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ด้วย

ใบกระเพรา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

กะเพราเต้าหู้กรอบ. https://www.maeban.co.th/menu_detail.php?bl=1743. Accessed October 21, 2019

Tofu. https://www.webmd.com/food-recipes/benefits-tofu. Accessed October 31, 2022

Is tofu healthy? Yes, says Harvard Chan expert. https://www.hsph.harvard.edu/news/hsph-in-the-news/is-tofu-healthy-yes-says-harvard-chan-expert/. Accessed October 31, 2022

What are the benefits of tofu?. https://www.nal.usda.gov/legacy/fnic/what-are-benefits-tofu. Accessed October 31, 2022

Expand your healthy cooking oil choices. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/expand-your-healthy-cooking-oil-choices. Accessed October 31, 2022

กะเพรา. https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=20. Accessed October 31, 2022

Biological Effect of Soy Isoflavones in the Prevention of Civilization Diseases. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6683102/. Accessed October 31, 2022

The Clinical Efficacy and Safety of Tulsi in Humans: A Systematic Review of the Literature. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5376420/. Accessed October 31, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบกะเพรา ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

มือใหม่หัดเข้าครัว ทำอาหารกินเอง ยังไง ถึงจะเฮลตี้ ดีต่อสุขภาพสุดๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา