backup og meta

พริกขี้หนู ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 23/05/2022

    พริกขี้หนู ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

    พริกขี้หนู เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ตัวเม็ดมีลักษณะเป็นทรงกลมยาวขนาดเล็ก ปลายแหลมเรียว มีทั้งสีแดง เขียว เหลือง ส้ม ให้รสชาติเผ็ดร้อน คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารเพิ่มรสชาติให้จัดจ้านและมีสีสันให้ดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น ทั้งในรูปแบบพริกขี้หนูสด หรือพริกขี้หนูป่น นอกจากนั้น พริกขี้หนูยังประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินที่หลากหลายมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค ทองแดง รวมทั้งสารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก บรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร และลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งได้

    คุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู

    พริกขี้หนู 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 40 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้

    • คาร์โบไฮเดรต 9 กรัม
    • ไขมัน 400 มิลลิกรัม
    • โพแทสเซียม 322 มิลลิกรัม
    • โซเดียม 9 มิลลิกรัม

    นอกจากนี้ พริกขี้หนู ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ อาทิ แมกนีเซียม เหล็ก แคลเซียม รวมถึงวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินดี และวิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน (Cobalamin)

    ประโยชน์ของพริกขี้หนูต่อสุขภาพ

    พริกขี้หนู เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของพริกขี้หนู ดังนี้

    1. อาจบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร

    พริกขี้หนู มีสารแคปไซซิน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ชีวภาพที่พบได้บริเวณเยื่อแกนกลางของผลพริก ให้รสจัดจ้าน มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ บรรเทาอาการเจ็บปวดและยังอาจมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดบริเวณลิ้นปี่ ท้องอืด คลื่นไส้

    ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคกระเพาะอาหารแปรปรวนด้วยพริกขี้หนู เผยแพร่ในวารสาร Alimentary Pharmacology & Therapeutics ปี พ.ศ. 2545 โดยได้ทดลองให้ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารแปรปรวน (Functional Dyspepsia) จำนวน 30 คน กลุ่มแรก รับประทานพริกขี้หนูป่นจำนวน 2.5 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ กลุ่มสองรับประทานยาหลอก โดยทั้งสองกลุ่มต่างจดบันทึกเพื่อให้คะแนนระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น พบว่า กลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูป่นให้คะแนนระดับความรุนแรงของอาการต่ำกว่ากลุ่มที่รับประทานยาหลอก จึงสรุปได้ว่า พริกขี้หนูอาจมีประสิทธิภาพในการลดระดับความรุนแรงของอาการโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากคุณสมบัติของสารแคปไซซิน

    1. อาจลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งได้

    แคปไซซินในพริกขี้หนู นับเป็นสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) หลักที่ทำให้พริกขี้หนูมีสีแดง โดยมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง

    การศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับสรรพคุณของสารแคปไซซินในการต่อสู้กับมะเร็งเผยแพร่ในวารสาร Anticancer Research ปี พ.ศ. 2559 โดยผู้วิจัยอธิบายว่า แคปไซซินอาจช่วยต้านมะเร็งได้ โดยการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย รวมทั้งยับยั้งการสร้างหลอดเลือดและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง

    อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติต้านมะเร็งในพริกขี้หนู ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนเพราะงานวิชาการบางชิ้น เช่น งานวิจัยว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพริกขี้หนูและมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Epidemiology ปี พ.ศ. 2537 ระบุว่า การบริโภคพริกขี้หนู อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อสมมติฐานดังกล่าว

    1. ช่วยควบคุมน้ำหนัก

    การบริโภคพริกขี้หนู อาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เนื่องจากในพริกขี้หนูมีสารกลุ่มแคปไซซินอยด์ (Capsaicinoids) หรือสารที่อยู่ในกลุ่มให้กลิ่นและความเผ็ดร้อน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดความอยากอาหาร ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน

    ผลการศึกษาว่าด้วยคุณสมบัติของแคปไซซินอยด์ในการคุมน้ำหนัก ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Appetite ปี พ.ศ. 2557 โดยผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่าง ๆ ทั้ง สารแคปไซซินอยด์ใน พริกขี้หนู การบริโภคพริกขี้หนู ได้ข้อสรุปที่สนับสนุนว่าพริกอาจมีคุณสมบัติในการควบคุมน้ำหนักจริง โดยระบุว่า การรับประทานแคปไซซินอยด์ทุกวัน อาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เนื่องจากแคปไซซินอยด์ช่วยลดจำนวนพลังงานของสารอาหารที่บริโภคเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ผลการศึกษายังบอกอีกว่า แคปไซซินอยด์อาจมีประสิทธิภาพในการช่วยลดน้ำหนักในระยะยาว

    ขณะเดียวกัน งานวิจัยอีกชิ้น ว่าด้วยคุณสมบัติของแคปไซซินที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่มในมื้ออาหารและลดความอยากอาหาร ซึ่งเผยแพร่ใน Appetite ปีเดียวกัน มีผลการวิจัยที่สนับสนุนแนวคิดเรื่องการบริโภคพริกขี้หนูเพื่อควบคุมน้ำหนัก โดยระบุว่า การเพิ่มแคปไซซินเข้าไปในมื้ออาหาร ช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่ม ลดความอยากอาหาร รวมถึงป้องกันการรับประทานอาหารที่มากเกินพอดีได้

    1. อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

    การบริโภคพริกขี้หนู อาจช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ เนื่องจากพริกขี้หนูมีสารแคปไซซินและ ไดไฮโดรแคปไซซิน (Dihydrocapsaicin) ซึ่งเป็นสารต้านอนมุูลอิสระมีคุณสมบัติหลายประการ เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น บรรเทาภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน กระตุ้นให้เนื้อเยื่อตอบสนองต่ออินซูลินมากขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร

    จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งทำการทดลองในสัตว์ เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารแคปไซซินและแคปซิเอต ต่อระดับน้ำตาลเลือด ช่วยเพิ่มระดับอินซูลิน เผยแพร่ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2560นักวิจัยพบว่า สารแคปไซซิน อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ ด้วยการเพิ่มระดับอินซูลินและไกลโคเจนในร่างกายของสัตว์ทดลอง

    อย่างไรก็ตาม เปรียบเทียบกับสารแคปไซซิน ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกัน พบว่า สารแคปไซซินมีประสิทธิภาพมากกว่า

    ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของพริกขี้หนู ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

    ข้อควรระวังในการบริโภคพริกขี้หนู

    โดยทั่วไป เมื่อบริโภค พริกขี้หนู อาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน เหงื่อออกมาก และน้ำมูกไหล

    ในกรณีของผู้เป็นโรคลำไส้แปรปรวน การบริโภคพริกขี้หนู อาจทำให้ปวดท้องหรือท้องร่วงได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณน้อย

    นอกจากนี้ ผู้หญิงที่กำลังเป็นประจำเดือน ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคพริกขี้หนูในปริมาณมาก เพราะสารแคปไซซินในพริกขี้หนูอาจทำให้อาการปวดประจำเดือนรุนแรงกว่าเดิมได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 23/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา