backup og meta

ยำมะเขือยาวย่าง และประโยชน์ต่อสุขภาพ

ยำมะเขือยาวย่าง และประโยชน์ต่อสุขภาพ

ยำมะเขือยาวย่าง มีส่วนประกอบสำคัญคือมะเขือยาว กุ้งสด หอมแดง และน้ำยำรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ที่อุเมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน รวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก และยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้กุ้งนั้น อาจเลือกเป็นการใช้หมูสับใส่ลงไปแทนได้เช่นกัน

[embed-health-tool-bmi]

คุณประโยชน์ของมะเขือยาว

  • มะเขือยาว อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

มะเขือยาว มีแอนโทไซยานิน ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง

  • มะเขือยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

งานวิจัยที่ทดลองในสัตว์พบว่า มะเขือยาว อาจช่วยทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น และช่วยลดไขมันเลว หรือไขมันแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL cholesterol) และช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้เป็นเพียงการทดลองในสัตว์ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

  • มะเขือยาว ช่วยลดน้ำหนัก

มะเขือยาว จัดเป็นอาหารที่มีไฟเบอร์สูง และมีแคลอรี่ต่ำ ซึ่งทั้ง 2 คุณสมบัตินี้จะช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เมนูอาหารที่ทำมาจากมะเขือยาวจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หากกำลังลดน้ำหนักอยู่

ไม่เพียงแค่มะเขือยาว แต่เมนูนี้ยังได้ประโยชน์จากกุ้ง หมูสับและไข่ต้มอีกด้วย ซึ่งส่วนผสมแต่ละอย่างมีประโยชน์ ดังนี้

  • กุ้ง

อุดมไปด้วยโปรตีน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยกุ้ง 85 กรัมมีโปรตีน 18 กรัม และยังมีหลักฐานที่ชี้ว่าการกินกุ้ง อาจช่วยทำให้หัวใจและสมองแข็งแรงขึ้น เนื่องจากกุ้งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และมีสารแอสตาแซนทินที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

อย่างไรก็ตาม หลายคนมักจะกังวลว่ากุ้งมีคอเลสเตอรอลสูง แต่ยังไม่มีหลักฐานที่พบว่าการกินกุ้งส่งผลทางด้านลบต่อสุขภาพหัวใจ ถ้าหากมีคอเลสเตอรอลสูงและไม่แน่ใจว่าสามารถกินกุ้งได้หรือไม่ ควรปรึกษาคุณหมอ

  • หมูสับ

เป็นแหล่งโปรตีน เวลาเลือกซื้อหมูสับควรเลือกเนื้อหมูที่ไม่ติดมัน โดยหมูสับ 100 กรัมจะมีโปรตีน 25.7 กรัม ในหมูอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ได้แก่ ไทอะมีน ซิงก์ วิตามินบี 12 วิตามินบี 6 ไนอะซิน ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก

  • ไข่ต้ม

ไข่เป็นอาหารที่ราคาไม่แพง และเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี โดยในไข่ไก่ 1 ฟองจะมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม ซึ่งมีงานวิจัยที่พบว่าการกินไข่ในมื้อเช้า สามารถช่วยลดปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับตลอดทั้งวันได้ จึงดีกับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก หากต้องการลดความอ้วน ลองกินไข่ต้มตอนเช้าอาจช่วยลดน้ำหนักได้

สูตรยำมะเขือยาวย่าง

วัตถุดิบ

  • หมูสับ 50 กรัม
  • กุ้งสดปอกเปลือก ดึงเส้นดำออก และผ่าหลัง 50 กรัม
  • มะเขือยาว หั่นชิ้น 150 กรัม
  • หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ไก่

ส่วนผสมน้ำยำ

  • น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
  • พริกขี้หนูสวนซอย  1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. ย่าง มะเขือยาว พอสุก หรือสังเกตจากเนื้อของมะเขือที่เริ่มนิ่ม จากนั้นนำมาจัดใส่ในภาชนะ
  2. ลวกกุ้ง หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่คุณนำมาประกอบอาหารให้สุก และนำมาใส่ในชามพักไว้
  3. ต่อไปให้คุณเริ่มทำน้ำยำ โดยการนำส่วนผสมทุกอย่างผสมให้เข้ากัน พร้อมชิมรสชาติ และปรุงตามใจชอบ
  4. โรยเนื้อหมูสับ กุ้งลวก หอมแดง ไข่ต้ม ตามด้วยน้ำยำ คนให้เข้ากัน จากนั้นจัดจานเสิร์ฟทานพร้อมกับข้าวสวยร้อน ๆ ได้เลย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Nutritional Benefits of Eggplant https://www.livestrong.com/article/19046-nutritional-benefits-eggplant/ Accessed on September 6 2019.

Health Benefits of Eggplant. https://www.webmd.com/food-recipes/eggplant-health-benefits. Accessed 29, 2022

[Effect of eggplant on plasma lipid levels, lipidic peroxidation and reversion of endothelial dysfunction in experimental hypercholesterolemia]. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9659714/. Accessed 29, 2022

Cardioprotective properties of raw and cooked eggplant (Solanum melongena L). https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21894326/. Accessed 29, 2022

Impact of Dietary Polyphenols on Carbohydrate Metabolism. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2871121/. Accessed 29, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/08/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไฟเบอร์ สารอาหารดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ความเสี่ยงสุขภาพจากการ ลดน้ำหนักเร่งด่วน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา