backup og meta

สูตรผัดบร็อคโคลี่กุ้งสด

สูตรผัดบร็อคโคลี่กุ้งสด

บร็อคโคลี่กุ้งสด เมนูที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุจากผักมากมาย นอกจาก บร็อคโคลี่ แล้วยังมีแครอทที่เป็นแหล่งอาหารชั้นเยี่ยมของเบตาแคโรทีน ที่มีส่วนในการบำรุงดวงตา แถมเป็นเมนูที่สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ วันนี้ Hello คุณหมอ มี สูตรผัดบล็อคโคลี่กุ้งสด และประโยชน์ดีๆ ของบล็อคโคลี่มาฝากทุกคนกันค่ะ

บร็อคโคลี่ ผักสีเขียวที่อุดมไปด้วยประโยชน์

เมื่อพูดถึง บร็อคโคลี่ ทุกคนก็คงจะนึกถึงดอกสีเขียว แน่นอนว่าเจ้าดอกสีเขียวของ บร็อคโคลี่ เป็นสิ่งที่มาพร้อมกับประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แถมยังให้พลังงานแคลอรี่ที่ต่ำอีกด้วย เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในช่วงควบคุมอาหาร ที่สำคัญนอกจากไฟเบอร์ที่ดีแล้วยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่อีกด้วย

บร็อคโคลี่ เป็นพืชตระกูลกะหล่ำ ที่มีสารที่เรียกว่า “ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane)’ ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีอยู่ในผักตระกูลกะหล่ำ สารนี้เป็นตัวช่วยทำให้ตับขับสารพิษ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญของเนื้องอก อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้านมะเร็งอีกด้วย

นอกจากนี้ บร็อคโคลี่ ที่ปรุงสุกแล้ว จะให้วิตามินซีมากพอ ๆ กับส้มเลยทีเดียว และยังเป็นแหล่งเบตาแคโรทีน (ฺBeta-carotene) ที่ดีอีกด้วย บร็อคโคลี่ มีวิตามิน B1 B2 B3 B6 เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียมและสังกะสีด้วย

บล็อคโคลี่

สูตรผัดบร็อคโคลี่กุ้งสด

วัตถุดิบสำหรับ สูตรผัดบร็อคโคลี่กุ้งสด (สำหรับ 1-2 ที เวลา 10 นาที)

  • บร็อคโคลี่  400 กรัม
  • แครอท 1/4 ถ้วย
  • ถั่วลันเตาหวาน 1/4 ถ้วย
  • กุ้งสด 7-8 ตัว
  • กระเทียมสับ 4 กลีบ
  • น้ำมันหอย 1/4 ช้อนโต๊ะ
  • ซอสปรุงรส 1 ช้อนชา
  • น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
  • น้ำเปล่า

วิธีทำผัดบร็อคโคลี่กุ้งสด

  1. นำบร็อคโคลี่ แครอท ถั่วลันเตาไปล้างน้ำ ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย ล้างให้ผักสะอาด สัก 2-3 น้ำ
  2. หั่นดอก ก้านบร็อคโคลี่ เป็นชิ้นเล็กๆ พอดีคำ ส่วนแครอทหั่นเป็นแว่นๆ ความหนาพอดีกัน เพื่อที่จะได้สุกพร้อมๆ กัน
  3. ใส่น้ำมันมะกอกลงในกระทะตั้งไฟพอให้กระทะร้อน จึงนำกระเทียมลงไปผัดให้หอม ใส่กุ้งที่แกะเปลือกเรียบร้อยแล้ว ลงไปผัดให้พอสุก
  4. พอเห็นกุ้งเริ่มส้ม ๆ ใส่ บร็อคโคลี่  ถั่วลันเตา และแครอทลงไปผัด เติมน้ำเล็กน้อย ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ซอสปรุงรสและน้ำตาล ผัดให้เข้ากันจนผักสุกดี แล้วจึงตักเสิร์ฟ

ประโยชน์ของ บร็อคโคลี่ ต่อสุขภาพ

มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันสุขภาพ

สารต้านอนุมูลอิสระของ บร็อคโคลี่ อาจเป็นหนึ่งในอาหารหลักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่มีส่วยในการช่วยยับยั้งหรือต่อต้านความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งจะส่งผลทำให้ร่างกายอักเสบและส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ซึ่ง บร็อคโคลี่ เป็นผักที่มีสารกลูโคราพานิน (Glucoraphanin) ในปริมาณที่สูง และสารนี้ใน ร็อคโคลี่ ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า “ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane)

จากการทดลองพบว่าสาร ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ รวมถึงการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด การลดลงของระดับคอเลสเตอรอล นอกจากนี้บล็อกโคลี่ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) ที่สามารถช่วยป้องกันความเครียดที่เกิดจากการออกซิเดนและความเสียหายของเซลล์ในดวงตาได้อีกด้วย

ช่วยลดการอักเสบ

บร็อคโคลี่ มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิดที่ช่วยในการลดการอักเสบในเนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น สารแคมพ์เฟอรอล (Kaempferol) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มของฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) พบอยู่ในผักและผลไม้ และมีสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชัน และยังมีความสามารถในการต้านการอักเสบที่ดีอีกด้วย

จากการศึกษาขนาดเล็กในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่พบว่า การรับประทาน บร็อคโคลี่ มีส่วนช่วยในการลดลงของการอักเสบนั้นลดลงเป็นอย่างมาก แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ผัดบล็อคโคลี่กุ้งสด Stir Fried Broccoli with Shrimp. http://www.foodtravel.tv/recipe.aspx?viewid=5030. Accessed October 17, 2019

Health Benefits of Broccoli. https://www.healthyeating.org/Healthy-Eating/All-Star-Foods/Vegetables/Article-Viewer/article/91/health-benefits-of-broccoli. Accessed October 17, 2019

Top 14 Health Benefits of Broccoli. https://www.healthline.com/nutrition/benefits-of-broccoli. Accessed October 17, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

แครอทบำรุงสายตา ได้จริงหรือ?

เป็นหวัดกินอะไรดี 6 อาหารช่วยบรรเทาอาการหวัด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 10/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา