backup og meta

กุ้งเต้น (แบบสุก) เลือกกินแบบปรุงสุกปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่า

กุ้งเต้น (แบบสุก) เลือกกินแบบปรุงสุกปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่า

หนึ่งในอาหารอีสานที่เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันดีก็คือเมนู กุ้งเต้น หรือ ยำกุ้งเต้น ซึ่งเป็นการนำกุ้งฝอยแบบดิบหรือยังไม่ผ่านการปรุงสุกมาเป็นวัตถุดิบสำหรับทำเป็นยำ เป็นอาหารทานเล่นที่มีรสชาติแซ่บซี๊ด และมีความแปลกใหม่น่าลิ้มลอง อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่ยังไม่สุกนั้นถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพ และไม่ถูกต้องตามหลักการกินที่ถูกสุขลักษณะ และเพื่อให้ดีต่อสุขภาพจึงควรรับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเสมอ แต่สำหรับใครที่ชอบกินยำกุ้งเต้นล่ะก็ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนท่านผู้อ่านมาลองทำยำกุ้งเต้นที่ปลอดภัยต่อสุขภาพด้วย สูตรกุ้งเต้นแบบสุก ที่เรานำมาฝากกันค่ะ 

กุ้งดิบ กุ้งฝอย อันตรายอย่างไร

กุ้งดิบ กุ้งฝอย

การรับประทานอาหารแบบดิบมีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน แม้กระทั่งทุกวันนี้เราก็ยังสามารถพบเห็นวิถีการกินอาหารดิบๆ กันอยู่ทั่วไป ทั้งอาหารแบบท้องถิ่นอย่าง ยำกุ้งเต้น หรือพล่าเนื้อดิบ ไปจนถึงอาหารระดับภัตตาคารอย่างซาชิมิ หรือซูชิ ซึ่งก็มักจะเป็นที่ถกเถียงกันไปใน 2 กรณี ทั้งในเรื่องของความแปลกใหม่ น่าลิ้มลอง กับเรื่องของความปลอดภัยต่อสุขภาพ เพราะการกินอาหารที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก อาจเป็นที่มาของโรคภัยไข้เจ็บได้

โดยเฉพาะเมนู ยำกุ้งเต้น ซึ่งเป็นอาหารที่คนไทยเรารู้จักกันเป็นอย่างดี โดยหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญและเป็นเอกลักษณ์นั่นก็คือการใช้กุ้งฝอยแบบสดๆ หรือกุ้งฝอยที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งถึงแม้กุ้งจะเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยพลังงาน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญต่างๆ แต่การรับประทานกุ้งฝอย หรือกุ้งที่ยังดิบอยู่นั้นถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากกุ้งที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุกจะปนเปื้อนไปด้วยเชื้อโรค แบคทีเรีย พยาธิ และปรสิตต่างๆ ดังนี้

  • แบคทีเรียในกลุ่ม วิบริโอ (Vibrio) ที่สามารถพบได้ทั้งในแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย รวมถึงยังสามารถพบได้ในสัตว์ที่มาจากแหล่งน้ำต่างๆ อย่างกุ้งฝอยด้วย แบคทีเรียเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่จะก่อให้เกิดอหิวาตกโรค โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือการติดเชื้อต่างๆ
  • แบคทีเรียในกลุ่มของอีโคไล (E. coli) ซาลโมเนลลา (salmonella) หรือบาซิลลัส (Bacillus) เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่สามารถพบได้ในกุ้งดิบ ซึ่งก่อให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน อาหารเป็นพิษ

นอกจากนี้ เด็ก สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ถือเป็นกลุ่มที่ไม่ควรรับประทานอาหารดิบๆ หรืออาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากเชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆ ที่จะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงได้

สูตรกุ้งเต้นแบบสุก

เพื่อให้ปลอดภัยจากแบคทีเรีย พยาธิ และเชื้อโรคต่างๆ จากเนื้อสัตว์ดิบ การรับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกแล้วจึงถือว่าเป็นการกินที่ถูกสุขลักษณะ และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วย กับเมนู ยำกุ้งเต้น ก็เช่นกัน หากต้องการรสชาติที่แซ่บซี้ดแต่ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพล่ะก็ ลองมาทำ กุ้งเต้นแบบสุก แทนดีกว่า โดยสูตรกุ้งเต้นแบบสุก ทำเองได้ง่ายๆ ดังนี้

ส่วนผสมสำหรับ กุ้งเต้นแบบสุก

กุ้งฝอยสด 1 ถ้วย
พริกป่น 1-2 ช้อนชา
ตะไคร้ 1 ต้น
หอมแดงซอย 2 หัว
ผักชีฝรั่ง 1 ต้น
ต้นหอม 1 ต้น
สะระแหน่ 10 ยอด
ข้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
มะนาว 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ กุ้งเต้นแบบสุก

1.ล้างทำความสะอาดกุ้งฝอยให้สะอาด โดยการแช่น้ำแล้วเทน้ำทิ้งสัก 2-3 ครั้ง แล้วนำพักไว้ในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำลงไปต้มหรือลวกให้สุก

2.นำตะไคร้ หอมแดง ผักชีฝรั่ง ต้นหอม สะระแหน่มาซอยเตรียมไว้สำหรับการคลุกเคล้า

3.นำกุ้งที่ลวกหรือต้มจนสุกแล้วมาใส่ชามหรือกะละมังสำหรับยำ จากนั้นก็ใส่พริกป่น ข้าวคั่ว ตามด้วยตะไคร้ซอย หอมแดงซอย ผักชีฝรั่งซอย ต้นหอมซอย สะระแหน่ซอย จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำปลา มะนาว แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ก็จะได้ ยำกุ้งเต้น ที่อร่อยและปลอดภัยต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can You Eat Raw Shrimp?. https://www.healthline.com/nutrition/can-you-eat-raw-shrimp. Accessed on October 5, 2020.

Uncooked Shrimp Can Contain Harmful Bacteria. https://www.illinoisfoodpoisoningattorney.com/chicago-food-poison-lawyer/uncooked-shrimp-can-contain-harmful-bacteria. Accessed on October 5, 2020.

7 Things You Should Know About Shrimp. https://www.health.com/nutrition/calories-in-shrimp. Accessed on October 5, 2020.

กุ้งเต้น กุ้งเต้นสุก เมนูที่ต้องร้องว่าแซ่บสุดๆ. https://www.eattourthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/. Accessed on October 5, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/10/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ซูชิกับสุขภาพ ความจริงแล้วซูชิมีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือไม่?

กินเนื้อดิบ ส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 07/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา