backup og meta

ชาใบมะละกอ อีกหนึ่งเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ทำง่ายเพียงแค่ใช้ ใบมะละกอ

ชาใบมะละกอ อีกหนึ่งเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ทำง่ายเพียงแค่ใช้ ใบมะละกอ

มะละกอ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่เราทุกคนคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะส่วนผลของมันนั้น มักถูกนิยมนำมารับประทานทั้งแบบสุกและแบบดิบได้ แต่อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุกคนคาดไม่ถึงคงจะเป็นในส่วนของ ใบมะละกอ ที่มีการคิดค้น และถูกนำมาผ่านกระบวนการจนเป็นเครื่องดื่มในรูปแบบของ ชาใบมะละกอ ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ ขออาสาพาทุกคนมารู้จักกับคุณประโยชน์ หรือข้อดีทางด้านสุขภาพ จากการดื่มชาใบมะละกอ ให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กันค่ะ

สารอาหารสำคัญที่พบใน ใบมะละกอ 

สารอาหารส่วนใหญ่ที่พบในส่วนของใบมะละกอ ได้แก่ วิตามินที่สำคัญต่อร่างกายต่างๆ ดังนี้

  • วิตามินบี
  • วิตามินซี
  • วิตามินดี
  • วิตามินอี
  • แคลเซียม
  • ฟอสฟอรัส

นอกจากมีวิตามินและแร่ธาตุสำคัญแล้ว ยังมีโปรตีนปริมาณสูงที่สามารถเข้าไปช่วยปรับปรุงทางด้านระบบย่อยอาหาร หรือลดอาการท้องอืดที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยแก่คุณ แต่ในการนำใบมะละกอนี้มารับประทาน หากอยู่ในรูปแบบสดคงอาจให้ได้เพียงแต่รสขม ดังนั้นจำเป็นต้องผ่านการปรุงอาหาร หรือต้มในน้ำเดือดก่อนนำมารับประทาน เพื่อช่วยกำจัดความขมให้หายไปเสียก่อน

ชาใบมะละกอ-เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ-สมุนไพร' width='800″ height='480″ srcset='https://cdn.hellokhunmor.com/wp-content/uploads/2020/06/Papaya-Leaf.jpg 800w, https://cdn.hellokhunmor.com/wp-content/uploads/2020/06/Papaya-Leaf-300×180.jpg 300w, https://cdn.hellokhunmor.com/wp-content/uploads/2020/06/Papaya-Leaf-768×461.jpg 768w, https://cdn.hellokhunmor.com/wp-content/uploads/2020/06/Papaya-Leaf-100×60.jpg 100w, https://cdn.hellokhunmor.com/wp-content/uploads/2020/06/Papaya-Leaf-45×27.jpg 45w, https://cdn.hellokhunmor.com/wp-content/uploads/2020/06/Papaya-Leaf-778×467.jpg 778w' sizes='(max-width: 800px) 100vw, 800px' /></p> <p>ประโยชน์ของการนำ ใบมะละกอ มาทำเป็น ชาใบมะละกอ</p> <p>เมื่อ ใบมะละกอ ที่ถูกผ่านกระบวนการกำจัดความขม และถูกแปรรูปให้มาอยู่ในรูปแบบของเครื่องดื่มอย่าง ชาใบมะละกอ แล้ว ในแต่ละครั้งที่คุณนำมาชงดื่ม สารอาหารจากชาใบมะละกอ อาจมีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกายของคุณได้ ดังต่อไปนี้</p> <p>ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร</p> <p>นอกจากสารอาหารที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ใบมะละกอยังมีเอนไซม์ที่มีประโยชน์ จำพวกโปรตีเอส (Protease) และอะไมเลส (Amylase) อยู่อีกด้วย ซึ่งจะสามารถเข้าไปช่วยในส่วนของการต้านการอักเสบ กำจัดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori; H.Pylori) ที่เป็นสาเหตุในการเกิด<a data-event-category=แผลในกระเพาะอาหาร พร้อมทั้งป้องกันการก่อตัวของกรดในกระเพาะอาหารได้ โดยเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ แนะนำว่าควรบริโภค 2-3 ครั้งต่อวัน

  • ต่อต้านเชื้อร้ายที่มาจากยุง

หลัก ๆ แล้ว “ยุง’ เป็นพาหะตัวการที่มักจะนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับเชื้ออ่อนแอลง จนเกิดเป็นการล้มป่วยและอาจรุนแรงถึงชีวิตในกรณีที่ผู้ป่วยร่างกายอ่อนแอ ทั้งนี้โรคร้ายที่มียุงเป็นพาหะ ตัวอย่างเช่น โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย การรับเชื้อนั้นเกิดขึ้นเมื่อคุณถูกพวกมันกัด ดูดเลือดตามผิวหนัง เชื้อร้ายจากยุงจะเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้ระดับเกล็ดเลือดของลงลดลงได้ง่าย

ทางนักโภชนาการ Dr.Sheela Krishnaswamy ได้กล่าวว่า การดื่มน้ำ หรือชาของใบมะละกออาจมีสารอะซีโทจีนีน (Acetogenin) ที่เข้าไปเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดที่ถูกทำลายลง และช่วยลดความเสี่ยงของโรคร้ายที่เกิดจากยุงได้

  • บรรเทาอาการปวดท้องประเดือนในผู้หญิง

ความทรมานของการปวดท้องประเดือนเป็นสิ่งคุณผู้หญิงทุกคนล้วนไม่อยากพบเจอ ซึ่งวิธีการรักษาพื้นบ้านที่ใช้ถุงน้ำร้อนประคบร้อนเพียงแค่ด้านนอกก็คงอาจไม่ได้ผลเสมอไป ดังนั้นเราจึงควรหาเครื่องดื่มอุ่น ๆ ที่เหมาะสมเพื่อนำไปช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนจากภายใน

การดื่มชาใบมะละกอ จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ เนื่องจากใบของมันมีบทบาทในการรักษาความสมดุล และปรับฮอร์โมนให้คงที่ โดยคุณอาจเพิ่มรสชาติเล็กน้อยอย่างการผสมเกลือลงไปได้ หากยังไม่ชินกับรสชาติ หรือกลิ่นของน้ำชา

  • รักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือด

ในการศึกษาหนึ่ง นักวิจัยได้ทำการทดลองกับหนูที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง พบว่าสารประกอบในใบมะละกอมีฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดระดับน้ำตาลในเลือด พร้อมทั้งยับยั้งเซลล์ที่ผลิตอินซูอินในตับอ่อน ที่มีความเชื่อมโยงนำสู่โรคเบาหวานได้ ถึงอย่างไรก็ตามคงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ หรือพิสูจน์ต่อไปเพื่อนำไปพัฒนาเป็นยา และอาหารเสริมสมุนไพรให้แก่มนุษย์อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • ฟื้นฟูสุขภาพผิว

การดื่มชาใบมะละกอทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม อาจมีส่วนช่วยในการบำรุงรักษาผิวหนังที่มีอาการอักเสบได้ เช่น บรรเทาอาการผดผื่น สมานแผลขนาดเล็ก หรือรอยถลอก รวมทั้งยังสามารถรักษาอาการปวดบวมจากแมลงกัดต่อย ให้ผิวหนังของเรากลับเข้าสู่ภาวะปกติดังเดิมได้เร็วขึ้น

ผลข้างเคียงของการดื่ม ชาใบมะละกอ มีอะไรบ้าง

บางกรณีผู้ดื่มอาจมีอาการแพ้สารที่มีชื่อว่า ปาเปน (Papain) ในใบมะละกอ และสารนี้อาจส่งผลให้เกิดความคันระคายเคืองรอบผิวหนัง ดวงตา หรือทั่วทั้งร่างกาย รวมไปถึงอาจมีน้ำมูกไหลปะปนเล็กน้อย

ปริมาณแนะนำที่คุณควรบริโภคต่อวัน ไม่ควรเกินกว่า 5-6 ถ้วยชาต่อวัน เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นตามมาได้อีก เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน ภาวะนอนไม่หลับ และอัตราของหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม หลังจากการดื่ม ชาใบมะละกอ หากพบว่ามีอาการแพ้หรืออาการแทรกซ้อนใดๆ เกิดขึ้น โปรดหยุดการดื่มในทันที พร้อมทั้งเข้ารับการปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการอย่างละเอียด เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกรับประทานอาหาร เครื่องดื่มอื่น ๆ ที่เหมาะแก่สุขภาพของคุณ

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Papaya Leaf Tea https://www.healthbenefitstimes.com/papaya-leaf-tea/ Accessed June 19, 2020

7 Emerging Benefits and Uses of Papaya Leaf https://www.healthline.com/nutrition/papaya-leaf Accessed June 19, 2020

9 Incredible Benefits of Papaya Leaf Juice https://food.ndtv.com/food-drinks/9-incredible-benefits-of-papaya-leaf-juice-1672318 Accessed June 19, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/07/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำสมุนไพรปวยเล้ง ดื่มล้างสารพิษ เพื่อสุขภาพที่ดีจากภายใน

สูตรน้ำมะละกอปั่น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา