backup og meta

อาหารสำหรับกรดไหลย้อน ควรกินอะไร เลี่ยงอะไร และบรรเทาอาการยังไงได้บ้าง

อาหารสำหรับกรดไหลย้อน ควรกินอะไร เลี่ยงอะไร และบรรเทาอาการยังไงได้บ้าง

การกินอาหารบางประเภท เป็นสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้เป็น กรดไหลย้อน อย่างนั้นมาดูกันดีกว่าว่า อาหารสำหรับกรดไหลย้อน สำหรับที่คนเป็นโรค กรดไหลย้อน ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง และอาหารประเภทใดที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้ และนอกจากอาหารแล้ว มีวิธีใดที่จะช่วยลด กรดไหลย้อน ได้อีกบ้าง

อาหารสำหรับกรดไหลย้อน

ไม่อยากเป็นกรดไหลย้อนควรเลี่ยงอาหารอะไร

  • อาหารทอดและอาหารไขมันสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่าง (Lower Esophageal Sphincter หรือ LES) คลายตัว ซึ่งส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร ดังนั้น คุณจึงควรลดการกินอาหารไขมันสูง ก็จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้
  • มะเขือเทศ และผลไม้ตระกูลส้ม ผลไม้และผักเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ผลไม้บางชนิดอาจเป็นสาเหตุของอาการ กรดไหลย้อน หรือทำให้อาการแย่ลงได้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ส้ม เกรปฟรุต มะนาว สับปะรด โดยมีงานวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการ กรดไหลย้อน 382 คน ผลการวิจัยพบว่า 67% ของกลุ่มตัวอย่าง เกิดอาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจาก กรดไหลย้อน หลังจากดื่มน้ำส้ม
  • ช็อกโกแลต มีเมทิลแซนทีน (Methylxanthine) ที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างคลายตัว ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร เป็นเหตุให้เกิดอาการ กรดไหลย้อน นอกจากนี้ ช็อกโกแลตยังมีฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข แต่เซโรโทนินทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างคลายตัว จึงไม่แนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนกินช็อกโกแลต
  • หอมหัวใหญ่ อาจกระตุ้นอาการกรดไหลย้อน เนื่องจากมีใยอาหารที่ถูกหมักดองโดยจุลินทรีย์ได้ (Fermentable Fiber) สูง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเรอที่อาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่ โดยเฉพาะหัวหอมดิบ สามารถเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน เนื่องจากทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างคลายตัว
  • อาหารรสเผ็ด แคปไซซิน (Capsaicin) หรือสารที่ให้ความเผ็ดในพริก สามารถเป็นสาเหตุของอาการกรดไหลย้อนได้ เนื่องจาก ทำให้อัตราการย่อยอาหารช้าลง นอกจากนี้ อาหารรสเผ็ดยังระคายเคืองหลอดอาหาร จึงส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารรสเผ็ด
  • คาเฟอีน งานวิจัยชี้ว่า การดื่มกาแฟทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างคลายตัว ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของอาการกรดไหลย้อน แต่อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่พบว่า กาแฟกับอาการกรดไหลย้อนนั้นไม่มีความเชื่อมโยงกันแต่อย่างใด ดังนั้น คุณอาจลองสังเกตตัวเอง หากมีอาการกรดไหลย้อนหลังจากดื่มกาแฟ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ
  • มินต์และผลิตภัณฑ์รสมินต์  มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ที่กินชาเปปเปอร์มินต์ทุกวัน มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า นอกจากนี้ นักวิจัยยังกล่าวว่า มีหลักฐานอย่างจำกัดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างมินต์กับโรคกรดไหลย้อน ดังนั้น หากคุณกินมินต์แล้วมีอาการกรดไหลย้อน คุณควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่อาจช่วยบรรเทากรดไหลย้อน

  • ผักชีฝรั่ง ผู้คนใช้ผักชีฝรั่งในการรักษาอาการท้องไส้แปรปรวนมาเป็นเวลาหลายร้อยปี และยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า ผักชีฝรั่งช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้
  • เมล็ดยี่หร่า มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่าเมล็ดยี่หร่ามีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร และมีความเป็นกรดต่ำเนื่องจากมีค่า pH 6.9
  • ผักที่มีความเป็นกรดต่ำ ได้แก่ บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วแขก ขึ้นฉ่าย กะหล่ำดอก ผักใบเขียว มันฝรั่ง และแตงกวา
  • ขิง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และสามารถช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก และอาการอื่นๆ ของโรคกรดไหลย้อนได้
  • ข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยไฟเบอร์ การกินข้าวโอ๊ตจะสามารถช่วยดูดซึมกรดในกระเพาะอาหาร และลดอาการกรดไหลย้อน นอกจากข้าวโอ๊ตแล้ว อาจกินอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ประเภทอื่น เช่น ธัญพืช
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้อไก่ ปลา อาหารทะเล เป็นอาหารไขมันต่ำและยังช่วยลดอาการกรดไหลย้อน คุณอาจลองนำมาย่าง ต้ม หรืออบ เวลาปรุงอาหาร โดยให้เอาส่วนที่เป็นหนังออก และไม่แนะนำให้ทอด เนื่องจากของทอด ของมัน ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
  • ไข่ขาว เป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมและมีความเป็นกรดต่ำ ให้กินเฉพาะไข่ขาวโดยไม่กินไข่แดง เนื่องจาก ไข่แดงมีไขมันสูงและอาจกระตุ้นอาการกรดไหลย้อนได้
  • ไขมันดี อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดี ได้แก่ อะโวคาโด วอลนัท เมล็ดแฟลกซ์  น้ำมันมะกอก น้ำมันงา และน้ำมันทานตะวัน นอกจากนี้ คุณอาจลดการกินไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ และเลือกกินไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีต่อสุขภาพแทน

บรรเทาอาการ กรดไหลย้อน ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางอย่างต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการ กรดไหลย้อน ได้

  • เคี้ยวหมากฝรั่ง ที่ไม่ใช่รสเปปเปอร์มินต์หรือสเปียร์มินต์
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เลิกบุหรี่
  • กินอาหารแต่พอดี อย่ากินมากไป
  • หลังจากกินอาหาร ควรรออย่างน้อย 2 ชั่วโมง ค่อยเอนหลัง
  • ไม่กินอาหาร 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  • ยกศีรษะให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อลดอาหารกรดไหลย้อนขณะนอนหลับ

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Foods That Fight Heartburn. https://www.webmd.com/digestive-disorders/features/foods-that-fight-heartburn#1. Accessed on September 19, 2018

11 Foods That Can Cause Heartburn. https://www.healthline.com/nutrition/foods-that-cause-heartburn. Accessed on September 19, 2018

Acid reflux (GER and GERD) in adults. (n.d.). niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/acid-reflux-ger-gerd-adults. Accessed on September 19, 2018

Allergens and allergic asthma. (2015). aafa.org/page/allergic-asthma.aspx. Accessed on September 19, 2018

Diet changes for GERD. (2017). aboutgerd.org/diet-lifestyle-changes/diet-changes-for-gerd.html. Accessed on September 19, 2018

GERD and asthma. (2013). my.clevelandclinic.org/health/articles/10686-gerd-and-asthma. Accessed on September 19, 2018

Kahrilas P, et al. (2017). Emerging dilemmas in the diagnosis and management of gastroesophageal reflux disease. DOI: 10.12688/f1000research.11918.1. Accessed on September 19, 2018

Kubo A, et al. (2009). Effects of dietary fiber, fats, and meat intakes on the risk of Barrett’s esophagus. DOI:  10.1080/01635580902846585. Accessed on September 19, 2018

Mayo Clinic Staff. (2018). Gastroesophageal reflux disease (GERD). mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/symptoms-causes/syc-20361940. Accessed on September 19, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/06/2021

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ คนท้องกินได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 20/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา