backup og meta

ไขข้อสงสัย ฟอสฟอรัส สำคัญอย่างไร กับร่างกายของเรา

ไขข้อสงสัย ฟอสฟอรัส สำคัญอย่างไร กับร่างกายของเรา

เมื่อพูดถึงสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย หลายคนก็คงจะนึกไปถึงสารอาหารจำพวก วิตามิน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม หรือธาตุเหล็ก แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีแร่ธาตุอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญต่อร่างกายไม่แพ้กัน นั่นก็คือ ฟอสฟอรัส วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับ ความสำคัญของฟอสฟอรัส ต่อร่างกายและสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับแร่ธาตุมหัศจรรย์นี้กันมากขึ้นค่ะ

ฟอสฟอรัสคืออะไร

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายมากเป็นอันดับ 2 รองจาก แคลเซียม (Calcium) ร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้ฟอสฟอรัสในการทำงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์และเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ หรือใช้เพื่อช่วยกรองของเสียภายในร่างกาย เป็นต้น

ฟอสฟอรัสนั้นสามารถพบได้ในอาหารประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

ปริมาณของฟอสฟอรัสที่ควรได้รับจากอาหารในแต่ละวัน (RDA) มีดังต่อไปนี้

  • ทารก อายุไม่เกิน 6 เดือน 100 มก.
  • ทารก อายุ 7-12 เดือน 275 มก.
  • เด็ก อายุ 1-3 ปี 460 มก.
  • เด็ก อายุ 4-8 ปี 500 มก.
  • เด็ก อายุ 9-18 ปี 1,250 มก
  • ผู้ใหญ่ อายุ 19 ปีขึ้นไป 700 มก.

โดยปกติแล้ว การรับประทานอาหารตามปกติ ก็เพียงต่อความต้องการในแต่ละวันของเราแล้ว แต่สภาวะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือการใช้ยาบางชนิด อาจทำให้ระดับของฟอสฟอรัสในร่างกายลดต่ำลง และส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้

ความสำคัญของฟอสฟอรัส ต่อร่างกาย

ฟอสฟอรัสนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญของ กระดูก ฟัน ดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น

  • รักษาสุขภาพของกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • ให้พลังงาน
  • ช่วยกรองของเสียภายในไต
  • ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกาย
  • ช่วยในการผลิต DNA และ RNA องค์ประกอบทางพันธุกรรมของร่างกาย
  • ช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์เนื้อเยื่อภายในร่างกาย
  • ช่วยรักษาความสมดุลของวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น วิตามินบี วิตามินดี ไอโอดีน แมกนีเซียม และสังกะสี
  • ช่วยรักษาความสมดุลของการเต้นของหัวใจ

หากระดับของฟอสฟอรัสในร่างกายต่ำเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดข้อต่อ ปวดกระดูก เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล เหนื่อยล้า หรือมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หากคุณมีสภาวะที่อาจทำให้ระดับของฟอสฟอรัสในร่างกายลดลงต่ำกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการเสริมฟอสฟอรัสให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ข้อควรระวัง

แม้ว่าสารฟอสฟอรัสนั้นจะมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสมาก ๆ หรือหาอาหารเสริมฟอสฟอรัสมารับประทาน เพราะตามปกติแล้วเราจะได้รับฟอสฟอรัสจากการรับประทานตามปกติเพียงพอแล้ว

ในทางกลับกัน การรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสมากเกินไป อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต ที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดฟอสฟอรัสส่วนเกินออกไปได้อย่างเหมาะสม ฟอสฟอรัสส่วนเกินนี้ก็อาจจะสะสมอยู่ในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อระดับแร่ธาตุอื่น ๆ ในร่างกาย และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายในได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Phosphorus in diet https://medlineplus.gov/ency/article/002424.htm

Phosphorus https://ods.od.nih.gov/factsheets/Phosphorus-HealthProfessional/

Phosphorus in Your Diet https://www.healthline.com/health/phosphorus-in-diet

Phosphorus and Your Diet https://www.kidney.org/atoz/content/phosphorus

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/12/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟื้นฟูและสร้างความแข็งแรงให้ กล้ามเนื้อ ด้วยวิตามินและแร่ธาตุพวกนี้

ควบคุมความดันโลหิต จากแร่ธาตุธรรมชาติ ป้องกันความดันโลหิตสูง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 04/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา