backup og meta

ชิคุนกุนยา อาการ สาเหตุ และการรักษา

ชิคุนกุนยา อาการ สาเหตุ และการรักษา

ชิคุนกุนยา (Chikungunya Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีไข้เฉียบพลันและปวดข้อต่อรุนแรง โดยพบการระบาดครั้งแรกในปี 1952 ที่แทนซาเนีย จัดเป็นไวรัสกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ที่อยู่ในกลุ่มอัลฟาไวรัสตระกูลโทกาวิริเด

[embed-health-tool-heart-rate]

คำจำกัดความ

ชิคุนกุนยา คืออะไร

ชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีไข้เฉียบพลันและปวดข้อต่อรุนแรง โดยไวรัสชิคุนกุนยาพบการระบาดครั้งแรกในปี 1952 ที่แทนซาเนีย จัดเป็นไวรัสกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ที่อยู่ในกลุ่มอัลฟาไวรัสตระกูลโทกาวิริเด

ชิคุนกุนยาพบบ่อยแค่ไหน

ชิคุนกุนยาพบมากกว่า 60 ประเทศในเอเชีย แอฟริกา ยุโรปและอเมริกา และส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกเพศทุกวัย แต่สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของชิคุนกุนยา

  • ไข้
  • ปวดข้อต่อ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • เหนื่อยล้า
  • ผื่นแดง

อาการของโรคมักแสดงออกมาให้เห็นในช่วง 4-8 วันหลังจากที่โดนยุงที่มีเชื้อกัด โรคชิคุนกุนยามีสัญญาณบางอย่างคล้ายกับไข้เดงกีและไวรัสซิกา ทำให้บางครั้งอาจมีการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนในบางพื้นที่ที่พบโรคเหล่านี้ได้ทั่วไป โรคชิคุนกุนยาไม่สามารถทำให้ถึงตาย แต่อาจทำให้อาการเรื้อรังได้

สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบคุฒหอหมอเมื่อใด

หากมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ หรือหากเพิ่งเดินทางกลับจากบริเวณที่เสี่ยงติดเชื้อไข้เดงกี  และมีไข้ขึ้นฉับพลัน ควรเข้าพบข้าพบคุณหมอทันที

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาคุณหมอ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของตัวเอง

สาเหตุ

สาเหตุของชิคุนกุนยา

ชิคุนกุนยามีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกับไข้เลือดออก ไวรัสจะแพร่มาจากยุงที่มีเชื้อเข้าสู่มนุษย์ และสามารถแพร่จากมนุษย์ที่ติดเชื้อไปยังมนุษย์ที่สุขภาพดีได้โดยผ่านยุง

ไวรัสชิคนกุนยาอาจแพร่จากคุณแม่ตั้งครรภ์สู่ทารกเกิดใหม่ได้ แต่กรณีนี้พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนการให้นมบุตรไม่สามารถแพร่เชื้อได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของชิคุนกุนยา

  • อาศัยในประเทศเขตร้อน
  • เพิ่งมาจากประเทศที่มีการแพร่เชื้อ
  • อยู่ในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยต่ำ

ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น ความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน โรคหัวใจ จะยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้สูงขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา

อาการของโรคชิคุนกุนยานั้นคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เดงกี และโรคติดเชื้อไวรัสซิกามาก ทำให้การวินิจฉัยทางกายภาพไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้แม่นยำนัก ในการตรวจวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา คุณหมออาจต้องทำการตรวจเลือด

การรักษาโรคชิคุนกุนยา

ปัจจุบันยังไม่มีไม่มีวัคซีนหรือการรักษาโรคชิคุนกุนยาโดยเฉพาะ การรักษาโรคชิคุนกุนยา คือ การบรรเทาไข้ หากคุณตรวจพบว่าเป็นโรคชิคุนกุนยา แพทย์มักแนะนำให้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ และพยายามไม่ให้ถูกยุงกัด

คุณหมอจะสั่งยา เช่น อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) พาราเซตามอล ให้รับประทานเพื่อบรรเทาอาการไข้ โดยควรรับประทานยาตามคุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานยาอื่นนอกเหนือจากที่คุณหมอสั่ง โดยเฉพาะ แอสไพรินและยาแก้อักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ หากรับประทานยาสำหรับโรคอื่น ๆ อยู่ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้ดูแลสุขภาพก่อน

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยจัดการโรคชิคุนกุนยา

  • พยายามป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาภายในบ้าน โดยการเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือปิดประตูและหน้าต่าง
  • กำจัดน้ำขังรอบบริเวณบ้าน เช่น  ในถัง ในกระถางต้นไม้ เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • สวมเสื้อผ้าแขนยาวขายาว
  • ใช้ยากันแมลง หรือยากันยุงตามที่คุณหมอแนะนำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chikungunya Virus https://www.cdc.gov/chikungunya/ . Accessed July 27, 2016.

Chikungunya http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs327/en/. Accessed July 27, 2016.

What is chikungunya fever, and should I be worried?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/expert-answers/what-is-chikungunya-fever/faq-20109686. Accessed January 17, 2023

Chikungunya virus: A general overview. https://www.elsevier.es/en-revista-medicina-universitaria-304-articulo-chikungunya-virus-a-general-overview-S1665579615000587. Accessed January 17, 2023

Reemergence of Chikungunya Virus. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4178719/. Accessed January 17, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/01/2023

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเหงาหลับ (Sleeping sickness) โรคเขตร้อนอันตราย ที่แฝงมาพร้อมกับแมลงวัน

ไวรัสซิกา ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 17/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา