โรคพยาธิเส้นด้าย เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากพยาธิตัวกลมในสกุล Strongyloides ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ พบได้ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน
คำจำกัดความ
โรคพยาธิเส้นด้ายคืออะไร
โรคพยาธิเส้นด้าย (Strongyloidiasis) เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากพยาธิตัวกลม (nematode หรือ roundworm) ในสกุล Strongyloides ถึงแม้ว่ามีพยาธิตัวกลมมากกว่า 40 สายพันธุ์ในสกุลนี้ที่สามารถส่งผลต่อนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แต่สายพันธุ์ Strongyloides stercoralis เป็นสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ ตัวอ่อนมีขนาดเล็ก โดยมีความยาวได้มากที่สุด 1.5 มม. ซึ่งพอๆ กับขนาดของเมล็ดมัสตาร์ดหรือเมล็ดทรายขนาดใหญ่
โรคพยาธิเส้นด้ายพบได้บ่อยเพียงใด
โรคพยาธิเส้นด้ายพบได้ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ยังสามารถพบผู้ป่วยได้ในเขตภูมิอากาศอบอุ่นได้อีกด้วย พยาธิเส้นด้ายพบได้มากขึ้นในพื้นที่ชนบท ในสถานที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก และในกลุ่มคนที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของโรคพยาธิเส้นด้าย
ในผู้ป่วยประมาณร้อยละ 50 โรคพยาธิเส้นด้ายไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่หากมีอาการ อาจได้แก่
- อาการแสบหรือปวดบริเวณช่องท้องส่วนบน
- ท้องร่วงหรือมีอาการสลับระหว่างท้องร่วงและท้องผูก
- มีอาการไอ
- มีผื่นคัน
- มีผื่นลมพิษใกล้ทวารหนัก
- อาเจียน
- น้ำหนักลด
อาจมีผื่นเกิดขึ้นทันทีหลังจากสัมผัสพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis อาการที่พบในระบบทางเดินอาหารมักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อเป็นครั้งแรก
อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคพยาธิเส้นด้าย
โรคพยาธิเส้นด้ายเกิดจากพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis พยาธิตัวกลมนี้ส่วนใหญ่ส่งผลต่อมนุษย์ โดยคนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อโดยสัมผัสดินที่มีพยาธิอาศัยอยู่
เมื่อตัวอ่อนพยาธิสัมผัสผิวหนัง สามารถเข้าสู่ผิวหนังและเคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ โดยท้ายที่สุด พยาธิจะหาทางไปยังลำไส้เล็กซึ่งเจาะรูโพรงและวางไข่ พยาธิสายพันธุ์นี้แตกต่างจากหนอนพยาธิที่ติดต่อทางดินประเภทอื่นๆ เช่น พยาธิปากขอและพยาธิแส้ม้าซึ่งจะไม่มีการฟักไข่จนกว่าจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ไข่ของพยาธิเส้นด้ายจะฟักตัวเป็นตัวอ่อนภายในลำไส้ โดยตัวอ่อนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกขับออกมากับอุจจาระ แต่ตัวอ่อนจำนวนหนึ่งอาจลอกคราบและทำให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อทันทีเมื่อมีการเจาะรูโพรงในผนังลำไส้หรือการเข้าไปยังผิวหนังโดยรอบทวารหนัก
ลักษณะเฉพาะของโรคพยาธิเส้นด้ายเรียกว่าการติดเชื้ออัตโนมัติ (auto-infection) กล่าวคือ หากโรคพยาธิเส้นด้ายไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต
นอกเหรือจากการสัมผัสดินและการติดเชื้ออัตโนมัติแล้ว ยังมีกรณีการติดเชื้อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แต่มีโอกาสพบได้น้อย ดังนี้
- การปลูกถ่ายอวัยวะ
- สถานดูแลผู้บกพร่องด้านพัฒนาการที่มีคนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก
- การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือดูแลสุขภาพระยะยาว
- สถานดูแลสุขภาพ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคพยาธิเส้นด้าย
คนทั่วไปมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้นในกรณีดังต่อไปนี้
- การเดินทางหรืออาศัยในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา หรือเขตร้อนอื่นๆ
- การอาศัยหรือเดินทางไปยังเขตชนบท หรือพื้นที่ที่มีสภาวะการอยู่อาศัยที่ไม่ถูกหลักอนามัย หรือพื้นที่ที่ไม่มีบริการด้านสาธารณสุขที่เพียงพอ
- การทำงานที่มักเกี่ยวข้องกับการสัมผัสดินเป็นประจำ
- การไม่ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
- มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ เช่น อาจเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือโรคเอดส์ (AIDS)
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้าย
อาจมีการทดสอบดังต่อไปนี้เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis
- การดูดสารน้ำจากแผลในลำไส้ (Duodenal aspiration) ในระหว่างการทดสอบนี้ แพทย์จะนำสารน้ำมาจากแผลในลำไส้ (duodenum) ซึ่งเป็นส่วนต้นของลำไส้เล็ก แล้วแพทย์ใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจหาพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis.
- การเพาะเลี้ยงเมือก (Sputum culture) แพทย์อาจใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเมือกเพื่อวิเคราะห์ของเหลวจากปอดหรือทางเดินหายใจเพื่อตรวจหาพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis.
- การตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิและพยาธิ (Stool sample for ova and parasites) แพทย์สามารถตรวจตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจหาตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis ในอุจจาระ โดยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบซ้ำเพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่ถูกต้อง
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count (CBC)) กับค่าส่วนต่าง การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดกับค่าส่วนต่างอาจช่วยหาสาเหตุอื่นๆ ของอาการต่างๆ ได้
- การตรวจสารก่อภูมิต้านทานในเลือด (Blood antigen test) การตรวจสารก่อภูมิต้านทานในเลือดสามารถช่วยให้แพทย์ตรวจพบสารก่อภูมิต้านทานต่อพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis การตรวจนี้สามารถดำเนินการได้เมื่อแพทย์สงสัยว่ามีการติดเชื้อ และในกรณีที่ทำการดูดสารน้ำจากแผลในลำไส้หรือการตรวจอุจจาระแล้วไม่พบ อย่างไรก็ดี ผลการทดสอบนี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis ในอดีตและปัจจุบันได้
อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ใช้มากที่สุดในการวินิจฉัยคือการตรวจสารน้ำจากแผลในลำไส้และตัวอย่างอุจจาระโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
การรักษาโรคพยาธิเส้นด้าย
วัตถุประสงค์ในการรักษาคือเพื่อกำจัดพยาธิตัวกลม โดยแพทย์มักเลือกวิธีการใช้ยาเพื่อรักษาโรคพยาธิเส้นด้าย คือการใช้ยาถ่ายพยาธิประเภทไอเวอร์เมคติน (Ivermectin) หรือ Stromectol จำนวนเพียงครั้งเดียว ยานี้ออกฤทธิ์โดยการกำจัดหนอนพยาธิตัวกลมในลำไส้เล็ก
นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจสั่งยาแอลเบนดาโซล (albendazole) (Albenza) จำนวนสองชุดเป็นเวลา 10 วันแยกกัน การใช้ยาไธอาเบนดาโซล (thiabendazole) (Tresaderm) สองครั้งต่อวันเป็นเวลา 2-3 สองก็เป็นการรักษาที่ได้ผลเช่นกัน
ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับชุดยาเพิ่มหรือใช้ซ้ำหากการติดเชื้อมีการแพร่กระจายออกไป
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการโรคพยาธิเส้นด้าย
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้จะช่วยให้จัดการกับโรคพยาธิเส้นด้ายได้
- ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
- ใช้สิ่งของเครื่องใช้ที่ถูกหลักอนามัย
- ห้ามเดินเท้าเปล่าเมื่อต้องท่องเที่ยวไปในภูมิอากาศเขตอบอุ่นหรือเขตร้อน
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด