backup og meta

เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore)

เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore)

เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore) คือแผลพุพองเล็กๆ และเจ็บปวด ที่มักเกิดขึ้นบนริมฝีปาก หรือบริเวณโดยรอบ ผิวหนังในบริเวณของแผลพุพองมักจะเป็นสีแดง บวม และเป็นบาดแผล

คำจำกัดความ

เริมที่ริมฝีปากคืออะไร

เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore) คือแผลพุพองเล็กๆ และเจ็บปวด ที่มักเกิดขึ้นบนริมฝีปาก หรือบริเวณโดยรอบ ผิวหนังในบริเวณของแผลพุพองมักจะเป็นสีแดง บวม และเป็นบาดแผล สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 (herpes simplex virus-1) ในบางครั้งอาจจะเกิดที่บริเวณภายในปาก บนใบหน้า หรือแม้แต่ในจมูก โรคนี้มักจะเกิดที่บริเวณเหล่านี้ แต่แผลสามารถเกิดขึ้นบริเวณก็ได้บนร่างกาย รวมไปถึงบริเวณอวัยวะเพศ มักจะหายไปหลังจากผ่านไปหลายวันจึนถึง 2 สัปดาห์

เริมที่ริมฝีปาก

พบได้บ่อยแค่ไหน

เชื่อกันว่าผู้ใหญ่จำนวนเกือบ 90% เคยติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งหนึ่ง แม้ว่าคนเหล่านี้อาจจะไม่มีอาการในการติดเชื้อครั้งแรก หนึ่งในสามของผู้ที่ติดเชื้อจะเป็นโรคเริม ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อครั้งก่อน และไม่ได้แสดงถึงการติดเชื้อครั้งล่าสุด

อาการ

อาการของเริมที่ริมฝีปาก

สำหรับในครั้งแรกที่เริ่มต้นการรักษา คุณจะรู้สึกซ่าหรือแสบร้อนที่ริมฝีปากและใบหน้า หลายวันก่อนที่จะเริ่มมีอาการของเริมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มมีแผลก่อตัวขึ้น คุณก็จะเห็นแผลพุพองสีแดงมีน้ำใสขึ้นมา ปกติแล้วมักจะปวดและกดแล้วเจ็บ และอาจจะมีแผลแบบนี้มากกว่าหนึ่งแห่ง

โรคเริมนั้นจะอยู่นานถึงสองสัปดาห์ และจะติดต่อได้จนกว่าตุ่มหนองจะหายไป โรคเริมครั้งแรกของคุณอาจจะไม่ปรากฏขึ้น จนกว่าจะผ่านไปถึง 20 วัน หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งแรก

หลังจากนั้นคุณอาจจะมีอาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่านั้น ในช่วงของการแพร่กระจาย

  • เป็นไข้
  • เหงือกกร่อนอย่างเจ็บปวด
  • เจ็บคอ
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ควรไปพบหมอเมื่อไร

หากคุณมีอาการอาการที่ตา ขณะที่โรคเริมแพร่กระจาย ควรจะติดต่อแพทย์ในทันที การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

สาเหตุ

สาเหตุของเริมที่ริมฝีปาก

เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ คือสาเหตุหลักของโรคเริม เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์นี้มีอยู่สองประเภทคือ เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 และเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-2 โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านผิวหนังบริเวณปากหรือภายในปาก

เชื้อตัวนี้แพร่กระจายได้ง่าย โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายเมื่อคนสัมผัสถูกโรคเริมหรือของเหลวที่ติดเชื้อ เช่น การใช้ช้อนส้อมหรือมีดโกนร่วมกัน การจูบผู้ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อ พ่อแม่ที่เป็นโรคเริมมักจะแพร่กระจายโรคไปสู่ลูกๆ ด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้โรคเริมยังสามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของเริมที่ริมฝีปาก

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับโรคนี้ อย่างเช่น

  • การติดเชื้อ เป็นไข้ หรือเป็นหวัด
  • สัมผัสกับแสงแดด
  • ความเครียด
  • เอชไอวี/เอดส์ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
  • ประจำเดือน
  • แผลไฟไหม้อย่างรุนแรง
  • โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
  • การทำเคมีบำบัด
  • ทันตกรรม

คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริม หากคุณสัมผัสกับของเหลวที่เกิดจากโรคเริมผ่านการจูบ แบ่งปันอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือแบ่งปันของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟันและมีดโกน หากคุณสัมผัสกับน้ำลายของคนที่มีเชื้อไวรัส คุณจะติดเชื้อไวรัส แม้ว่าจะไม่มีแผลที่มองเห็นได้ก็ตาม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคเริม

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคเริมได้โดยการมองตรวจสอบ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย แพทย์อาจจะนำตัวอย่างจากแผลพุพองไปตรวจสอบในห้องแล็บ

การรักษาโรคเริม

ไม่มีวิธีการรักษาโรคเริม แต่บางคนที่มีเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ มักไม่ค่อยมีการแพร่ระบาด หากมีอาการของโรคเริมเกิดขึ้นก็มีหลายวิธีที่จะดูแลอาการได้

ยาขี้ผึ้งและครีม

คุณสามารถควบคุมอาการเจ็บปวด และช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูได้ด้วยยาขี้ผึ้งต้านไวรัส เช่น เพนไซโคลเวียร์ (Penciclovir) อย่างเดนาเวียร์ (Denavir) ยาขี้ผึ้งนี้มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากใช้ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณแรกของแผล (ทาวันละ 4-5 ครั้ง เป็นเวลา 4-5 วัน)

โดโคซานอล (Docosanol) อย่างอะบรีวา (Abreva) คือครีมที่ซื้อได้ตามร้านขายยา สามารถช่วยลดระยะเวลาการแพร่ระบาดได้ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงเป็นวัน ควรทาครีมนี้วันละหลายรอบ

การให้ยา

แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณใช้ยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (acyclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (valacyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (famciclovir) อย่างสม่ำเสมอ หากคุณมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเริม หรือหากคุณมีการกำเริบของโรคบ่อยครั้ง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือกับโรคเริม

ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยคุณรับมือกับโรคเริมได้

  • ขณะที่มีแผลพุพอง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวกับผู้อิ่น
  • หลีกเลี่ยงการแบ่งปันของใช้ต่างๆ เช่น ช้อนส้อม ผ้าขนหนู ลิปบาร์ม และสิ่งของอื่นๆ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ขณะที่มีแผลพุพองอยู่
  • ล้างมือให้สะอาด

เพื่อบรรเทาอาการ คุณควร

  • ประคบน้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นที่บริเวณแผล
  • ใช้ลิปบาล์มที่เป็นสารสกัดจากมะนาว
  • ทาเจลว่านหางจระเข้หรือลิปบาล์มว่านหางจระเข้ที่บริเวณแผลพุพอง (วันละ 3 ครั้ง)

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

รู้จักพื้นฐาน

โรคเริมคืออะไร

โรคเริม (Cold Sore) คือแผลพุพองเล็กๆ และเจ็บปวด ที่มักเกิดขึ้นบนริมฝีปาก หรือบริเวณโดยรอบ ผิวหนังในบริเวณของแผลพุพองมักจะเป็นสีแดง บวม และเป็นบาดแผล สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 (herpes simplex virus-1) ในบางครั้งอาจจะเกิดที่บริเวณภายในปาก บนใบหน้า หรือแม้แต่ในจมูก โรคนี้มักจะเกิดที่บริเวณเหล่านี้ แต่แผลสามารถเกิดขึ้นบริเวณก็ได้บนร่างกาย รวมไปถึงบริเวณอวัยวะเพศ มักจะหายไปหลังจากผ่านไปหลายวันจึนถึง 2 สัปดาห์

โรคเริมพบได้บ่อยแค่ไหน

เชื่อกันว่าผู้ใหญ่จำนวนเกือบ 90% เคยติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งหนึ่ง แม้ว่าคนเหล่านี้อาจจะไม่มีอาการในการติดเชื้อครั้งแรก หนึ่งในสามของผู้ที่ติดเชื้อจะเป็นโรคเริม ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อครั้งก่อน และไม่ได้แสดงถึงการติดเชื้อครั้งล่าสุด

อาการ

อาการของโรคเริม

สำหรับในครั้งแรกที่เริ่มต้นการรักษา คุณจะรู้สึกซ่าหรือแสบร้อนที่ริมฝีปากและใบหน้า หลายวันก่อนที่จะเริ่มมีอาการของเริมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มมีแผลก่อตัวขึ้น คุณก็จะเห็นแผลพุพองสีแดงมีน้ำใสขึ้นมา ปกติแล้วมักจะปวดและกดแล้วเจ็บ และอาจจะมีแผลแบบนี้มากกว่าหนึ่งแห่ง

โรคเริมนั้นจะอยู่นานถึงสองสัปดาห์ และจะติดต่อได้จนกว่าตุ่มหนองจะหายไป โรคเริมครั้งแรกของคุณอาจจะไม่ปรากฏขึ้น จนกว่าจะผ่านไปถึง 20 วัน หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งแรก

หลังจากนั้นคุณอาจจะมีอาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่านั้น ในช่วงของการแพร่กระจาย

  • เป็นไข้
  • เหงือกกร่อนอย่างเจ็บปวด
  • เจ็บคอ
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ควรไปพบหมอเมื่อไร

หากคุณมีอาการอาการที่ตา ขณะที่โรคเริมแพร่กระจาย ควรจะติดต่อแพทย์ในทันที การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

สาเหตุ

สาเหตุของโรคเริม

เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ คือสาเหตุหลักของโรคเริม เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์นี้มีอยู่สองประเภทคือ เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 และเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-2 โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านผิวหนังบริเวณปากหรือภายในปาก

เชื้อตัวนี้แพร่กระจายได้ง่าย โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายเมื่อคนสัมผัสถูกโรคเริมหรือของเหลวที่ติดเชื้อ เช่น การใช้ช้อนส้อมหรือมีดโกนร่วมกัน การจูบผู้ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อ พ่อแม่ที่เป็นโรคเริมมักจะแพร่กระจายโรคไปสู่ลูกๆ ด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้โรคเริมยังสามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเริม

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับโรคนี้ อย่างเช่น

  • การติดเชื้อ เป็นไข้ หรือเป็นหวัด
  • สัมผัสกับแสงแดด
  • ความเครียด
  • เอชไอวี/เอดส์ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
  • ประจำเดือน
  • แผลไฟไหม้อย่างรุนแรง
  • โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
  • การทำเคมีบำบัด
  • ทันตกรรม

คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริม หากคุณสัมผัสกับของเหลวที่เกิดจากโรคเริมผ่านการจูบ แบ่งปันอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือแบ่งปันของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟันและมีดโกน หากคุณสัมผัสกับน้ำลายของคนที่มีเชื้อไวรัส คุณจะติดเชื้อไวรัส แม้ว่าจะไม่มีแผลที่มองเห็นได้ก็ตาม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคเริม

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคเริมได้โดยการมองตรวจสอบ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย แพทย์อาจจะนำตัวอย่างจากแผลพุพองไปตรวจสอบในห้องแล็บ

การรักษาโรคเริม

ไม่มีวิธีการรักษาโรคเริม แต่บางคนที่มีเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ มักไม่ค่อยมีการแพร่ระบาด หากมีอาการของโรคเริมเกิดขึ้นก็มีหลายวิธีที่จะดูแลอาการได้

ยาขี้ผึ้งและครีม

คุณสามารถควบคุมอาการเจ็บปวด และช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูได้ด้วยยาขี้ผึ้งต้านไวรัส เช่น เพนไซโคลเวียร์ (Penciclovir) อย่างเดนาเวียร์ (Denavir) ยาขี้ผึ้งนี้มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากใช้ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณแรกของแผล (ทาวันละ 4-5 ครั้ง เป็นเวลา 4-5 วัน)

โดโคซานอล (Docosanol) อย่างอะบรีวา (Abreva) คือครีมที่ซื้อได้ตามร้านขายยา สามารถช่วยลดระยะเวลาการแพร่ระบาดได้ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงเป็นวัน ควรทาครีมนี้วันละหลายรอบ

การให้ยา

แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณใช้ยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (acyclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (valacyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (famciclovir) อย่างสม่ำเสมอ หากคุณมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเริม หรือหากคุณมีการกำเริบของโรคบ่อยครั้ง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือกับโรคเริม

ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยคุณรับมือกับโรคเริมได้

  • ขณะที่มีแผลพุพอง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวกับผู้อิ่น
  • หลีกเลี่ยงการแบ่งปันของใช้ต่างๆ เช่น ช้อนส้อม ผ้าขนหนู ลิปบาร์ม และสิ่งของอื่นๆ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ขณะที่มีแผลพุพองอยู่
  • ล้างมือให้สะอาด

เพื่อบรรเทาอาการ คุณควร

  • ประคบน้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นที่บริเวณแผล
  • ใช้ลิปบาล์มที่เป็นสารสกัดจากมะนาว
  • ทาเจลว่านหางจระเข้หรือลิปบาล์มว่านหางจระเข้ที่บริเวณแผลพุพอง (วันละ 3 ครั้ง)

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cold Sores (HSV-1). http://kidshealth.org/en/teens/cold-sores.html. Accessed September 1, 2016.

Cold Sores – Topic Overview. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/cold-sores-topic-overview#1. Accessed September 1, 2016.

Cold sores. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/cold-sores. Accessed September 1, 2016.

Cold sore. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/definition/con-20021310. Accessed September 1, 2016.

Cold sore (herpes simplex virus). http://www.nhs.uk/Conditions/Cold-sore/Pages/Introduction.aspx. Accessed September 1, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไข้หวัดนก (H5N1) โรคระบาดอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง!

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป 'LAAB' เสริมภูมิประชากรกลุ่มเสี่ยง ป้องกันได้ 83%


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา