backup og meta

กักตัวอยู่บ้านช่วงโควิด-19 นานจนเครียด อาจส่งผลร้ายต่อผิวของเราไม่รู้ตัว

ช่วงการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ ทำให้หลายๆ คนจำเป็นต้องพากันกักตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส และช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น แต่การกักตัวอยู่ที่บ้านนาน ๆ นอกจากจะทำให้เรารู้สึกเบื่อแล้ว ความเครียดจากการกักตัว ยังอาจส่งผลเสียต่อผิวของเราได้อีกด้วย บทความนี้จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากความเครียดต่อผิว ตลอดไปจนถึง การดูแลผิวเมื่อต้องกักตัวช่วงโควิด 19 มาให้ทุกคนได้ลองทำตาม

ทำไมการกักตัวจึงทำให้ผิวเราเสีย

การกักตัวอยู่บ้านในช่วงระบาดนั้นสามารถสร้างความกังวลและความเครียดให้กับทุกๆ คนได้ ไม่ว่าจะเป็นความกังวลในเรื่องของโรคติดต่อ ความกังวลต่อความปลอดภัย หน้าที่การงาน การเงิน ความเบื่อ และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะมารุมเร้าในช่วงที่กำลังกักตัว อาจส่งผลกระทบต่อผิวของคุณได้มากกว่าที่คิด

ความเครียดนั้นสามารถทำให้เกิดการตอบสนองทางเคมีต่อร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีปฏิกิริยาไวต่อสิ่งรอบข้างได้มากกว่าปกติ ซ้ำยังอาจทำให้ปัญหาผิวต่าง ๆ ฟื้นฟูได้ยากกว่าปกติอีกด้วย ผิวหนังที่มีปฏิกิริยาไวมากขึ้นเนื่องจากความเครียด ก็จะทำให้ไวต่อปัจจัยกระตุ้นแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง ความร้อน สิ่งระคายเคือง ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้ผิวหนังเกิดอาการต่างๆ เช่น ผิวแห้ง แตกลาย เกิดริ้วรอย หรือผดผื่น เป็นต้น

ความเครียดนั้นยังทำให้ร่างกายของเราสร้างฮอร์โมนความเครียด อย่าง คอร์ติซอล (cortisol) จะทำให้ร่างกายผลิตน้ำมันออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้ผิวมัน และเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหาผิว เช่น สิวอักเสบ หรือไขมันอุดตัน โรคผิวหนังที่กำลังเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็น โรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นผิวหนังอักเสบ ผื่นผิวหนัง หรือลมพิษ ก็อาจจะยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงที่ร่างกายเกิดความเครียด จนอาจนำไปสู่การเกิดแผลพุพอง เป็นหนอง และติดเชื้อในภายหลัง

นอกจากนี้ ลักษณะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในช่วงการกักตัว ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย การนอนหลับ หรือการกินอาหาร ก็ล้วนแล้วแต่สามารถส่งผลกระทบต่อผิวได้ทั้งสิ้น ช่วงกักตัวนั้น เรามักจะมีแนวโน้มที่จะออกกำลังกายน้อยลง ออกไปรับแสงแดดน้อย อีกทั้งตัวเลือกในการรับประทานอาหารก็มีจำกัด ทำให้เราไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากเพียงพอที่จะไปบำรุงผิว ทำให้ผิวเกิดการเสื่อมโทรม ขาดความชุ่มชื้น และทำให้มีสุขภาพไม่ดี

การดูแลผิวเมื่อต้องกักตัวช่วงโควิด 19 ทำอย่างไรถึงจะปัง

คุณสามารถดูแลผิวให้มีสุขภาพดีในช่วงกักตัวได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยคืนละ 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้มีโอกาสพักผ่อน และฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมโทรม ให้กลับมาดูสุขภาพดี

ใช้สบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน เนื่องจากในช่วงนี้เราจะต้องล้างมือให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 หากใช้สบู่ที่แรงมากเกินไป อาจทำให้ผิวเกิดความระคายเคือง และทำให้ผิวแห้งได้

บำรุงผิวด้วยครีมบำรุงผิว ไม่ว่าจะเป็นโลชั่น มอยส์เจอไรเซอร์ หรือขี้ผึ้ง ทันทีหลังจากล้างมือหรืออาบน้ำ เพื่อช่วยกักเก็บความชุ่นชื้นของผิวให้คงอยู่ ควรเลือกครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นพิเศษ

ใช้ครีมกันแดด อย่าวางใจว่าคุณกักตัวอยู่ในบ้าน ไม่ต้องออกไปเจอแดด ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ครีมกันแดด เนื่องจากหลอดไฟนีออนนั้นสามารถแผ่รังสี UV ออกมาได้อยู่ดี ฉะนั้นจึงควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันริ้วรอยและความคล้ำที่เกิดจากรังสี UV

อย่าสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่สามารถทำให้ผิวดูแก่และเกิดริ้วรอยได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจางควันบุหรี่นั้นจะทำให้หลอดเลือดฝอยที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังหดตัวลง ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงได้อย่างทั่วถึง และทำให้ผิวดูซีดลง และยังทำให้ผิวไม่ได้รับสารอาหารและออกซิเจนได้อย่างเพียงพออีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Sheltering in Place Could Be Throwing Your Skin Out of Balance https://www.healthline.com/health-news/how-being-stuck-inside-affects-your-skin#Ways-to-care-for-your-skin-during-the-pandemic. Accessed 22 April 2020
Effects of Stress on Your Skin https://www.webmd.com/beauty/the-effects-of-stress-on-your-skin. Accessed 22 April 2020
Skin care: 5 tips for healthy skin https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/skin-care/art-20048237. Accessed 22 April 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/04/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

เมื่อหายจากโควิด-19 แล้วสามารถ ติดเชื้อโควิดรอบสอง ได้หรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไข 23/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา