backup og meta

ไขข้อข้องใจ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19 จริงหรือไม่?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    ไขข้อข้องใจ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19 จริงหรือไม่?

    ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่งผลให้วิถีชีวิตประจำวันของเราเปลี่ยนไปจากเดิม ระมัดระวังใส่ใจดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น เช่น การรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย อาจทำให้เราเกิดความสับสนว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นจริงหรือเท็จแค่ไหน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำอีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนสงสัยอย่างการ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19 จริงหรือไม่? มาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนค่ะ 

    ไขข้อข้องใจ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19 จริงหรือไม่?

    ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ระบุแน่ชัดว่าการ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19  และไม่มีข้อบ่งชี้ไหนที่ระบุว่าพักดิบเป็นพาหะแพร่เชื้อโรค อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผักจะยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดถึงการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อโรค เราก็ต้องเลือกรับประทานผักให้ถูกสุขอนามัย เช่น ล้างผักให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนนำมารับประทานอาหารหรือก่อนนำไปประกอบอาหารเสมอ 

    4  พืชผักสมุนไพรไทย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

    พืชผักสมุนไพรไทยที่มีส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีดังต่อไปนี้ 

    • พริก มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อุดมด้วยวิตามินนานาชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันในเลือดอีกด้วย 
    • กะเพรา ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระและเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ 
    • หอมหัวใหญ่ หอมแดง มีคุณสมบัติช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
    • กระเทียม อุดมด้วยสารอัลลิซิน (Allicin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ

    เคล็ดลับในการเลือกซื้อผักในช่วงสถานการณ์โควิด-19

    การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เราต้องใส่ใจดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น อย่างในเรื่องของอาหาร เราก็ต้องเลือกปรุงอาหารและรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ รวมถึงผักที่มีส่วนสำคัญในการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ดังนั้นเราจึงต้องใส่ใจตั้งแต่แหล่งที่มาในการเลือกซื้อผักว่าสถานที่นั้นถูกสุขอนามัยหรือไม่ โดยเลือกผักที่ดูสดใหม่ สะอาด และให้สังเกตว่ามีคราบดินหรือคราบขาวของสารเคมีตกค้างหรือไม่ นอกจากนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้เลือกซื้อผักประเภทหัว เช่น แครอท ฟักทอง กะหล่ำปลี เนื่องจากสามารถเก็บไว้ได้นาน เหมาะกับผู้ที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน 

    อย่างไรก็ตาม เราสามารถยืดอายุของผักชนิดต่าง ๆ ให้มีอายุยาวนานมากยิ่งขึ้นด้วยการห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษซับมันแล้วใส่ถุง มัดปากถุงให้แน่น 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา