backup og meta

รู้หรือไม่ โควิด-19 ส่งผลร้ายอย่างไร กับไตของเรา

รู้หรือไม่ โควิด-19 ส่งผลร้ายอย่างไร กับไตของเรา

โรคโควิด-19 (COVID-19) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสโคโรนา และกำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในตอนนี้ โรคนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกไปแล้วไม่น้อยกว่า 3.55 ล้านราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2564) และยังมีอีกหลายคนที่มีอาการรุนแรงและต้องรับการรักษาในโรคพยาบาลอย่างใกล้ชิด แต่อีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ก็คือ โควิด-19 อาจส่งผลร้ายต่อไตของเราได้ โควิด-19 กับไต นั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร มาหาคำตอบร่วมกันในบทความนี้ของ Hello คุณหมอได้เลยค่ะ

โควิด-19 กับไต มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงบางราย อาจพบปัญหาไตเสียหายเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ด้วย แพทย์เรียกความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไตนี้ว่า “อาการไตบาดเจ็บเฉียบพลัน” โดยอาการไตบาดเจ็บเฉียบพลันนี้จะเกิดในประมาณ 5% ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 และส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับไตนี้ มักจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีปัญหาไต

เมื่อโรคโควิด-19 เริ่มส่งผลให้ไตเสียหาย ผู้ป่วยก็จะเริ่มมีอาการอื่น นอกเหนือไปจากอาการปกติที่สามารถพบได้ตามปกติในผู้ป่วยโควิด-19 เช่น

  • ปัสสาวะน้อย
  • แขนขาบวม
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน

โดยอาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อไตเสียหายขั้นรุนแรงแล้วเท่านั้น

ป่วยเป็นโรคไต จะเสี่ยงติดโควิด-19 ได้มากกว่าคนอื่นหรือไม่

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการฟอกไต อาจยิ่งเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มากกว่า เนื่องจากการฟอกไตส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และทำให้ร่างกายไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างเต็มที่เหมือนคนปกติ

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตบางรายอาจต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อเปลี่ยนไต ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะใหม่ ยากดภูมิคุ้มกันนี้จะลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และทำให้เสี่ยงติดเชื้อมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไต นอกจากจะต้องคอยดูแลรักษาอาการของโรคไตตามปกติแล้ว ยังควรระมัดระวัง และป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่าปกติด้วย เพราะหากเกิดผู้ป่วยโรคไตติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง

การป้องกันตัวจากโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคไต โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตจากการป่วยเป็นโรคโควิด-19 ได้มากกว่าผู้อื่น จึงควรระมัดระวังตัว และดูแลตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ด้วยหลักการดูแลตัวเอง เช่น

  • ล้างมือบ่อยๆ หากออกไปข้างนอกและไม่สะดวกล้างมือ ควรใช้เป็นเจลล้างมือ ที่มีแอลกอฮอล์ 75% ขึ้นไป
  • สวมหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า หรือหน้ากาก N95 เสมอ
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด และพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน
  • หากไม่จำเป็น ไม่ควรไปโรงพยาบาล
  • เตรียมยาและอุปกรณ์ในการรักษาและดูแลอาการของผู้ป่วยโรคไตให้พร้อม
  • เว้นระยะห่างจากผู้อื่น รวมถึงคนในบ้านด้วย
  • พยายามอย่าสัมผัสดวงตา จมูก และปาก
  • พยายามอยู่บ้าน อย่าออกไปไหน
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

สำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น จำเป็นต้องฟอกไต คุณก็ไม่ควรละเลยการรักษาเหล่านี้ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรับมือ และสิ่งที่ควรปฏิบัติ หากเกิดปัญหาใด ๆ ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Kidney disease & COVID-19. https://www.kidney.org/coronavirus/kidney-disease-covid-19#. Accessed on May 31, 2021

Kidney disease is associated with in-hospital death of patients with COVID-19 https://www.kidney-international.org/article/S0085-2538(20)30255-6/fulltext. Accessed on May 31, 2021

Acute Kidney Injury: A Guide to Diagnosis and Management. https://www.aafp.org/afp/2012/1001/p631.html. Accessed on May 31, 2021

https://www.ajkd.org/article/S0272-6386(20)30618-1/fulltext

Kidney diseases in the time of COVID-19: major challenges to patient care. https://www.jci.org/articles/view/138871. Accessed on May 31, 2021

Interim Additional Guidance for Infection Prevention and Control Recommendations for Patients with Suspected or Confirmed COVID-19 in Outpatient Hemodialysis Facilities. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/hcp/dialysis.html. Accessed on May 31, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

ซีทีสแกน (CT scan) อาจจะเป็นวิธีใหม่ในการ ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา