backup og meta

โยคะกับผู้สูงอายุ ไปด้วยกันได้หรือควรจะต้องเลี่ยง?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

    โยคะกับผู้สูงอายุ ไปด้วยกันได้หรือควรจะต้องเลี่ยง?

    มีกิจกรรมมากมายที่ช่วยเสริมสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุ หนึ่งในนั้นคือ การเล่นโยคะ ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงได้ แต่ก่อนจะแนะนำให้ผู้สูงอายุภายในบ้านได้เล่นโยคะ เรามารู้จัก โยคะกับผู้สูงอายุ จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ให้มากขึ้นก่อนดีกว่า 

    ผู้สูงอายุเล่นโยคะได้หรือไม่

    การเล่นโยคะ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิ เสริมบุคลิกภาพของผู้เล่น ปรับปรุงระดับการหายใจ และแน่นอนว่าช่วยให้สุขภาพดี ซึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพเช่นนี้ สามารถที่จะทำได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือวัยสูงอายุ ก็สามารถที่จะเล่นโยคะได้ทั้งนั้น

    ประโยชน์ของ โยคะกับผู้สูงอายุ

    ช่วยจัดการกับระบบความดันโลหิต

    ท่าทางสำหรับ การเล่นโยคะ ในหลายๆ ท่า มีส่วนช่วยในการปรับปรุงและควบคุมระบบการหายใจ ซึ่งดีต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ลดการทำงานหนักที่บริเวณสมองและระบบประสาท ซึ่งมีผลดีต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่สมดุลอีกด้วย

    ดีต่อสุขภาพของกระดูก

    ผู้สูงอายุเมื่อแก่ตัวขึ้นมักจะมีปัญหากระดูก อย่าง โรคกระดูกพรุน แต่การเล่นโยคะ จะช่วยให้ร่างกายฝึกรับกับการแบกน้ำหนักผ่านท่าในการเล่นโยคะ ซึ่งจะช่วยลดความเปราะของกระดูกได้

    ช่วยลดน้ำหนักในผู้สูงอายุ

    การเล่นโยคะ ช่วยกระตุ้นการทำงานในระบบเผาผลาญของร่างกาย และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งดีต่อการควบคุมน้ำหนักในผู้สูงอายุ

    ช่วยลดความเครียด

    การเล่นโยคะ มีส่วนช่วยปรับปรุงและควบคุมระบบหายใจ และเสริมสร้างสมาธิ ซึ่งการหายใจและสภาพจิตใจที่มีสมาธิ สมองก็จะเริ่มปล่อยสารเคมีที่ช่วยให้รู้สึกปลอดโปร่ง ทำให้รู้สึกอารมณ์ดี และลดความเครียดลง

    ปรับสมดุลของร่างกาย

    เมื่อแก่ตัวขึ้น ผู้สูงอายุก็จะเริ่มสูญเสียความสมดุลของร่างกายไปเรื่อย ๆ ซึ่งความไม่สมดุลภายในร่างกายนี้เอง ที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมาได้ แต่สำหรับท่าทางต่าง ๆ ใน การเล่นโยคะ นั้น พบว่ามีส่วนช่วยในการจัดการความสมดุลของร่างกายในทุก ๆ ท่วงท่า ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้

    โยคะแบบไหนเหมาะกับผู้สูงอายุ

  • หฐโยคะ (Hatha Yoga) โยคะพื้นฐานที่เน้นเรื่องของการผ่อนคลาย ช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นด้วยการกำหนดลมหายใจ เน้นการควบคุมจากจิตใจเป็นหลัก
  • วินยาสะโยคะ (Vinyasa Yoga) เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายจากท่าหนึ่งไปอีกท่าหนึ่ง โดยใช้ลมหายใจเป็นตัวกำหนด มักเล่นในที่ที่มีบรรยากาศสงบ เน้นฝึกจิตใจและความนิ่ง
  • อัษฎางค์ โยคะ (Ashtanga Yoga) เป็นโยคะที่ใช้ลมหายใจควบคู่ไปกับการทำท่าทางพื้นฐานของโยคะ
  • โยคะร้อน (Bikram Yoga) เป็น การเล่นโยคะ ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิค่อนข้างร้อน โดยมีท่าทางสำหรับโยคะทั้งหมด 26 ท่า โยคะสำหรับการฟื้นฟูร่างกาย (Restorative Yoga) เป็นโยคะที่ช่วยลดความเครียด ปรับสมดุลร่างกายและจิตใจ
  • โยคะเก้าอี้ (Chair Yoga) ช่วยเสริมความยืดหยุ่นของร่างกาย และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยท่าทางต่างๆ ของโยคะ จะทำโดยมีเก้าอี้รองรับ
  • โยคะน้ำ (Water Yoga) การเล่นโยคะ ประเภทนี้ จะช่วยลดอาการปวดข้อได้ และเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อนด้วย เพิ่มอิสระให้กับการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะที่อยู่ในน้ำด้วย ทำให้สามารถทำท่าทางยากๆ ที่ไม่สามารถทำบนบกได้ แต่สามารถทำได้ง่ายขึ้นเมื่ออยู่ในน้ำ
  • โยคะกับผู้สูงอายุ มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

    การเล่นโยคะ สามารถที่จะเล่นได้ทุกเพศทุกวัย นั่นเป็นความจริงอย่างแน่นอน แต่สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือเป็นโรคเรื้อรัง หรือมีปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง หรือเป็นโรคต้อหิน ควรมีความระวังในการเล่นโยคะมากเป็นพิเศษ เพราะบางท่วงท่าในการเล่นโยคะ อาจมีการบิดตัว หรือหันตัว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออาการทางสุขภาพได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา