backup og meta

5 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ เอชไอวีและโควิด-19

5 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ เอชไอวีและโควิด-19

เนื่องจากความใหม่ของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันนั้น ทำให้เกิดความกังวลและข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับโรคระบาดนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือที่เรียกว่าโรคเอดส์ (AIDS) วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ เอชไอวีและโควิด-19 เพื่อช่วยตอบข้อสงสัยให้ทุก ๆ คน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ เอชไอวีและโควิด-19

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มากกว่าผู้อื่นหรือไม่

ในปัจจุบันนี้ เรายังไม่มีข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยเอชไอวี แต่มีงานวิจัยเล็กๆ ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและการใช้ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretrovirals) ในกลุ่มผู้ป่วยเอชไอวีที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีน ผลการรายงานพบว่าอัตราในการติดโควิด-19 นั้นคล้ายคลึงกับความเสี่ยงของผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีบางปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยเอชไอวี ดังนี้

  • ผู้ป่วยเอชไอวีในระดับรุนแรง
  • ผู้ป่วยที่มีระดับของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำ
  • ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแต่ไม่ได้รับการรักษา

คนในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคนั้นได้มากกว่าปกติ และควรระมัดระวังในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เป็นอย่างมาก

หากคุณอาศัยอยู่กับผู้ป่วยเอชไอวี คุณจะสามารถป้องกันโควิด-19 ได้อย่างไร

คำแนะนำในการป้องกันโควิด-19 สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ป่วยเอชไอวีนั้นยังคงเหมือนกับคำแนะนำตามปกติ โดยมีข้อปฏิบัติหลักๆ คือ

  • ล้างมือด้วยสบู่นานอย่างน้อย 40 วินาที เป็นประจำ
  • เวลาที่ออกไปข้างนอก หรือไม่สะดวกที่จะล้างมือด้วยสบู่ ก็ควรล้างมือด้วยเจลล้างมือ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% ขึ้นไป
  • อย่าสัมผัสใบหน้า ดวงตา และปาก เนื่องจากอาจทำให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้
  • พยายามหลีกเลี่ยงคนที่มีอาการป่วย
  • สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า

นอกจากนี้ หากเป็นไปได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ควรจะกักตัวอยู่ในบ้าน และลดการออกไปข้างนอก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ยังควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยอีกด้วย

ยาต้านรีโทรไวรัสที่ใช้เพื่อรักษาโรคเอดส์ สามารถใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่

ในปัจจุบันกำลังมีการประเมินผลของการใช้ยารักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีบางชนิด เช่น ยาต้านเชื้อเอชไอวีอย่าง ยา Lopinavir-Ritonavir เพื่อมาใช้ในการรักษาโควิด-19 ผลการทดลองในจีนได้แสดงให้เห็นว่า ยา Lopinavir-Ritonavir ไม่สามารถเพิ่มความเร็วในการฟื้นฟู หรือลดจำนวนเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ผู้ที่กำลังทำการรักษาโควิด-19 ไม่ควรเปลี่ยนมาใช้ยารักษาโรคเอดส์เพื่อหวังป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19

ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอชไอวีและโควิด-19 จะสามารถส่งต่อเชื้อไปสู่ลูกได้หรือไม่

ล่าสุดนั้นยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับกรณีของทารกที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากแม่สู่ลูกขณะอยู่ในครรภ์ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความกังวลในเรื่องของการติดเชื้อไวรัสในระหว่างคลอด เนื่องจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งทางระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการป้อนนม หรือการกอด ผู้ที่จะใกล้ชิดกับทารกควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันสารคัดหลั่ง และล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะสัมผัสกับทารก

ผู้ป่วยเอชไอวี หากติดโควิด-19 แล้วจะมีอาการรุนแรงกว่าปกติหรือไม่

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยเอชไอวีที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้อื่น ตราบใดที่ยังได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และสามารถควบคุมอาการของโรคเอดส์ได้เป็นอย่างดี

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to Know About HIV and COVID-19 https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/need-extra-precautions/hiv.html

CORONAVIRUS (COVID-19) AND HIV https://www.avert.org/coronavirus/covid19-HIV

Q&A on COVID-19, HIV and antiretrovirals https://www.who.int/news-room/q-a-detail/q-a-on-covid-19-hiv-and-antiretrovirals

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคแมว ภัยจากสัตว์เลี้ยงสู่คน ที่ทาสแมวควรระวัง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 14/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา