backup og meta

Q&A ตอบทุกคำถามสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับ โรค COVID-19

Q&A ตอบทุกคำถามสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับ โรค COVID-19

วันนี้ Hello คุณหมอ นำคำตอบทุกข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อในสถานการณ์การระบาดของ โรค COVID-19 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป มาฝากกันค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูพร้อมกันเลย

หน้ากากอนามัยใช้แล้ว นำมาฆ่าเชื้อแล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ได้หรือไม่

  • ไม่ได้ เนื่องจากหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นหน้ากากชนิดที่ผลิตมาสำหรับใช้ได้ครั้งเดียวเท่านั้น หลังการใช้งานต้องมีการต้องกำจัดทิ้งทันที โดยถอดด้วยการดึงสายรัดจากด้านหลัง และทิ้งลงถังขยะทันทีที่มีฝาปิดมิดชิด และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังทิ้งหน้ากากอนามัย

ผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อCOVID-19 และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19   สามารถรักษาตัวอยู่ในห้องเดียวกันได้หรือไม่

  • โดยหลักการแล้วควรแยกให้อยู่คนละห้อง แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถทำได้เนื่องจากจำนวนห้องจำกัด การจัดให้อยู่ห้องเดียวกันถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่ควรจัดเตียงผู้ป่วยให้ห่างกันไม่ต่ำกว่า 1 เมตร

บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใส่ชุดป้องกัน (Personal Protective Equipment ; PPE) เป็นประจำเพื่อดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19  และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19  หรือไม่

  • ไม่จำเป็น โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization ; WHO) ให้คำแนะนำบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19 และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ได้แนะนำให้ใช้มาตรการป้องกันการสัมผัสและการปนเปื้อนจากละอองฝอย เป็นการเพิ่มเติมจากมาตรการป้องกันมาตรฐานที่บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนควรใช้กับผู้ป่วยทุกรายอยู่แล้ว

สำหรับการใช้ชุดป้องกันนั้น (Personal Protective Equipment ; PPE)  มาตรการป้องกันการสัมผัสและการปนเปื้อนจากละอองฝอย รวมถึงการสวมถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้งเพื่อปกป้องส่วนมือ สวมชุดคลุมกาวน์แขนยาวที่สะอาด  เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเสื้อผ้า การสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ปิดคลุมทั้งจมูกและปาก และการสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา เช่น แว่นป้องกัน หรือแผ่นใสป้องกันใบหน้า ก่อนเข้าไปในห้องที่มีผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19  และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19  เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล ทั้งนี้การใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ เช่น หน้ากาก N95 จำเป็นต้องใช้เฉพาะในการทำหัตถการที่ก่อให้เกิดละอองลอย (AGPs)

หากผู้ป่วยเสียชีวิตจาก โรค COVID-19  จะมีขั้นตอนพิเศษในการจัดการศพหรือไม่

  • ไม่มีขั้นตอนพิเศษสำหรับการจัดการศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตจาก COVID-19 ทำตามนโยบายและกฎระเบียบขั้นตอนการจัดการศพที่เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อที่เคยปฎิบัติอยู่

ยาฆ่าเชื้อชนิดใดที่แนะนำให้ใช้ทำความสะอาดบริเวณสถานพยาบาลที่มีผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19  และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 

  • จากคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ควรใช้ยาฆ่าเชื้อที่สามารถทำลายไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้ม เช่น COVID-19 ในการทำความสะอาดบริเวณสถานพยาบาลที่มีผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19  และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ได้แก่ การใช้ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol ) ความเข้มข้น 70% ฆ่าเชื้อกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการใช้ซ้ำ เช่น ปรอดวัดไข้ เช็ดระหว่างการใช้งานแต่ละครั้ง และโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) ความเข้มข้น 5% (เทียบเท่ากับ 5000 ppm) ใช้สำหรับฆ่าเชื้อบนพื้นผิวที่สัมผัสบ่อยๆ ทั้งในเคหะสถานและสถานพยาบาล

หากผู้ป่วยไม่ได้ติดเชื้อ COVID-19 จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือไม่

  • ไม่จำเป็น องค์การอนามัยโลก ไม่แนะนำให้ผู้ที่ไม่มีอาการที่อยู่ในชุมชนทั่วไปสวมหน้ากากอนามัย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่นอนชี้ชัดว่าการใช้หน้ากากอนามัยเป็นประจำในผู้ที่มีสุขภาพดี สามารถป้องกันการแพร่เชื้อ COVID-19 ได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องสวมใส่จริงๆ

มีข้อแนะนำอย่างไรบ้าง สำหรับการใช้คลอรีนในการทำความสะอาดมือเพื่อปราศจากเชื้อโรค COVID-19 

  • หากไม่สามารถใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือสบู่ได้ แนะนำให้ใช้คลอรีนเจอจางที่มีความเข้มข้น 0.05% ในการฆ่าเชื้อที่มือ โดยวิธีการใช้สารละลายคลอรีนต้องผลิตใช้แบบวันต่อวัน เก็บในที่เย็นและแห้ง มีฝาปิดมิดชิด เก็บให้พ้นแสงแดด เพราะไม่อย่างนั้น คลอรีนจะขาดประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค  อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ใช้คลอรีนในกรณีที่มีเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือสบู่อยู่แล้ว เพราะสารละลายคลอรีนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผู้ใช้ได้

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Q&A on Coronavirus for Health Workers Thailand. https://www.who.int/news-room/q-a-detail/Q-A-on-Coronavirus-for-Health-Workers-Thailand. Accessed 20 March 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

สธ. ประกาศ ยกระดับ Covid-19 ให้เป็น “โรคติดต่ออันตราย” อันดับที่ 14 ของประเทศไทย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา