backup og meta

น้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19

น้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19

การ ดื่มน้ำกระชายขาว ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะสามารถเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า น้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19 ได้อย่างไรบ้าง

น้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19

ดร. ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา กล่าวว่าจากผลการศึกษาการวิจัย พบว่า สารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญ 2 ตัว คือสารแพนดูราทินเอ (Pandulatin A) และสารพิโนสโตบิน (Pinostrobin)  มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังสามารถยับยั้งเซลล์ในการผลิตไวรัสได้อีกด้วย ดังนั้นหลายคนจึงหันมาใช้กระชายขาวในรูปแบบของเครื่องดื่มเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายมากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาสารสกัดจากกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับรักษาโรคโควิด-19 โดยคาดว่าอาจใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการพัฒนาการวิจัยให้สำเร็จลุล่วง

สูตรน้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำ สูตรน้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19 เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยมีส่วนผสมและวิธีทำ ดังต่อไปนี้

ส่วนผสม

  • น้ำสะอาด 1 ลิตร
  • ขิงสด 50 กรัม
  • กระชายสด 200  กรัม
  • ใบหูเสือ 10 ใบ
  • น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
  • อื่น ๆ เช่น มะนาว น้ำผึ้ง และ เกลือป่น โซดา น้ำแข็ง

วิธีทำ 

  1. นำขิงและกระชายขาวมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำไปปั่นให้ละเอียด
  2. ต้มน้ำให้เดือด ใส่ขิงและกระชายที่ปั่นไว้เรียบร้อยแล้วมาต้มประมาณ 15 นาที 
  3. เติมน้ำตาลทรายลงไปคนให้ละลาย (ปรุงรสตามที่ชอบ) และตั้งพักไว้ให้เย็น
  4. หลังจากนั้นนำใบหูเสือ ล้างให้สะอาดหั่นพอหยาบ ปั่นกับน้ำสะอาด 200 มิลลิลิตร คั้นเอาแต่น้ำไว้ 

ขั้นตอนในการปรุงดื่ม

ตวงไซรัปน้ำกระชายและขิงใส่แก้วปริมาณ40 มิลลิลิตร (ปรุงรสชาติตามชอบโดยการผสมมะนาว น้ำผึ้ง และเกลือ) หลังจากนั้น ตักน้ำแข็งลงในแก้ว เติมโซดาปริมาณ 80 มิลลิลิตร และเติมน้ำคั้นใบหูเสือลงไปปริมาณ 20 มิลลิลิตร หลังจากนั้นส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ดื่มอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง

ข้อควรระวังในการ ดื่มน้ำกระชายขาว

ถึงแม้ว่าการ ดื่มน้ำกระชายขาว จะมีส่วนสำคัญในการต้านโรคโควิด-19 แต่หากเราดื่มน้ำกระชายขาวในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลเสียงต่อสุขภาพของเราได้ และไม่ควรดื่มติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เนื่องจากกระชายเป็นพืชสมุนไพรมีฤทธิ์ร้อน อาจส่งผลให้เกิดอาการร้อนในได้ รวมถึงผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ภาวะใจสั่น เหงือกร่อน นอกจากนี้ในสตรีตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีความผิดปกติของตับและไต ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำกระชายเพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 

ดังนั้นเราควรดื่มน้ำกระชายขาวในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อน

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

สารสกัดกระชายขาว ต้าน COVID-19?.https://www.rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/article/09sep2020-1522.Accessed August 06, 2021

น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน.https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2348.Accessed August 06, 2021

High-Content Screening of Thai Medicinal PlantsReveals Boesenbergia rotunda Extract and its

Component Panduratin A as Anti-SARS-CoV-2Agents.https://assets.researchsquare.com/files/rs-32489/v1/53842599-3254-41fe-a706-0ecd8318e87b.pdf?c=1591194614.Accessed August 06, 2021

Local Herbs against COVID-19 Virus.https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/intersci2021/1979_20210514210457.pdf.Accessed August 06, 2021

HU Prof. Raymond Kaempfer: Decades of discoveries spanning antibiotic resistance, flesh-eating disease and COVID-19.https://www.cfhu.org/news/hu-prof-raymond-kaempfer-decades-of-discoveries-spanning-antibiotic-resistance-flesh-eating-disease-and-covid-19/.Accessed August 06, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารพันเทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19

ฉีดวัคซีนโควิด มีประโยชน์อย่างไร และมีผลข้างเคียงอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา