backup og meta

ทำความรู้จัก ฟาวิพิราเวียร์ ยารักษาโรคโควิด-19

ทำความรู้จัก ฟาวิพิราเวียร์ ยารักษาโรคโควิด-19

วันนี้ Hello คุณหมอ นำข้อมูลเกี่ยวกับ ฟาวิพิราเวียร์ ยารักษาโรคโควิด-19 มาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ จะมีประสิทธิภาพต่อการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้มากน้อยแค่ไหน ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเลย

ฟาวิพิราเวียร์ ยารักษาโรคโควิด-19 มีที่มาอย่างไร?

ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ผลิตโดยโดยบริษัท ฟูจิฟิล์ม โตยามะเคมิคอล (Fujifilm Toyama Chemical) ในประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2557  เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศญี่ปุ่น และได้มีการนำมาใช้ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ในแถบแอฟริกาตะวันตกช่วง พ.ศ. 2557-2559  ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ประเทศจีนได้รับอนุญาตในการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และอนุญาตให้นำมาศึกษาทดลองทางคลินิกเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19

ในส่วนของประเทศไทยได้นำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์จากประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 แต่ในปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อจากโรคโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์มากถึงวันละ 3 แสนเม็ดหรือเดือนละประมาณ 9 ล้านเม็ด 

ศาสตราจารย์แพทย์หญิง นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรมจึงได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาสูตรต้นตำรับ จนขยายขนาดการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยยาดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นที่เรียบร้อย และเริ่มเข้าสู่ระบบการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา

กลไกการออกฤทธิ์ของยาฟาวิพิราเวียร์ 

ยาฟาวิพิราเวียร์ มีฤทธิ์ต้านไวรัสในกลุ่มอาร์เอนเอไวรัสได้หลากหลายชนิด เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย (Foot-and-Mouth disease virus) ไวรัสไข้เหลือง (Yellow fever virus)  เภสัชกรหญิงนันทพร เล็กพิทยา และเภสัชกรภิฏฐา สุรพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ที่ถูกผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณไวรัสช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี 

ยาฟาวิพิราเวียร์แบ่งกลไกการออกฤทธิ์เป็น 2 แบบ คือ ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสและทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์ โดยออกฤทธิ์เข้าไปยับยั้งเอนไซม์ RNA-dependent RNA polymerase,RdRP (เป็นเอนไซม์ที่มีในไวรัสเท่านั้น) เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นสาร Active Form = favipiravir-ribofuranosyl-5′-triphosphate (RTP) ให้ไวรัสกลายพันธุ์จนภูมิต้านทานในร่างกายสามารถเข้าไปกำจัดเชื้อไวรัสจนหมด หรือปริมาณเชื้อไวรัสลดลงมากจนไม่สามารถก่อโรคในร่างกายได้อีก

ข้อบ่งใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์

แพทย์จะเริ่มพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงก่อน คือมีภาวะปอดอักเสบ และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว อย่างโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น โดยมีข้อบ่งใช้ในการใช้ยาดังนี้

  • สำหรับผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 9 เม็ด ทุก ๆ 12 ชั่วโมงในวันแรก และลดปริมาณลงครั้งละ 4 เม็ด ทุก ๆ 12 ชั่วโมง 
  • สำหรับเด็ก ปริมาณการรับประทานยาจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของเด็ก โดยส่วนใหญ่จะต้องรับประทานยาติดกัน 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม แพทย์จะให้รับประทานยาครั้งละ 12 เม็ด ทุก ๆ 12 ชั่วโมง และลดปริมาณลงครั้งละ 5 เม็ด ทุก ๆ 12 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม ยาฟาวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงในการรับประทาน เช่น ท้องเสีย ตับอักเสบ คลื่นไส้และอาเจียน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ควรซื้อยาฟาวิพิราเวียร์มารับประทานเอง จะต้องได้รับการรักษาและพิจารณาจากแพทย์เท่านั้น

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Favipiravir (T-705), a broad spectrum inhibitor of viral RNA polymerase.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5713175/.Accessed August 04, 2021

Report on the Deliberation Results.https://www.pmda.go.jp/files/000210319.pdf.Accessed August 04, 2021

การค้นคว้ายาต้านไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 1 : ฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir).https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/485/./ยาต้านไวรัสโควิด-19:ฟาวิพิราเวียร์(favipiravir)/.Accessed August 04, 2021

ไข้หวัดใหญ่

ยาฟาวิพิราเวียร์ (ยาฟาเวียร์) รักษาโควิด-19 ขององค์การเภสัชกรรม ที่ผลิตเอง ได้ทะเบียนจาก อย.แล้ว เดือนสิงหาคมนี้ พร้อมเริ่มกระจายให้กับผู้ป่วย.https://www.gpo.or.th/view/462.Accessed August 04, 2021

รู้จักกับ “ยาฟาวิพิราเวียร์”.https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue041/rama-rdu.Accessed August 04, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

อันตราย! โควิดสายพันธุ์อินเดีย ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นราวติดจรวด

เช็ก! พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด มีจังหวัดอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา