backup og meta

วัคซีนที่ควรฉีดช่วงโควิดระบาด ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

วัคซีนที่ควรฉีดช่วงโควิดระบาด ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

สถานการณ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดทั่วโลกนี้ ปัจจุบันก็ยังคงไม่มียาที่สามารถจะรักษาผู้ป่วยจำนวนมากให้หายขาดได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีข่าวดีในเรื่องของวัคซีนนา ๆ ชนิด ที่ผู้ผลิต และทางการแพทย์ได้ร่วมมือกันวิจัย และผลิตออกมาอย่างแพร่หลาย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเบื้องต้นถึง วัคซีนที่ควรฉีดช่วงโควิดระบาด เพื่อให้ทุกคนนำไปพิจารณา และนัดหมายรับวัคซีนเพื่อช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

วัคซีนที่ควรฉีดช่วงโควิดระบาด เพื่อเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

วัคซีน ที่คุณควรได้รับ ไม่ได้มีแค่วัคซีนสำหรับโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังมี วัคซีน อื่นอีกหลายชนิดที่คุณควรได้รับเป็นประจำทุกปี หรือตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ร่างกายต้องเจอ

ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณะสุขที่ได้แนะนำการฉีดวัคซีนพื้นฐานที่ทุกคนควรฉีดเอาไว้ ดังนี้

  • วันซีนวัณโรค (BCG)
  • วัคซีนตับอักเสบบี (HB)
  • วัคซีนโปลิโอ (OPV)
  • วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี 
  • วันซีนรวมหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR)
  • วัคซีนไข้สมองอีกเสบเจอี (JE)
  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP)
  • วันซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)
  • วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

โดย วัคซีน ทั้ง 8 ชนิด อาจต้องได้รับตั้งแต่ช่วงเยาว์วัย ส่วนใหญ่แพทย์จะกำหนดช่วงอายุที่เหมาะสม แล้วจึงนัดหมายดำเนินการฉีด วัคซีน ให้ตามลำดับขั้นตอน นอกจากนี้วัคซีนบางชนิดอาจจำเป็นต้องมีการฉีดกระตุ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอีกครั้งเมื่อเติบโตจนเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ วัคซีนเหล่านี้ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันงูสวัด วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส เนื่องจากร่างกายของเราอาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น การฉีดวัคซีนกระตุ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น

ทำไมถึงต้องฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ ในช่วงโควิดระบาด

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ค่อนข้างมีความรุนแรงหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส รวมถึงยอดผู้ติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงทุกวัน การฉีดวัคซีนครบทุกชนิดครบตามที่กำหนด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะอาจช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้คุณแข็งแรงมากขึ้น ติดโรคระบาดต่าง ๆ ได้ยากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่การฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะช่วยคุณได้ คุณจึงควรมีการตระหนักถึงสุขอนามัย หรือวิธีป้องกันตนเองเบื้องต้นเอาไว้ร่วมด้วย เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยสบู่อย่างเป็นประจำ หมั่นใช้เจลที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 75% และหลีกเลี่ยงการอยู่ร่วมกันกับผู้คนหมู่มาก

ข้อควรปฏิบัติก่อนรับการฉีด วัคซีน

ไม่ว่าคุณจะได้รับการฉีดวัคซีนชนิดใด ข้อควรปฏิบัติก่อนรับการฉีดวัคซีนที่คุณไม่ควรละเลย คือการตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติโรคประจำตัวที่คุณเป็น พร้อมกับระบุยาที่กำลังใช่ในปัจจุบันร่วม เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์นำไปพิจารณาถึงว่าวัคซีนชนิดใดที่ต้องละเว้น และวัคซีนชนิดใดที่สามารถฉีดได้ เพราะหากคุณไม่มีการแจ้งข้อมูลตามความเป็นจริง ร่างกายอาจรับอันตราย จนเกิดอาการรุนแรงจากผลข้างเคียงของ วัคซีน ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Interim Guidance for Routine and Influenza Immunization Services During the COVID-19 Pandemic.https://www.cdc.gov/vaccines/pandemic-guidance/index.html.Accessed July 1, 2021

ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2562.http://dmsic.moph.go.th/upload/web_download/ddc_vaccines-n-immunesystem2562_20191102_183930.pdf.Accessed July 1, 2021

People at High Risk For Flu Complications.https://www.cdc.gov/flu/highrisk/index.htm.Accessed July 1, 2021

คําแนะนําการให,บริการวัคซีนในช่วงสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19).https://www.pidst.or.th/A885.html.Accessed July 1, 2021

Guidance on routine immunization services during COVID-19 pandemic in the WHO European Region, 20 March 2020 (produced by WHO/Europe).https://www.euro.who.int/en/health-topics/communicable-diseases/hepatitis/publications/2020/guidance-on-routine-immunization-services-during-covid-19-pandemic-in-the-who-european-region,-20-march-2020-produced-by-whoeurope.Accessed July 1, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/10/2022

เขียนโดย Duangkamon Junnet

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจ ATK เพื่อเดินทาง สิ่งสำคัญที่ควรพกติดตัวและข้อควรรู้ก่อนเดินทางออกนอกประเทศ

การใช้ชีวิตในโลกที่มีโรคประจำถิ่นเป็นอย่างไร?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา