backup og meta

วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงกักตัวอยู่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงการติดโรคโควิด-19

วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงกักตัวอยู่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงการติดโรคโควิด-19

มีผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ลงในวารสารสุขภาพอย่าง Public Health ในปี 2017 ที่กล่าวถึงความเชื่อมโยงของการที่ต้องอยู่บ้านและขาดการติดต่อจากโลกภายนอก หรือมีการติดต่อกับบุคคลอื่นน้อยลงนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต และก่อให้เกิดความเหงา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องคอยสังเกตสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองอยู่เสมอ ในระหว่างการกักตัวอยู่บ้านเพื่อป้องกัน โรคโควิด -19 ยิ่งถ้ารู้สึกว่าเริ่มเหงาและหดหู่ใจเมื่อไหร่ล่ะก็ ให้ลองใช้ วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงการกักตัวอยู่บ้าน ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเอามาฝากค่ะ

วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงการกักตัวอยู่บ้าน มีอะไรบ้าง

ทำตัวให้เป็นปกติ

ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ หรือ โรคโควิด -19 นี้ หลายคนต้องกักตัวเองอยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน หรือต้องอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปข้างนอก หรือออกไปเฉพาะยามจำเป็น เป็นเหตุให้โอกาสในการพบปะและติดต่อกับบุคคลอื่นน้อยลง ยิ่งถ้าต้องอยู่บ้านคนเดียวตลอดการกักตัวก็จะยิ่งทวีความเงียบเหงาให้มากขึ้นไปอีก ดังนั้น วิธีแรกที่จะช่วยได้ก็คือ การทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ ใครที่เคยยุ่งกับการไปทำงาน แม้ตอนนี้จะเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน ก็ใช้เวลาทำงานให้เต็มที่เหมือนกับตอนที่ทำงานที่ออฟฟิศ เมื่อทำตัวเหมือนปกติที่เคยเป็นมา ก็จะช่วยลดความรู้สึกเงียบเหงาลงได้บ้าง 

เสพแต่ข่าวที่น่าเชื่อถือ

หลายคนยิ่งเหงาก็ยิ่งหาอะไรอ่าน หาอะไรดู เพื่อคลายความเหงา แต่ยิ่งติดตามข่าวสารมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งจิตตก เพราะข้อมูลของ โรคโควิด -19 นั้นมาจากหลากหลายแหล่งที่มา ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือน้อย เมื่อรับข้อมูลที่มากเกินไปก็จะส่งผลต่อการใช้วิจารณญาณ ทำให้จิตตกได้ง่าย เปลี่ยนจากการใช้เวลาเสพข่าวสารที่ไม่น่าเชื่อถือ มาทำกิจกรรมคลายเครียดอื่น ๆ จะได้ประโยชน์กว่า เช่น ดูหนัง เล่นเกม หรืออ่านหนังสือ และสำหรับข่าวสาร ควรเลือกเสพข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเท่านั้น เพื่อให้ตนเองยังคงทันต่อสถานการณ์ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง และลดความเสี่ยงที่จะมีภาวะจิตตก

เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ความรู้สึกเหงา ทำให้ร่างกายเฉื่อยชา ยิ่งเฉื่อยชาก็ยิ่งรู้สึกเหงามากขึ้น จึงควรเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา เช่น ทำงานบ้าน ออกกำลังกาย ทำอาหาร เล่นกับสัตว์เลี้ยง จัดแต่งสวน หรือเล่นโยคะ พยายามหากิจกรรมให้ตนเองทำตลอด ยิ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อร่วมด้วยก็ยิ่งดี เช่น การถักนิ้ตติ้ง การทำงานฝีมือ วาดภาพ หรือเล่นเกม เป็นต้น

ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์

บางคนไม่ชอบที่จะทำกิจกรรมเบาสมอง หรือกิจกรรมที่ต้องใช้พรสวรรค์ แม้จะเป็นช่วงการกักตัวของ โรคโควิด -19 แต่ก็ยังต้องการทำกิจกรรมที่ได้ประโยชน์และมีความหมาย ลองเรียนคอร์สออนไลน์ต่างๆ หรือเป็นอาสาสมัครต่างๆ ทั้งแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ เช่น การสอนหนังสือ หรือการอัดเสียงอ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตาฟัง เป็นต้น

ติดต่อกับเพื่อนผ่านโซเชียลมีเดีย

เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนทุกวันนี้มีช่องทางให้ได้ติดต่อสื่อสารกันมากมาย ก็ใช้ช่องทางนี้แหละ พูดคุย เม้ามอยกับเพื่อนที่รักให้สนั่นจนลืมเหงาไปเลย จะคุยแบบตัวต่อตัว หรือวิดีโอคอลเป็นกลุ่ม ก็ช่วยคลายเหงาได้ทั้งสิ้น หรือจะเป็นการใช้บริการสตรีมมิ่งไลฟ์พูดคุยกับคนอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน

ทำสิ่งที่อยากจะทำ

การระบาดของ โรคโควิด -19 เป็นช่วงเวลาที่ทำให้หลายๆ คน ได้มีโอกาสใช้เวลาอยู่บ้านแบบยาว ๆ  เป็นโอกาสอันดีในการได้ลงมือทำกิจกรรมที่อยากจะทำมานาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาในการทำอาหารตามยูทูปเบอร์คนดังที่เคยดู การนอนแบบไม่สนใจเสียงบ่นของแม่ให้ลุกออกไปนอกบ้าน การดูหนังที่เคยดองเอาไว้ หรือจะเป็นการเริ่มทำตามความชอบของตนเองอย่างเช่น การเขียนหนังสือ การวาดภาพ การสร้างเกม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เคยบอกกับตัวเองไว้ว่าจะทำแต่หาเวลาทำไม่ได้สักที ก็จะได้ใช้โอกาสนี้ทำตามความต้องการนั้น และยังช่วยคลายเหงาได้อีกด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Cope With Loneliness During the Coronavirus Pandemic. https://www.verywellmind.com/how-to-cope-with-loneliness-during-coronavirus-4799661. Accessed on April 15, 2020.

COVID-19: how to cope with loneliness during the coronavirus pandemic. https://patient.info/news-and-features/covid-19-how-to-cope-with-loneliness-during-the-coronavirus-pandemic. Accessed on April 15, 2020.

Coronavirus and isolation: helpful things to remember about loneliness. https://www.redcross.org.uk/stories/disasters-and-emergencies/uk/coronavirus-six-facts-about-loneliness. Accessed on April 15, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nopnan Ariyawongmanee


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการไข้หวัดใหญ่ VS อาการโควิด-19 ต่างกันอย่างไร?

ของที่ควรพกติดตัว เพื่อรับมือกับเชื้อโรค ในยาม โควิด-19 ระบาด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา