backup og meta

วิธีบรรเทาความล้าของดวงตา เมื่อต้อง Work from Home ในช่วงโควิด-19

วิธีบรรเทาความล้าของดวงตา เมื่อต้อง Work from Home ในช่วงโควิด-19

การ Work from Home หรือ ทำงานที่บ้าน ในช่วงที่มีโรคโควิด-19 ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็ยังต้องทำงานให้ได้เหมือนอยู่ที่ออฟฟิศ นั่นแปลว่า สายตายังจำเป็นที่จะต้องทำงานหนักเหมือนเมื่อตอนอยู่ที่ออฟฟิศ หรืออาจจะมากกว่าเมื่อต้องทำงานที่บ้าน จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น อาการปวดตา หรือมีอาการตาล้าจากการจ้องอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน วันนี้ Hello คุณหมอ รวบรวมเอา วิธีบรรเทาความล้าของดวงตา ในช่วงที่หลาย ๆ คนต้อง Work from Home แบบง่าย ๆ มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ

วิธีบรรเทาความล้าของดวงตา ในช่วงที่คุณ ทำงานที่บ้าน มีอะไรบ้าง?

เลือกมุมทำงานที่มีแสงสว่างเหมาะสม

สถานที่บางมุมในบ้าน อาจไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการนั่งทำงาน ดังนั้นควรเลือกมุมที่มีแสงสว่างเข้าถึง และมีบรรยากาศที่เหมาะแก่การทำงาน ไม่มืดจนเกินไป หรือเป็นมุมอับไม่มีอากาศถ่ายเท 

ปรับความสูงของจอภาพ

ระยะที่เหมาะสมระหว่างจุดกึ่งกลางขอจอคอมพิวเตอร์กับสายตา คือ สายตาควรจะต้องอยู่สูงกว่าจอคอมพิวเตอร์ มองลงมาที่จอคอมพิวเตอร์ในแนวเส้นตรง

ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์

เพื่อป้องกันไม่ให้ดวงตาเกิดความเมื่อยล้า ควรปรับแสงสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม โดยปรับให้อยู่ในระดับที่มองเห็นได้ชัดเจน ไม่สว่างจนเกินไป หรือมืดจนมองอะไรไม่เห็น จะสามารถช่วยลด อาการปวดตา หรืออาการล้าของดวงตาได้

ปรับอุณหภูมิของสีบนหน้าจอ

อุณหภูมิของสีบนหน้าจอดิจิตอลก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะแสงสีน้ำเงินจากจอดิจิตอลนั้น มีขนาดความยาวของคลื่นที่สั้น จึงส่งผลให้เกิด อาการปวดตา เมื่อเทียบกับสีอื่น ๆ ที่มีขนาดความยาวของคลื่นที่มากกว่า ได้แก่ สีแดง หรือสีส้ม ดังนั้น การลดอุณหภูมิของสีที่หน้าจอ ก็จะช่วยลดปริมาณของแสงสีน้ำเงิน ทำให้สบายตามากขึ้น

จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม

ตำแหน่งที่เหมาะสมคือ จอภาพควรจะอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา และอยู่ห่างจากใบหน้าประมาณ 20-28 นิ้ว เพื่อไม่ให้ต้องแหงนคอมองจอภาพ ซึ่งนอกจากจะทำให้มี อาการปวดตา แล้ว ยังส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยคออีกด้วย

ไม่จ้องหน้าจอใกล้จนเกินไป

การให้หน้าจอของคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนอยู่ใกล้หน้าจอมากจนเกินไป เสี่ยงที่สายตาจะได้รับแสงสีฟ้าหรือแสงสีน้ำเงิน ซึ่งมีผลทำให้เกิด อาการปวดตา ควรให้สายตาอยู่ในระยะห่างจากจอภาพดิจิตอลทั้งหลายในระยะที่เหมาะสมและมองเห็นได้อย่างชัดเจน

พักสายตา

ไม่ว่าจะทำงานที่ออฟฟิศ หรือ Work from Home ก็ควรมีการพักสายตาอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อไม่ให้มีการใช้สายตามากจนเกินไป โดยอาจใช้ หลักการพักสายตาแบบ 20-20-20 คือ ควรจะพักสายตาทุก ๆ 20 นาที มองออกไปยังวัตถุอื่น ๆ ให้ไกลอย่างน้อย 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที 

กะพริบตาบ่อยๆ

การกะพริบตาบ่อย ๆ จะช่วยป้องกันการระคายเคืองของดวงตา ป้องกันไม่ให้ตาแห้ง ช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้น เนื่องจากน้ำที่เคลือบดวงตามักจะมีการระเหยออกไปอยู่เรื่อย ๆ การกะพริบตาบ่อย ๆ จะทำให้ดวงตาสามารถรักษาความชุ่มชื้นเอาไว้ได้

สวมแว่นกรองแสงหรือแว่นตาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์

การสวมแว่นตาที่มีคุณสมบัติเฉพาะเช่นนี้ จะช่วยลด อาการปวดตา จากแสงของจอคอมพิวเตอร์ได้ เพราะจะช่วยกรองแสง ทำให้สบายตามากขึ้นขณะที่ต้องจ้องอยู่กับจอภาพเป็นเวลานาน ๆ

พักการทำงาน

หากเริ่มรู้สึกเมื่อยล้า ปวดคอ หรือเริ่มมี อาการปวดตา ให้พักการทำงานไว้เท่านั้นก่อน แล้วพักสักครู่ อาจเป็นการจิบชาหรือกาแฟ นอนงีบ หรือออกไปเดินเล่นก็ได้ เพื่อให้กล้ามเนื้อของร่างกาย และกล้ามเนื้อตาได้มีการผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้าในการทำงาน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Keep Your Eyes Healthy at Work. https://www.onemedical.com/blog/live-well/healthy-eyes-at-work. Accessed on April 16, 2020.

15 Tips for Computer Eye Strain Relief. http://www.dishaeye.org/blog/15-tips-computer-eye-strain-relief/. Accessed on April 16, 2020.

Computer eye strain: 10 steps for relief. https://www.allaboutvision.com/cvs/irritated.htm. Accessed on April 16, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาสามัญประจำบ้าน มีติดบ้านไว้ อุ่นใจ ไม่ต้องไปโรงพยาบาล

เครียดเรื่องโรคโควิด-19 จนไม่เป็นอันทำอะไร ลองใช้ เทคนิคการผ่อนคลาย เหล่านี้สิ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 14/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา