backup og meta

ไขข้อสงสัย! สัตว์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือไม่?

ไขข้อสงสัย! สัตว์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือไม่?

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลายคนทั่วโลกเกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะอีกหนึ่งข่าวที่ทำให้คนรักสัตว์หลายคนเกิดความวิตกกังวลสูงยิ่งขึ้น เมื่อข่าวได้มีการระบุว่า สัตว์เลี้ยงสามารถติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ทำให้หลายคนเกิดความสังสงสัยว่า แท้จริงแล้ว สัตว์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือไม่กันนะ วันนี้ Hello คุณหมอ มาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ

 สัตว์สามารถติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่?

หลายคนอาจสงสัยว่า สัตว์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ คำตอบคือ จริงค่ะ สัตว์สามารถติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้  สาเหตุเกิดจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สัมผัสหรืออยู่คลุกคลีใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเชื้อไวรัสโควิด-19 จะแพร่กระจายไปสู่เยื่อบุทางเดินหายใจของสัตว์ ตัวอย่างเช่นสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่าง เสือ ในสวนสัตว์นิวยอร์กของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นับว่าเป็นสัตว์ตัวแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ว่าได้

โดยกระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการตรวจเลือดเสือตัวนี้เนื่องจากเริ่มมีอาการป่วยและกินอาหารได้น้อยลง พบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเชื่อว่าเสือตัวนี้ได้รับเชื้อจากการถูกสัมผัสจากพนักงานสวนสัตว์คนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรควิด-19 และดูเหมือนว่าเสือที่อาศัยอยู่คอกเดียวกันกับเสื้อที่ติดเชื้อจะมีลักษณะอาการคล้ายกับเสือที่ติดเชื้ออีกด้วย  อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติม ที่บ่งชี้ว่าสัตว์ตัวอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันในสวนสัตว์นิวยอร์กแสดงอาการที่เข้าข่ายว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19

วิธีปกป้องสัตว์เลี้ยง ให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19

จนกว่าจะมีข้อบ่งชี้ที่ระบุแน่ชัดว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 นี้มีผลต่อสัตว์อย่างไรบ้าง วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันเพื่อให้สัตว์เลี้ยงของคุณปลอดภัยต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนี้

  • เลี้ยงสัตว์แบบระบบปิด อย่าให้ออกมานอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีปฎิสัมพันธ์กับสัตว์ตัวอื่นหรือคนภายนอก
  • หากนำสัตว์เลี้ยงออกมาเดินเล่นนอกบ้าน ควรใช้สายจูงที่มีความยาวอย่างน้อย 2 เมตร และควรหลีกเลี่ยงการพาไปในพื้นที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมาก
  • หากคุณสงสัยว่าตนเองได้ติดเชื้อโควิด-19 หรือติดเชื้อโควิด-19 คุณควรแยกตัวออกจากคนรอบข้างรวมถึงสัตว์เลี้ยงของคุณด้วย หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง
  • ในกรณีที่คุณติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่มีความจำเป็นต้องดูแลสัตว์เลี้ยง ให้สวมผ้าคลุมหน้า ที่สำคัญควรล้างมือก่อนและหลังทุกครั้งเมื่อสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงของคุณ

สร้างสุขอนามัยที่ดี  ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

การมีสุขอนามัยที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ โดยมีวิธีในการปฏิบัติแบบง่ายๆ ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง
  • ฝึกสุขอนามัยที่ดีให้สัตว์เลี้ยงและตัวคุณ เช่น ฝึกขับถ่ายให้ถูกที่ หมั่นอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง เป็นต้น
  • หากพบว่าสัตว์มีอาการผิดปกติ ควรโทรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม

คุณและสัตว์เลี้ยงของคุณมีสุขภาพที่ดี ปลอดภัย จากเชื้อไวรัสโควิด19 ได้ ด้วยการรักษาสุขอนามัยที่ดี ทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อโรคตามเส้นขน หลีกเลี่ยงการพาสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน อย่างไรก็ตามหากพบว่าสัตว์เลี้ยงของตนเองมีอาการเข้าข่ายต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้โทรสอบถามขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์หรือกรมปศุสัตว์ในท้องที่ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

If You Have Animals. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/daily-life-coping/animals.html. Accessed 13 April 2020.

Questions and Answers on the 2019 Coronavirus Disease (COVID-19). https://www.oie.int/scientific-expertise/specific-information-and-recommendations/questions-and-answers-on-2019novel-coronavirus/  Accessed 13 April 2020.

Can Animals Get Coronavirus? What to Know About Pets and COVID-19. https://www.health.com/condition/infectious-diseases/coronavirus/can-animals-get-coronavirus. Accessed 13 April 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/06/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทารกและเด็กเล็ก เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากแค่ไหน?

ไขข้อข้องใจ! เชื้อไวรัสโควิด-19 อาศัยอยู่บนพื้นผิว ได้นานแค่ไหน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา