backup og meta

อาการโควิด-19 มีอะไรบ้าง เราติดแล้วหรือยัง

อาการโควิด-19 มีอะไรบ้าง เราติดแล้วหรือยัง

โคโรนาไวรัส คือกลุ่มไวรัสที่ส่งผลให้ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจรุนแรงนำไปสู่โรคโควิด-19 ที่เริ่มแพร่ระบาดทั่วโลกในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นโรคในปัจจุบันที่ควรระวังโดยการสังเกต อาการโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อาการในระดับเบา จนถึงอาการระดับรุนแรง

อาการโควิด-19 

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจไม่เผยอาการใด ๆ แต่สำหรับบางคนหลังจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เชื้อนี้จะเข้าสู่ระยะการฝักตัวประมาณ 5-6 วัน ก่อนเผยอาการเจ็บป่วยที่สังเกตได้ชัดภายใน 2-14 วัน โดยอาการโควิด-19 ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจถี่
  • อาการไอแห้ง 
  • เจ็บคอ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • สูญเสียการรับรู้รสชาติ และกลิ่น
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย 

อาการโควิด-19 ในเด็ก สังเกตได้จาก สัญญาณเตือนดังนี้

  • มีไข้ 
  • หายใจถี่ 
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • ไอต่อเนื่อง และไอมากกว่า 1 ชั่วโมง หรือไอมากกว่า 3 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง 
  • อาเจียน
  • ปวดท้อง ท้องเสีย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • สูญเสียการรับรู้รสชาติ และกลิ่น 

อาการโควิด-19 ในระดับรุนแรงที่ควรเข้าพบคุณหมอ

หากสังเกตว่าตนเอง และบุตรหลานมีอาการโควิด-19 ในระดับรุนแรง ดังต่อไปนี้ ควรแจ้งคุณหมอทราบทันที เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

  • เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
  • หายใจลำบากเป็นเวลานานประมาณ 1 สัปดาห์
  • เจ็บหน้าอก
  • ใบหน้าและริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีฟ้าซีด 

ความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการโควิด-19 รุนแรง

ความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการโควิด-19 มีความรุนแรง อาจมาจากช่วงอายุที่มากขึ้น และปัญหาสุขภาพจากภาวะต่าง ๆ ดังนี้

  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ เช่น หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหอบหืด
  • โรคปอดเรื้อรัง เช่น พังผืดในปอด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จากโรคเอชไอวี ยาบางชนิด การปลูกถ่ายไขกระดูก
  • โรคไตเรื้อรัง 
  • โรคตับ
  • โรคระบบประสาทและสมอง เช่น ดาวน์ซินโดรม ภาวะสมองเสื่อม 
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือธาลัสซีเมีย
  • โรคมะเร็ง

วิธีบรรเทาอาการโควิด-19

การบรรเทาอาการโควิด-19 ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณะสุขแห่งประเทศไทย แบ่งกลุ่มตามอาการ 4 กลุ่ม ดังนี้

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่มีอาการ

อาจแนะนำให้กักตัวอยู่ภายในแหล่งที่อยู่อาศัย หรือสถานที่กักตัวเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 ที่หน่วยงานจัดไว้อย่างน้อย 14 วัน หลังจากตรวจเจอเชื้อไวรัส และอาจให้ยาที่มีสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร หรือต้านไวรัส ชนิดใดชนิดหนึ่งไว้รับประทาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ เนื่องจากผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาจสามารถหายได้เอง

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีผลการตรวจพบว่าเป็นปอดอักเสบ และปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง

คุณหมออาจให้กักตัวภายในแหล่งที่อยู่อาศัย หรือสถานที่กักตัวที่หน่วยงานจัดสรร และให้รับรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งติดตามอาการของผู้ป่วยในแต่ละวันอย่างใกล้ชิด หากผู้ป่วยมีอาการโควิด-19น้อยลง อาจไม่จำเป็นได้รับยาต้านเชื้อไวรัส เนื่องจากอาจมีโอกาสหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการรุนแรง และมีโรคประจำตัว 

ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อย 14 วัน หลังจากตรวจพบเชื้อ หรือมีอาการโควิด-19 และให้รับประทานยาฟาวิพิราเวียร์ ติดต่อกันประมาณ 5 วัน หรือนานกว่านั้น ตามอาการของผู้ป่วย และอาจให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วม หากผลเอกซเรย์ตรวจเช็กปอดพบว่ามีอาการแย่ลง สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการดีขึ้น คุณหมออาจอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลไปกักตัวที่บ้านต่อประมาณ 14 วัน

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีออกซิเจนในร่างกายต่ำ

คุณหมออาจติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และให้เริ่มรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์เป็นเวลา 5-10 หรืออาจเปลี่ยนเป็นยาเรมเดซิเวียร์ตามการพิจารณาหากผู้ป่วยมีเงื่อนไข ดังนี้

  • ปอดอักเสบรุนแรงไม่เกิน 10 วัน ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจรักษาระดับออกซิเจนในเลือดอย่างน้อย 94% ก่อนถูกถอด เพื่อรับยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) เพราะหากใส่เครื่องช่วยหายใจ อาจทำให้ยานี้ทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ผู้หญิงตั้งครรภที่เป็นปอดอักเสบ

การใช้ยาเรมเดซิเวียร์ หรือยาฟาวิพิราเวียร์ ไม่อาจใช้พร้อมกันได้ โดยคุณหมออาจจัดตารางการให้ยาตามความเหมาะสม

ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อมีอาการโควิด-19

ข้อควรปฏิบัติเมื่อทราบผลว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือมีอาการโควิด-19 เบื้องต้น มีดังนี้

  • กักตัว เว้นระยะห่างกับผู้คนภายในบ้าน ไม่ควรออกไปในที่สาธารณะ
  • แจ้งให้หน่วยงาน หรือคุณหมอทราบว่าตัวเองติดเชื้อ และมีอาการอื่น ๆ ร่วม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยหลือไปสถานที่กักตัวผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือรักษาในโรงพยาบาลโดยเฉพาะ 
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันแพร่เชื้อผ่านการไอจาม
  • แยกของใช้ส่วนตัว เช่น จาม ชาม แก้ว ช้อน ส้อม ผ้าเช็ดตัว

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564 . https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=150 . Accessed September 30, 2021

Coronavirus disease 2019 (COVID-19). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/symptoms-causes/syc-20479963 . Accessed September 30, 2021

Main symptoms of coronavirus (COVID-19). https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/symptoms/main-symptoms/ . Accessed September 30, 2021

Coronavirus (COVID-19) symptoms in children. https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/symptoms/coronavirus-in-children/ . Accessed September 30, 2021

Symptoms of Coronavirus. https://www.webmd.com/lung/covid-19-symptoms# . Accessed September 30, 2021

Symptoms of Coronavirus. https://www.webmd.com/lung/covid-19-symptoms#3 . Accessed September 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็กอาการโควิด-19 เบื้องต้น ด้วย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา