backup og meta

เอปซีลอน โควิดสายพันธุ์ใหม่ แพร่เชื้อเร็วเทียบเท่าสายพันธุ์เดลตา

เอปซีลอน โควิดสายพันธุ์ใหม่ แพร่เชื้อเร็วเทียบเท่าสายพันธุ์เดลตา

หลายประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อ อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพบ เอปซีลอน โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังแพร่ระบาดมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ผลงานวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ทางวารสาร Science ได้ระบุว่า เชื้อไวรัสเอปซีลอน เกิดการกลายพันธุ์จนสามารถหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 ได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูรู้จักกับ เชื้อไวรัสเอปซีลอน ให้มากขึ้นกัน เพื่อที่เราจะได้ป้องกันตนเองและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้อย่างทันท่วงที 

เอปซีลอน โควิดสายพันธุ์ใหม่ คืออะไร

โควิดสายพันธุ์เอปซีลอน (Epsilon) พบครั้งแรกในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อยด้วยกัน คือ 

  1. B.1.427  เกิดจากการกลายพันธุ์จากยีนเอสของโปรตีนหนาม (S Protein) ตำแหน่ง ที่เรียกว่า “L452R’
  2. B.1.429 เกิดจากการหลายพันธุ์ในหนามโปรตีน 5 ตำแหน่ง ที่เรียกว่า I4205V,  D1183Y (ในยีนส์ ORF1b) และ L452R, W152C, S13I (ในยีนส์ S)

ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาพบว่า มีการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวนี้สูงถึง 15% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยในปัจจุบันได้มีการแพร่ระบาดไปแล้วมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปยุโรป 

โควิดสายพันธุ์เอปซีลอน ต้านทานวัคซีนได้จริงหรือไม่ 

แมทธิว แม็กคัลลัม (Matthew McCallum) นักชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อไวรัสโควิดเอปซีลอน ผ่านวารสาร Science เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม โดยระบุว่า ไวรัสสายพันธุ์เอปซีลอน เกิดการกลายพันธุ์จากหนามโปรตีนอีก 3 ตำแหน่ง ทำให้ต้านทานวัคซีนชนิด mRNA ได้ดีขึ้น จากการทดลอง ได้มีการนำเลือดของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) และวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) จำนวน 2 เข็มแล้ว มาทดสอบประสิทธิภาพกับ ไวรัสเอปซีลอน พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันลดลง 2.3-5 เท่า เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ

ดูแลตนเองลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เอปซีลอน

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน โควิดสายพันธุ์เอปซีลอน ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย แต่เราก็ต้องดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เอปซีลอน โดยมีวิธีในการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน และควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสกับใบหน้า ตา จมูก โดยไม่จำเป็น
  • แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หรือสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ ๆ 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เราจะต้องหมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการที่เข้าข่ายต่อการติดเชื้อโควิด-19 เช่น ไอ ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น มีน้ำมูก ให้รีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจเชื้อทันที 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pakistan sounds alert after Epsilon strain of Covid-19 found in 

Lahore. https://www.indiatoday.in/coronavirus-outbreak/story/pakistan-sounds-alert-epsilon-strain-of-covid-found-in-lah

ore-1835494-2021-08-01. Accessed August 05, 2021

Study suggests Epsilon variant of COVID-19 more resistant to mRNA 

vaccines. https://filipinotimes.net/latest-news/2021/07/04/study-suggests-epsilon-variant-of-covid-19-more-resistant-to

-mrna-vaccines/. Accessed August 05, 2021

SARS-CoV-2 immune evasion by the B.1.427/B.1.429 variant of  concern. https://science.sciencemag.org/content/early/2021/06/30/science.abi7994. Accessed August 05, 2021

Health officials de-escalate status of Epsilon COVID-19 

variant. https://www.nbc15.com/2021/07/02/health-officials-de-escalate-status-epsilon-covid-19-variant/. Accessed August 05, 2021

How Mutations Have Shaped the Covid-19  Pandemic. https://www.wsj.com/articles/how-mutations-have-shaped-the-covid-19-pandemic-11624806000. Accessed August 05, 2021

สู้! โควิด-19 ไปด้วยกัน. https://www.udo.moph.go.th/docs_temp/covid19forpeople.pdf. Accessed August 05, 2021

Epsilon variant: What is the new variant and can it escape the vaccines?. https://www.independent.co.uk/news/health/epsilon-variant-covid-california-explainer-b1878909.html. Accessed August 05, 2021

Epsilon (ฺB.1.1427/B.1.429). https://gvn.org/covid-19/epsilon-b-1-427-b-1-429/. Accessed August 05, 2021

แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf. Accessed August 05, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อข้องใจ การตรวจเชื้อโควิด แบบ RT-PCR คืออะไร?

ฉีดวัคซีนโควิด มีประโยชน์อย่างไร และมีผลข้างเคียงอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา