backup og meta

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร

    โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ทั่วไป และล่าสุดพบว่ามีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่กระจายไปแล้วกว่า 95 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ประชากรได้รับวัคซีนน้อย แม้จะมีการล็อคดาวน์ หรือมีมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อชะลอการแพร่เชื้อ ก็อาจเสี่ยงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์นี้ได้มากที่สุด

    สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส

    จากการรายงานองค์การอนามัยโลกได้ เผยว่า โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่กระจายแล้วกว่า 95 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่อาจมีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรต่ำ ถึงแม้จะเพิ่มความเข้มงวดในการลดการแพร่เชื้อด้วยการล็อคดาวน์ หรือมีมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นก็ตาม

    อย่างไรก็ตาม หากทุกคนไม่มีการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอ รวมถึงเพิกเฉยต่อการป้องกันตนเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่างทางสังคม การระบาดโควิด-19สายพันธุ์เดลต้าพลัส และสายพันธุ์อื่น ๆ ก็คงยังระบาดต่อไปได้ 

    โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร

    ข้อแตกต่างอย่างเดียวของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์เดลต้าพลัส คือ การกลายพันธุ์ของโปรตีนหนาม K417N ทำให้ไวรัสโคโรนา 2019 เกาะตัวกับเนื้อเยื่อบนปอดได้แน่นขึ้น ทั้งยังเพิ่มอัตราการแพร่กระจายได้รวดเร็ว และสามารถหลบเลี่ยงปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี ทำให้คนส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าเข้าสู่ร่างกายแล้ว เพราะมักไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมา จนกว่าเชื้อไวรัสจะเริ่มลงปอด ซึ่งถือว่าเข้าขั้นรุนแรง ควรติดต่อจากหน่วยงาน หรือสถานพยาบาลให้เร่งรับตัวผู้ป่วยไปรักษาโดยด่วน

    ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส

    ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในการกับโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัสที่มีในขณะนี้อาจยังไม่เพียงพอ แต่บางประเทศที่ประชากรเข้ารับการฉีดวัคซีนก็ทำให้ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จากตัวอย่างจากผลเลือดของผู้ที่ได้รับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ครบตามกำหนด แสดงให้เห็นว่าร่างกายของบุคคลเหล่านี้มีการผลิตแอนติบอดีป้องกันตัวแปรของไวรัสชนิดต่าง ๆ รวมถึงสายพันธุ์เดลต้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ขณะเดียวกันวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech) เมื่อฉีดครบทั้ง 2 โดส ก็อาจให้ประสิทธิภาพถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ที่ส่งผลให้คุณปลอดภัยจากอาการรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เช่นเดียวกัน ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) จะให้ผลน้อยเมื่อเทียบกับวัคซีน 2 ชนิดข้างต้น แต่ยังคงให้ผลดีถึง 92 เปอร์เซ็นต์เมื่อได้รับครบ 2 โดส

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา