backup og meta

วิธีรักษาโรคซาร์คอยโดซิส ก่อนเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

    วิธีรักษาโรคซาร์คอยโดซิส ก่อนเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

    โรคซาร์คอยโดซิส เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันทำงานอ่อนแอลง จนส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้น ที่สำคัญยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมาได้อีกด้วย ดังนั้น วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ วิธีรักษาโรคซาร์คอยโดซิส พร้อมภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เพื่อให้คุณตระหนัก และหันมาดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ก่อนจะต้องทนอยู่กับโรคดังกล่าวอย่างทรมานตลอดชีวิต

    ภาวะแทรกซ้อนจาก โรคซาร์คอยโดซิส 

    โรคซาร์คอยโดซิส ที่เกิดจากกลุ่มการรวมตัวก่อให้เกิดเซลล์อักเสบ ไม่ใช่แค่เพิ่มความเสี่ยงโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา แต่โรคนี้ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในของคุณได้อีกด้วย ดังนี้

    • ทำลายปอด เนื่องจากกลุ่มเซลล์อักเสบสามารถทำให้รอบ ๆ ปอด หรือปอดของคุณมีพังผืดติดเกาะ ส่งผลให้หายใจลำบาก ทั้งยังทำให้ความดันในปอดเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
    • สุขภาพตาเสื่อมสภาพ การอักเสบที่เกิดขึ้นกับดวงตาของคุณ อาจทำให้เรตินาในดวงตาเสียหาย จนเข้าสู่ภาวะต้อกระจก ต้อหิน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด
    • การทำงานของหัวใจผิดปกติ หากกลุ่มเซลล์อักเสบพัฒนาตัวเป็นโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมาแล้ว อาจเข้าไปขวางระบบการไหลเวียนของเลือด และการเต้นของหัวใจ จนสามารถส่งผลให้คุณเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย หรือเสียชีวิตได้
    • ทำลายระบบประสาท ถึงจะมีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ แต่คุณก็ประมาทไม่ได้ เพราะหากเซลล์อักเสบ จนส่งผลให้สมองอักเสบตามไปด้วย ก็อาจส่งผลให้ร่างกายของคุณได้รับผลกระทบที่รุนแรงตามมา เช่น อัมพาต

    ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคซาร์คอยโดซิส

    ส่วนใหญ่ผู้ที่มักเป็น โรคซาร์คอยโดซิส มักอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20-40 ปี รวมถึงผู้ที่มีเชื้อสายแอฟริกัน หรือยุโรป แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกชาติพันธุ์ หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติของสภาวะ โรคซาร์คอยโดซิส คุณเองก็อาจเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

    วิธีรักษาโรคซาร์คอยโดซิส และเทคนิคการวินิจฉัยโรค

    เมื่อคุณมีอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ตาแดง ตาพร่ามัว หัวใจเต้นผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือรู้สึกเจ็บคอ รักแร้ และขาหนีบ พร้อมกับปวดข้อมือ ข้อเท้า และกระดูกส่วนอื่น ๆ ติดต่อกันนาน ๆ โปรดเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยด่วน เพื่อให้แพทย์ทำการ เอกซเรย์ทรวงอก ทดสอบการหายใจ ตรวจหลอดลม และนำเนื้อเยื่อไปตรวจอย่างละเอียด

    หากผลการตรวจสอบออกมาว่าคุณมีกลุ่มเซลล์อักเสบของ โรคซาร์คอยโดซิส แพทย์จะทำการรักษาให้ทันทีตามอาการ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

    • การรับประทานยา ยาส่วนใหญ่ที่แพทย์กำหนดนั้น เป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยากดภูมิคุ้มกัน ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) และสารยับยั้งการก่อตัวของเซลล์ (Tumor necrosis factor-alpha)
    • กายภาพบำบัด ควบคู่ไปกับการรับประทานยา เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด กระตุ้นหัวใจให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องกระตุ้น ช่วยลดความเหนื่อยล้า และเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
    • ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ การที่ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัด อาจต้องผ่านการตรวจสอบแล้วว่าอวัยวะภายในที่ได้รับผลกระทบไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ หากเป็นเช่นนั้น วิธีปลูกถ่ายอวัยวะอาจเป็นทางออกเดียวที่แพทย์แนะนำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา