backup og meta

บรรเทาอาการแพ้แมลง สำหรับอาการแพ้รุนแรงและไม่รุนแรง

บรรเทาอาการแพ้แมลง สำหรับอาการแพ้รุนแรงและไม่รุนแรง

เมื่อถูกแมลงต่อย บางคนอาจมีอาการคัน ตุ่มขึ้น หรือเกิดการอักเสบ แต่สำหรับผู้ที่มี อาการแพ้แมลงกัดต่อย อาจมีอาการที่รุนแรงกว่านั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาการแพ้แมลง วิธีรักษาอาการแพ้แมลง และ บรรเทาอาการแพ้แมลง มาให้ได้อ่านกันค่ะ เมื่อเกิดอาการแพ้มีวิธีใดบ้างที่สามารถบรรเทาอาการได้

[embed-health-tool-bmi]

อาการแพ้แมลง

เมื่อถูกแมลงกัดต่อย สารพิษในตัวสัตว์เหล่านั้นจะเข้าสู่ผิวหนัง จนทำให้เกิดอาการบวม แดง และมีอาการคันบริเวณที่ถูกต่อย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ที่พบได้ทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ หากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อพิษในแมลงอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ สำหรับบางคนอาจมีอาการแพ้รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ การรักษา อาการแพ้แมลง อย่างถูกวิธีจึงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เป็นอย่างมาก

ระดับของ อาการแพ้แมลง

ความรุนแรงของอาการแพ้นั้นมักจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับ ดังนี้

อาการแพ้เล็กน้อย

เมื่อถูกแมลงกัดต่อย สำหรับบางคนอาจมีอาการแพ้เพียงเล็กน้อย เช่น เกิดอาการบวม แดงบริเวณที่ถูกต่อย บางคนอาจมีอาการคันรอบ ๆ บริเวณที่ถูกต่อยร่วมด้วย

อาการแพ้ปานกลาง

สำหรับผู้ที่มี อาการแพ้แมลง กัดต่อยในระดับปานกลาง อาการมักจะไม่ต่างจากผู้ที่มีอาการแพ้เล็กน้อย คือมีอาการบวม แดง คันบริเวณที่ถูกต่อยเช่นเดียวกัน แต่อาการบวมอาจกินบริเวณกว้างขึ้น ขยายออกไปนอนบริเวณที่ถูกต่อยเพิ่มขึ้น ที่สำคัญอาการบวมมักจะบวมเพิ่มขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 5-10 วัน

อาการแพ้รุนแรง

ผู้ที่มี อาการแพ้แมลง กัดต่อยอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่มักจะเกิดลมพิษ มีอาการคอบวม ลิ้นบวม คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง บางครั้งอาจเกิดภาวะแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นภาวะอาจส่งผลต่อหลาย ๆ ระบบในร่างกายและอาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่มีภาวะแพ้รุนแรงควรรีบเข้ารับการรักษาในทันที เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต

วิธี บรรเทาอาการแพ้แมลง ระดับต่าง ๆ

บรรเทา อาการแพ้แมลง แบบไม่รุนแรง

เมื่อถูกแมลงกัดต่อยแล้วมี อาการแพ้ ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถบรรเทาอาการเองได้ที่บ้าน

อาการบวม หากเกิดอาการบวมให้ใช้การประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมที่เกิดขึ้น

รับประทานยาแก้ปวด หากเกิดอาการปวดจากการถูกต่อย สามารถรับประทานยาแก้ปวดชนิดที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen)

รับประทานยาแก้แพ้ การรับประทานยาแก้แพ้สามารถบรรเทาอาการคันที่เกิดขึ้นได้ แต่ควรอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ก่อนรับประทานหลีกเลี่ยงการให้ยาแก้แพ้กับเด็ก ๆ หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

บรรเทาอาการแพ้แมลง แบบรุนแรง

สำหรับผู้ที่มี อาการแพ้แมลง อย่างรุนแรง เช่น เกิดลมพิษ หายใจลำบาก ควรฉีดอะดรีนาลีน (Adrenaline) เข้าที่กล้ามเนื้อต้นขา อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือ อิพิเนฟริน (Epinephrine) เป็นยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์สำหรับรักษาผู้ที่มีภาวะแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis)

อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือ อิพิเนฟริน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และทำให้อากาศเข้าได้ง่ายขึ้น เพื่อให้หายใจได้สะดวกและคล่องขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฉีดอะดรีนาลีนแล้วก็ต้องเข้ารักษา เพราะอะดรีนาลีนเป็นยาฉุกเฉินที่มีผลในระยะที่ค่อนข้างสั้น สำหรับผู้ที่มี อาการแพ้แมลง ควรไปพบคุณหมอในทันทีไม่ว่าจะได้รับอะดรีนาลีนในขนาดใดก็ตาม

นอกจากการฉีดอะดรีนาลีนแล้ว สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจต้องฉีดหรือรับประทานยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) เพื่อรักษาอาการแพ้ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Insect Sting Allergy.https://acaai.org/allergies/types/insect-sting-allergy.Accessed, 07 February 2021

Are You Allergic to Insect Stings?.https://www.webmd.com/allergies/insect-stings.Accessed, 07 February 2021

Allergies to Insect Stings.https://www.uofmhealth.org/health-library/rt1285.Accessed, 07 February 2021

Insect Sting Allergy. https://kidshealth.org/en/parents/sting-allergy.html. Accessed July 31, 2023.

Allergies to bites and stings. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/allergies-to-bites-and-stings. Accessed July 31, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/11/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีปฐมพยาบาลอาการแพ้รุนแรง ที่คุณควรรู้ไว้

แมลงสัตว์กัดต่อย (Insect Bites)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/11/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา