backup og meta

เด็กป่วย จาก โรคมะเร็งปอด ผู้ปกครองสามารถดูแลได้อย่างไร

เด็กป่วย จาก โรคมะเร็งปอด ผู้ปกครองสามารถดูแลได้อย่างไร

โรคมะเร็งปอด สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคลทั่วไป รวมถึงเด็กเล็กนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการดูแลเด็กที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดนั้น นับเป็นเรื่องยากและซับซ้อน เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้จิตวิทยาเข้ามาช่วยเสริม ซึ่งก็ยังขึ้นอยู่กับอายุ สภาพแวดล้อม และการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีบทความดี ๆ มาแนะนำสำหรับครอบครัวที่กำลังประสบปัญหาต้องดูแล เด็กป่วย โรคมะเร็งปลอด ให้ผ่านไปได้มาฝากกันค่ะ

ดูแล เด็กป่วย จาก โรคมะเร็งปอด ควรเริ่มจากอะไร

การตรวจพบมะเร็งในระยะแรก จะช่วยทำให้การรักษาง่ายขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่กับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ นอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยในการรักษาแล้ว การให้ความใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญด้วย

หลักสำคัญในการ ดูแลเด็กป่วย เป็นมะเร็งปอด ก็คือ ขั้นแรกก็ต้องจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย โดยอาหารในแต่ละมื้อ ต้องเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปรตีน ไขมันดี ใยอาหาร แป้ง วิตามิน และแร่ธาตุ

นอกจากนี้ก็ควรกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหาร ในปริมาณที่เยอะขึ้นด้วย โดยแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่ให้เขาได้รับประทานในหลาย ๆ มื้อแทน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับพลังงานที่เพียงพอ ในการทำกิจกรรมในแต่ละวันของเขา และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่ด้วย

ในระหว่างที่ให้การรักษา เด็กก็มักจะมีภาวะอ่อนแอได้มากกว่าคนทั่วไป จึงไม่ควรพาเด็กไปยังสถานที่ ที่เต็มไปด้วยมลภาวะ หรือสถานที่ที่มีเชื้อโรคมาก เพราะสถานที่เหล่านั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก ๆ ได้ นอกจากนี้ผู้ดูแลต้องหมั่นทำความสะอาดที่พักอาศัย เครื่องใช้ที่เด็กใช้เป็นประจำ เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยให้สามารถรับการรักษาได้ดีขึ้นได้

นอกจากนี้ ก็ควรสร้างสภาพแวดล้อมทางจิตใจที่ดีให้กับเด็กด้วย โดยเฉพาะสัมพันธภาพระหว่างเด็กและคนใกล้ชิด อย่างเช่น คนในครอบครัว เพื่อนฝูง ครู โดยควรแสดงความรักต่อเด็กอย่างต่อเนื่อง นอกจากโรคที่รุมเร้าเขาก็ทำให้เขารู้สึกใจเสียเพียงพอแล้ว หากได้กำลังใจดี ๆ จากคนรอบข้างจะช่วยให้เขามีกำลังใจในการต่อสู้กับโรค

ให้ความสำคัญทางจิตใจกับเด็ก

โรคมะเร็งในระยะสุดท้าย อาจทำให้เด็กรับรู้ถึงความตายได้ ฉะนั้น นักจิตวิทยาจึงควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กแต่ละวัยด้วย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ดังต่อไปนี้

  • เด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ขวบ เป็นระยะที่เด็กรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมภายนอก รับรู้ถึงพฤติกรรมของตัวเอง และสติปัญหาก็เริ่มพัฒนาขึ้นแล้ว
  • เด็กอายุตั้งแต่ 2-12 ปี มีการเตรียมพร้อม และการกระทำที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงอายุ 2-7 ปี จะเริ่มรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างชีวิตภายในและภายนอกบ้าน แต่ยังมีความคิดที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลอยู่
  • เด็กอายุตั้งแต่ 7-12 ปี อยู่ในช่วงเรียนรู้และจดจำข้อมูลต่าง ๆ คิดแบบมีเหตุผลมากขึ้น และรับรู้ได้ถึงความตาย

สำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงวัยกำลังโตจะมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล จะทำให้พวกเขาเริ่มรับรู้ได้ถึงความรู้สึกต่าง ๆ มีความทะเยอทะยาน และความต้องการต่อโลกภายนอก เด็กที่เป็นโรคมะเร็งปอดทุกคนสามารถผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปได้ แต่อาจขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กร่วมด้วย พร้อมทั้งมีกำลังใจ และความช่วยเหลือจากครอบครัว หรือคนรอบกายที่ดี

ผู้ปกครองต้องเตรียมพร้อมอย่างไร เมื่อเริ่มดูแล เด็กป่วย จาก โรคมะเร็งปอด

รับรู้ความรู้สึกของตัวเอง

เมื่อลูกป่วย ไม่สบาย คนเป็นพ่อแม่ก็จะต้องมีความรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา แต่คุณแม่ต้องรู้ว่าตัวเองกำลังรู้สึกอะไรกันแน่ เสียใจ โกรธ รู้สึกผิด ตกใจ บางคนอาจจะมีอารมณ์หลาย ๆ อย่างปนเปกันเข้ามา แต่ต้องค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับอารมณ์ของตัวเอง เพื่อที่จะได้จัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะระบายให้คนที่ไว้ใจฟัง ออกกำลังกาย หรือทำงานอดิเรกที่คุณชอบ เพื่อที่อารมณ์นั้นจะได้ทุเลาลง

ทำความเข้าใจกับโรค

การรับรู้ และการเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถวางแผนรับมือกับเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย สถานที่ที่ต้องรับการรักษา ผู้ปกครองจึงต้องปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับอาการของลูก เพื่อวางแผนแนวทางในการรักษา หรือเรื่องแหล่งทุนที่จะช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย แหล่งรักษาพยาบาลเฉพาะทางอื่น ๆ

ด้านการเงิน

เรื่องการเงินก็เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับบางครอบครัวที่ทำประกันสุขภาพ และประกันครอบคลุมถึงการรักษา ก็โชคดีไปที่ไม่ต้องจ่ายมากนัก แต่อาจจะมีส่วนเกินที่อาจเกินมา อันดับแรกผู้ปกครองต้องติดต่อที่แผนกการเงินของโรงพยาบาล เพื่อปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะโรงพยาบาลแต่ละที่อาจจะแตกต่างกัน หลังจากนั้นก็เช็กสิทธิต่าง ๆ ที่เรามีเพื่อช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่าย

หากผู้ปกครองท่านใด ต้องการคำนะนำ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กเพิ่มเติม โปรดเข้ารับคำปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์ อย่างแพทย์เฉพาะทาง ตามโรงพยาบาลใกล้แหล่งนี่อยู่อาศัยคุณไดในทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ahuva Morris, LMSW, Caring Advice for Caregivers: Caring for Yourself When Your Child Has Cancer, http://www.lungcancer.org/find_information/publications/301-caring_advice_for_caregivers_caring_for_yourself_when_your_child_has_cancer. Accessed on April 9, 2017

CancerCare, Helping Children When a Family Member Has Cancer, http://www.lungcancer.org/find_information/publications/22-helping_children_when_a_family_member_has_cancer/104-discussing_treatment. Accessed on April 9, 2017

Take Care of Yourself and Your Child With Cancer. https://www.webmd.com/cancer/parent-child-cancer-17/slideshow-care-when-child-has-cancer Accessed on April 9, 2017

Caring Advice for Caregivers: Caring for Yourself When Your Child Has Cancer. https://www.cancercare.org/publications/301-caring_advice_for_caregivers_caring_for_yourself_when_your_child_has_cancer Accessed on April 9, 2017

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/12/2021

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ที่ควรรู้และใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น

การรักษามะเร็งปอด มีกี่วิธี แล้วมีผลข้างเคียงหรือไม่อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 27/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา