backup og meta

ผลกระทบจากการฉายรังสี ในการรักษามะเร็งเต้านม ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ผลกระทบจากการฉายรังสี ในการรักษามะเร็งเต้านม ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

การฉายรังสี เพื่อรักษา โรคมะเร็งเต้านม คือ การฉายแสงพลังงานสูงเพื่อทำลาย หรือสร้างความเสียหาย ให้แก่เซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกาย เช่น บริเวณที่เกิดเนื้องอก หรือต่อมน้ำเหลือง เป้าหมายของวิธี การฉายรังสี เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของมะเร็ง และลดโอกาสที่มะเร็งจะกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคนส่วนใหญ่อาจจะสามารถทนต่อการรักษาด้วย การฉายรังสี ได้ แต่มีบางคนบางกลุ่มที่ได้รับ ผลกระทบจากการฉายรังสี ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของคนไข้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับผลกระทบของ การฉายรังสี ทั้งระยะสั้นและระยะยาวมาให้ได้อ่านกันค่ะ

ผลกระทบจากการฉายรังสี ในการรักษามะเร็งเต้านม

ผลกระทบจากการฉายรังสี ในระยะสั้น

ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ของ การฉายรังสี มักจะเกิดขึ้นหลังจากรักษาไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ และหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจบการรักษาเช่นกัน ผลกระทบจาก การฉายรังสี เพื่อรักษามะเร็งเต้านมที่พบได้ในระยะสั้น มีดังนี้

  • การระคายเคืองที่ผิว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสี จาก การฉายรังสี มักจะเกิดผลข้างเคียงเสมอ ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการรักษา บริเวณผิวหนังอาจจะกลายเป็นสีแดง และปวดแสบปวดร้อน คล้ายโดนแดดเผา ความรุนแรงของอาการระคายเคืองผิวหนัง จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับผิวหนังและบริเวณที่ทำ การฉายรังสี แต่อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะท้าย ๆ ของการรักษา ในบางกรณี บริเวณที่ได้รับ การฉายรังสี เช่น หลัง หรือหน้าอก มักจะเกิดอาการแดงหรือปวด ผู้ป่วยควรจะแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที
  • อาการเหนื่อยล้า อาการเหนื่อยล้าเป็นอีกหนึ่งในผลข้างเคียงที่มักจะเกิดขึ้นจาก การฉายรังสี และส่วนใหญ่จะหายไปในสองสามสัปดาห์ของการรักษาครั้งสุดท้าย
  • ความเครียด ระยะเวลาในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่ใช้เวลาที่ยาวนาน อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน และความรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ได้ จนทำให้เกิดความเครียดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือเดินทางมารักษาไม่สะดวก อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยหน่ายกับการเดินทาง เหนื่อยล้าจากสิ่งที่ต้องเผชิญ จนทำให้เกิดความเครียด และกระวนกระวายได้มากกว่าเดิม
  • ปัญหาต่อเส้นขนบนร่างกาย แม้การรักษาด้วย การฉายแสง จะไม่ทำให้เกิดอาการผมร่วง แต่คนไข้บางคน อาจจะเกิดการสูญเสียเส้นขนบางส่วน เช่น บริเวณแขนหรือหน้าอก ที่เกิดจาก การฉายรังสี

ผลกระทบจากการฉายรังสีในระยะยาว

หลังจากที่ได้รับการรักษาแล้ว คนไข้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะรูปร่าง หรือการทำงานของอวัยวะภายใน เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก การฉายรังสี เอ็กซเรย์ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม

  • ภาวะบวมน้ำเหลือง ผู้หญิงบางคนที่เคยผ่าตัดบริเวณรักแร้ มักจะเกิดอาการบวมที่แขน หลังจากรับ การฉายรังสี ในปัจจุบันนี้ผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้ให้ผ่าตัด หรือฉายรังสีบริเวณรักแร้แล้ว เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลือง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็งได้
  • หายใจติดขัด ในกรณีที่หาได้ยาก คนไข้อาจมีอาการไออย่างต่อเนื่อง หรือหายใจติดขัด ได้อีกหลายปีหลังจากการฉายรังสี เนื่องจากการฉายรังสีนั้น สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ในเนื้อเยื่อที่ปอด เรียกว่า พังผืดจากการฉายรังสี
  • ปัญหาเกี่ยวข้องกับหัวใจ ในกรณีที่หาได้ยาก คนที่ผ่านการฉายรังสีบริเวณหน้าอกด้านซ้าย อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่หัวใจได้ในหลายปีถัดมา
  • ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดมะเร็งชนิดอื่น การฉายรังสีเป็นเวลานาน สามารถสร้างความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น ในหลายปีให้หลัง เนื่องจากรังสีได้ไปทำลายเนื้อเยื่อที่ดี และระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย

ก่อนรับการรักษาด้วยวิธี การฉายรังสี ผู้ป่วยควรปรึกษากับทีมแพทย์ที่ดูแลให้ดีว่า มีผลอะไรบ้างในอนาคต เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรู้ถึงอาการที่อาจจะต้องเจอและอาจจะเกิดขึ้นภายหลัง ทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และมีสุขภาพชีวิตและความแข็งแรงตามลำดับ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Effects of breast cancer radiation on the body. http://www.healthline.com/health/breast-cancer/radiation-effects-on-body . Accessed December 22, 2016.

Breast cancer radiotherapy side effects. http://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/type/breast-cancer/treatment/radiotherapy/breast-cancer-radiotherapy-side-effects. Accessed December 22, 2016.

Side effects of radiation therapy. http://ww5.komen.org/BreastCancer/SideEffectsofRadiationTherapy.html. Accessed December 22, 2016.

Long-term side effects of radiation therapy. http://www.cancer.org/treatment/treatmentsandsideeffects/treatmenttypes/radiation/understandingradiationtherapyaguideforpatientsandfamilies/understanding-radiation-therapy-long-term-side-effects . Accessed December 22, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/04/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ชลธิชา จันทร์วิบูลย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษามะเร็งเต้านมด้วย การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นอย่างไร

การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน อีกหนึ่งการ วินิจฉัย มะเร็งเต้านม ที่ควรรู้จัก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 19/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา