มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ยาก จัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งของหลอดเลือด ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน เฮอร์ปีส์ชนิดที่ 8 (Human Herpesvirus 8 หรือ HHV-8) มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ นอกจากนี้ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าสู่ระยะของโรคเอดส์แล้ว
คำจำกัดความ
มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) คืออะไร
มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ยาก จัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งของหลอดเลือด ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน เฮอร์ปีส์ชนิดที่ 8 (Human Herpesvirus 8 หรือ HHV-8) มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ นอกจากนี้ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าสู่ระยะของโรคเอดส์แล้ว
อย่างไรก็ตามหากคุณป่วยเป็น โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา นั้นไม่ได้แสดงว่าคุณเป็นโรคเอดส์ เพราะโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีสุขภาพดีเช่นกัน
โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา พบได้บ่อยเพียงใด
ผู้ที่ป่วยเป็น โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา พบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ
อาการ
อาการ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา
ผู้ป่วย โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ไม่ได้มีอาการแสดงปรากฏออกมาให้เห็นทุกคน โดยอาการเบื้องต้นส่วนใหญ่ผิวหนังของผู้ป่วยจะมีรอยแดง มีสีม่วง สีชมพู หรือสีแดง ขึ้นบริเวณผิวหนัง เช่น ใบหน้า รอบจมูก ปาก อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก รอยโรคดังกล่าวมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไป ในเวลาต่อม าอาจทำให้มีเลือดออกหรือแผลพุพองขึ้นบริเวณผิวหนัง
อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบอวัยวะภายในร่างกายเช่นกัน เช่น ปอด ตับ ลำไส้ ถึงแม้ว่าโดยส่วนใหญ่จะเกิดผลกระทบต่อผิวหนังก็ตาม
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา
โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ส่วนใหญ่มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน เฮอร์ปีส์ชนิดที่ 8 (Human Herpesvirus 8 หรือ HHV-8) ซึ่งสาเหตุของ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- ความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งคาโปซิซาร์โคมากับการติดเชื้อเอชไอวี Epidemic (AIDS-Associated) Kaposi Sarcoma
โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา พบบ่อยในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) ซึ่งจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับชายมากกว่าเพศหญิงโดยทั่วไปจะมีรอยแผลที่ขา ข้อเท้า หรือ ฝ่าเท้า
- มะเร็งคาโปซิซาร์โคมาชนิดที่พบในผู้ป่วยประเทศแอฟริกา Endemic (African) Kaposi Sarcoma
โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา พบได้บ่อยในผู้ป่วยประเทศแอฟริกามากกว่าประชากรประเทศอื่น ๆ เนื่องจาก ประชากรส่วใหญ่ในประเทศมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ สาเหตุมากจากโรคมาลาเรีย การขาดสารอาหาร ที่อาจนำไปสู่การเป็น โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี โดยเฉพาะในวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิด โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา
- มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Classic Kaposi Sarcoma)
โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา มักพบในผู้สูงอายุเพศชายแถบยุโรปตะวันออกเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง แต่รอยโรคชนิดนี้จะมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดอื่นๆ
- ความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งคาโปซิซาร์โคมากับการปลูกถ่ายอวัยวะ Iatrogenic (transplant-related) Kaposi sarcoma
ผู้ที่ทำการปลูกถ่ายอวัยวะอาจเกิดการติดเชื้อจนก่อเป็น โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ได้ ทั้งนี้ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายต่อต้านอวัยวะใหม่
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
- ผู้ทีทำการปลูกถ่ายอวัยวะ
- ประชากรเชื้อชาติแอฟริกา
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา
การวินิจฉัยมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ในเบื้องต้น แพทย์จะทำการสอบถามประวัติและตรวจรอยโรค เพื่อหาอาการผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนในการหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อทำการวินิจฉัยโรค รวมถึงวิธีการอื่น ๆ ดังนี้
- การทำซีที สแกน (Computerized Tomography Scan : CT SCAN) หรือ เอกซเรย์ (X-Ray) บริเวณหน้าอกและหน้าท้อง
- การส่องกล้องตรวจบริเวณหลอดลม (Bronchoscopy)
- ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Endoscopy)
การรักษามะเร็งคาโปซิซาร์โคมา
การรักษาโรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา จะคล้ายกับการรักษามะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้
- การรักษาเฉพาะที่ (Local Therapy)
- การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation Therapy)
- การรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy)
- การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ได้
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง เพื่อรับมือ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา