backup og meta

Fasting blood sugar คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

Fasting blood sugar คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

Fasting blood sugar (การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร) คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่จะช่วยให้ทราบค่าน้ำตาลว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งช่วยประเมินได้ว่าเข้าข่ายภาวะก่อนเบาหวานหรือเป็นโรคเบาหวานแล้ว เพื่อให้ทราบความเสี่ยงทั้งต่อโรคเบาหวาน และรวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

[embed-health-tool-bmi]

Fasting blood sugar คืออะไร

Fasting blood sugar คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งจะประเมินได้ว่าร่างกายสามารถจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ดีแค่ไหน

การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • มีภาวะก่อนเบาหวานน้ำหนักเกิน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  • มีโรคร่วม เช่น โรคหลอดเลือดสมองเเละหลอดเลือดหัวใจ โรคไต โรคถุงน้ำในรังไข่
  • เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ คลอดทารกตัวโต
  • ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานเช่น ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนล้าผิดปกติ ปลายเท้าชา แผลหายช้า
  • ผู้ที่กำลังเป็นโรคเบาหวาน

ความสำคัญของ Fasting blood sugar คืออะไร

การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง นับเป็นการตรวจมีความสำคัญทางสุขภาพ เนื่องจากทำให้ทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ และมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมากน้อยเพียงใด ทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคเบาหวานได้ตั้งเเต่เนิน ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยที่ไม่ต้องรอให้มีอาการแสดงใด ๆ ของโรคเบาหวาน และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน ต้อหิน เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

นอกจากนี้ คุณหมอยังใช้การตรวจ ​Fasting blood sugar ในการติดตามการรักษา ว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมากน้อยเพียงใด และยังเป็นข้อมูลในการปรับการรักษาให้เหมาะสมอีกด้วย

การวัด Fasting blood sugar ทำอย่างไร

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด Fasting blood sugar หรือระดับน้ำตาลหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เเนะนำให้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลจะดีที่สุดเนื่องจากจำเป็นต้องตรวจเลือดโดยการเจาะจากเส้นเลือดดำของร่างกาย (เช่น การเจาะเลือดจากบริเวณข้อพับเเขน) ซึ่งควรทำโดยบุคคลากรทางการเเพทย์ เช่น คุณหมอ หรือ คุณพยาบาล เเละนอกจากนี้ การตรวจที่แปลผลได้เเม่นยำยังควรใช้เครื่องตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากต้องการทราบผลเบื้องต้น อาจประยุกต์โดยทำการตรวจเองที่บ้านด้วยการเเปลผลระดับน้ำตาลปลายนิ้วเเทน ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ การตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วมีวิธีการเบื้องต้นดังนี้

  1. งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  2. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้ง
  3. เตรียมชุดเข็มอุปกรณ์สำหรับเจาะเลือดปลายนิ้ว เปิดเปิดเครื่องตรวจระดับน้ำตาลและนำแถบทดสอบระดับน้ำตาลสอดเข้ากับเครื่องตรวจ
  4. ทำความสะอาดบริเวณปลายนิ้วที่จะเจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์
  5. ใช้เข็มสำหรับเจาะเลือดปลายนิ้ว เจาะเลือดที่ปลายนิ้วมื้อ หลัง จากนั้นบีบบริเวณปลายนิ้วเบา ๆ เพื่อให้เลือดหยดลงบนแถบทดสอบ
  6. ค่าระดับน้ำตาลจะแสดงบนหน้าจอเครื่องตรวจ

หลังจากตรวจเสร็จแล้วสามารถอ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ภาวะก่อนเบาหาวาน หรือ เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นต้นไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

 Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444.Accessed October 06, 2022

Diabetes Tests. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/getting-tested.html.Accessed October 06, 2022

Diabetes Tests. https://medlineplus.gov/lab-tests/diabetes-tests/.Accessed October 06, 2022

Blood sugar testing: Why, when and how. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/blood-sugar/art-20046628.Accessed October 06, 2022

How and When to Test Your Blood Sugar With Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/how-test-blood-glucose.Accessed October 06, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการรักษาเบาหวาน มีอะไรบ้าง

เบาหวาน ใน เด็ก ต่างจากเบาหวานในผู้ใหญ่อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา