backup og meta

น้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

น้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

น้ำตาลในเลือดสูง เป็นสาเหตุที่อาจนำไปสู่โรคเบาหวาน หรือทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการแย่ลง และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ เส้นประสาทเสียหาย ไตวาย ดังนั้น จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ออกกำลังกายสม่ำอย่างเสมอ และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

น้ำตาลในเลือดสูง คืออะไร

น้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จากค่าปกติที่ควรอยู่ประมาณ 99-140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่กระทบต่อสุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น

น้ำตาลในเลือดสูง มีสาเหตุจากอะไร

สาเหตุที่ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง อาจเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เช่น ข้าวขาว พาสต้า ขนมหวาน ของทอด โดยปกติอาหารจำพวกแป้งและคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสสะสมอยู่ในกระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แต่หากรับประทานมากเกินไป อาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงได้

นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่เข้าทำลายเซลล์ในตับอ่อน ส่งผลให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อการจัดการกับน้ำตาลในเลือด มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรืออาจเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะอินซูลินมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงทำให้อาการเบาหวานแย่ลง ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มฉีดอินซูลินเพิ่มหรือรักษาด้วยยาลดน้ำตาลในเลือด

ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่

  • การใช้ยาอินซูลินหรือยารักษาเบาหวานไม่ถูกวิธี ทำให้ร่างกายได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ
  • การไม่ปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหารที่กำหนดไว้ เช่น รับอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ไม่รับประทานผักผลไม้
  • มีอาการป่วย การติดเชื้อ หรือพักรักษาตัวหลังการผ่าตัดเป็นเวลานาน
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • การใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์

น้ำตาลในเลือดสูง มีอาการอย่างไร

อาการของน้ำตาลในเลือดสูง อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเกินกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ที่ส่งผลให้มีอาการดังต่อไปนี้

  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะบ่อย
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว
  • เหนื่อยล้าง่าย
  • บาดแผลหายช้า
  • ท้องผูก ท้องร่วง
  • การติดเชื้อที่ผิวหนังและช่องคลอด
  • ปวดศีรษะ

หากน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องอาจเสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรด ที่ทำให้มีอาการ ดังนี้

  • ผิวแห้งและปากแห้ง
  • หายใจเร็ว
  • ลมหายใจอาจมีกลิ่นเปรี้ยว คล้ายผลไม้
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย

ควรเข้าพบคุณหมอทันที หากสังเกตว่ามีอาการท้องร่วง อาเจียนรุนแรง มีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง และระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยไม่ลดลง ถึงแม้ว่าจะรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือยารักษาเบาหวานแล้วก็ตาม

น้ำตาลในเลือดสูงส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

น้ำตาลในเลือดสูงอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการ ดังนี้

  • โรคเบาหวาน
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เส้นประสาทเสียหายที่ส่งผลให้มือชาและเท้าชา
  • ไตทำงานผิดปกติ หรือไตวาย
  • จอประสาทตาเสื่อม ที่อาจส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลง และเสี่ยงเป็นต้อกระจก ที่อาจนำไปสู่อาการตาบอดได้
  • ปัญหาข้อต่อและกระดูก เช่น กระดูกเปราะบาง กระดูกหัก หรือรู้สึกปวดข้อ

วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจทำได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยอาจขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อวางแผนโภชนาการอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพ ซึ่งควรเน้นการรับประทานผักและผลไม้ อาหารที่มีไขมันต่ำและมีไขมันดีสูง เช่น กะหล่ำ มะเขือเทศ มะเขือม่วง หัวหอม ผักโขม คะน้า ถั่วลันเตา อะโวคาโด ปลาแซลมอน น้ำมันมะกอก ไข่ และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • จำกัดปริมาณการรับประทานอาหารประเภทแป้ง ไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำมันหมู เนย ชีส ขนมหวาน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ปกติแล้วในแต่ละวันร่างกายควรได้รับน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 24 กรัม/วัน หรือ 4-6 ช้อนชา
  • ออกกำลังกาย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอาจช่วยกระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาลเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน ที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ดื่มน้ำให้มาก เพื่อให้ร่างกายช่วยขับน้ำตาลในเลือดออกในรูปแบบปัสสาวะ
  • คลายเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง นอนหลับพักผ่อน เล่นโทรศัพท์ ออกกำลังกาย และเล่นเกม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High Blood Sugar and Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/guide/diabetes-hyperglycemia.Accessed August 4, 2022.

Hyperglycaemia (high blood sugar). https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-sugar-hyperglycaemia/.Accessed August 4, 2022.

Manage Blood Sugar. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/manage-blood-sugar.html.Accessed August 4, 2022.

Hyperglycemia in diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperglycemia/symptoms-causes/syc-20373631.Accessed August 4, 2022.

How to Bring Down High Blood Sugar Levels. https://www.diabetes.co.uk/how-to/bring-down-high-blood-sugar-levels.html.Accessed August 4, 2022.

Diabetes & Diet: 7 Foods That Control Blood Sugar. https://www.webmd.com/diabetes/diabetic-diet-6-foods-control-blood-sugar.Accessed August 4, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน เหงื่อออกมาก สาเหตุ การรักษาและการดูแลตัวเอง

อาการน็อคเบาหวาน คืออะไร อันตรายหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา