backup og meta

ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด และวิธีการรับมือ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

    ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด และวิธีการรับมือ

    อินซูลิน (Insulin) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน นับเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด โดยอินซูลินแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงวิธีการใช้อินซูลินอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการใจสั่น มือสั่น ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากรับมืออย่างไม่เหมาะสม

    เหตุใดผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จึงต้องฉีดอินซูลิน?

    แม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีสาเหตุหลัก ๆ จากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน มิได้ขาดฮอร์โมนอินซูลินดังเช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แต่อย่างไรก็ตามก็มีผูู้้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องใช้ยาฉีดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ร่วมด้วย เช่น ผู้ที่รับประทานยาเม็ดแล้วไม่ได้ผล หรือ ยังไม่สามารถลดระดับน้ำตาลลงได้ตามเป้าหมาย หรือ อาจมีภาวะสุขภาพอื่น/โรคร่วม ที่เป็นข้อจำกัดของยาชนิดรับประทาน รวมทั้งผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินควบคุมให้ดีช่วงแรกก่อน  

    ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด มีอะไรบ้าง

    ผลของการใช้อินซูลินเกินขนาด อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้

    • อาการสับสน มึนงง
    • อาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายวิตกกังวล
    • วิงเวียน/ปวดศีรษะ
    • เหงื่อออกมาก ตัวเย็น
    • ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
    • หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
    • มือสั่น 
    • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง

    วิธีรับมือผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด

    การใช้ยาอินซูลินเกินขนาด อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากจนเกินไป  ดังนั้น หากมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จึงควรรีบเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว โดยสามารถทำได้ดังวิธีต่อไปนี้

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • รีบรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้รสหวาน ขนมหวาน ลูกอม น้ำผึ้ง น้ำตาล ลูกเกด
  • หลังจากรับประทานอาหารข้างต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรพักผ่อนให้ร่างกายได้ฟื้นตัว  
  • หลังรับประทานอาหาร ประมาณ 15 นาที ให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง ว่าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นสูงกว่า 80 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แล้วหรือไม่ หากยังไม่สูงกว่า 80 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้รับประทานอาหารเช่นเดิมแล้วตรวจเลือดซ้ำอีกครั้ง แต่หากระดับน้ำตาลในเลือดยังคงต่ำ ให้รีบไปพบคุณหมอทันที
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา