backup og meta

เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร

เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ภาวะเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้หลอดเลือดในจอประสาทตาเสียหาย เบาหวาน ขึ้น ตา อาจมีอาการ ได้แก่ สายตาพร่ามัว ปวดตา ตาแดง การมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้ตาบอดได้

[embed-health-tool-bmi]

เบาหวาน ขึ้น ตา เกิดจาก อะไร

เบาหวานขึ้นตาเกิดเนื่องจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายอย่างเรื้อรัง เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เนื่องจากทำให้เส้นเลือดในจอประสาทตาเปราะเสี่ยงต่อการเเตก/รั่วซึม เเละยังอุดตันได้ง่ายทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลให้มีการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่เส้นเลือดใหม่มักจะเปราะไม่เเข็งเเรงและแตกง่าย ทำให้มีเลือด ของเหลว หรือไขมันรั่วซึม เกิดเป็นพังผืดดึงรั้งจอตาจนหลุดลอกออก เเละยังอาจทำให้จอตาบวมน้ำ ซึ่งหากเกิดบริเวณจุดภาพชัด (macular) อาจทำให้มีอาการตามัว การมองเห็นแย่ลง หากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จอประสาทตาอาจเสื่อมลงเรื่อย ๆ ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้

เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร

เบาหวานขึ้นตาในระยะเเรก มักจะไม่มีอาการใด ๆ เเสดงให้สังเกตได้ชัดเจน บางรายอาจสังเกตว่าตัวเองมีการมองเห็นที่ผิดปกติไปจากเดิม โดยอาการอาจเป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นอยู่กับระดับของน้ำตาลในเลือดในขณะนั้น หากมีน้ำตาลในเลือดสูงก็อาจมีอาการที่สังเกตได้ชัดเจนกว่า

เบาหวาน ขึ้น ตา อาการอาจมีดังนี้

  • สายตาพร่ามัว
  • ตาแดง
  • จอตาลอก
  • มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
  • มองเห็นจุดดำ ๆ หรือเห็นเป็นเส้นคล้ายหยากไย่ลอยในลานสายตา
  • ปวดตา หรือมีความดันในตาสูง
  • มีจุดเลือดออกหรือมีโปรตีนรั่วไหลในตา
  • สูญเสียการมองเห็น

การรักษาอาการ เบาหวาน ขึ้น ตา

การรักษาเบาหวาน ขึ้น ตา นั้นจะขึ้นอยู่กับอาการ ระยะความรุนเเรงของโรค ภาวะสุขภาพทั่วไป หากคุณหมอตรวจพบความผิดปกติของดวงตาตั้งแต่ระยะเเรรก ๆ คุณหมอจะแนะนำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายควบคู่ไปกับการรักษาโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต เพื่อป้องกันมิให้อาการของเบาหวานขึ้นตาพัฒนารุนเเรงมากขึ้น

โดยทั่วไป การรักษาอาการเบาหวานขึ้นตา มี 3 วิธีหลักๆ ต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser surgery) เลเซอร์จะช่วยให้หลอดเลือดที่ผิดปกติฝ่อตัวลงและสมานเส้นเลือดที่รั่วซึม จึงสามารถช่วยป้องกันมิให้ของเหลว เลือด หรือไขมันรั่วเข้าสู่จอตาข วิธีนี้ใช้สำหรับรักษาเบาหวานขึ้นตาในระยะที่มีการสร้างเส้นเลือดใหม่บริเวณจอประสาทตาแล้ว และในบางกรณีก็อาจรักษาภาวะจอตาบวมน้ำที่บริเวณจุดภาพชัด (macular) ได้เช่นกัน การรักษาด้วยลเซอร์วิธีที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย
  • การรักษาด้วยยาฉีด (Injections) เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่ (Anti-vascular endothelial growth factor) เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเส้นเลือดที่ผิดปกติบริเวณจอประสาทตาและเพื่อรักษาภาวะจอตาบวมน้ำ ทั้งนี้ การฉีดยาเข้าลูกตา จะทำด้วยความระมัดระวังจากคุณหมอจักษุเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เเต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจมีผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ตาอักเสบติดเชื้อ เลือดออกในวุ้นตา จอตาลอก แต่พบได้น้อยมาก
  • การผ่าตัดวุ้นลูกตา (Vitrectomy) เป็นวิธีที่ใช้เพื่อช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น และกำจัดวุ้นลูกตาบางส่วนเเละเนื้อเยื่อพังผืดที่ดึงรั้งให้จอตาลอกออก และฉีดสารทดเเทนทางการเเพทย์เพื่อให้จอตากลับไปอยู่ที่ตำแหน่งเดิม ซึ่งอาการจะกลับมาดีขึ้นได้มากน้อยเพียงใดนั้นมักขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคซึ่งแตกต่างกันไปในเเต่ละรายด้วย

อาการเบาหวานขึ้นตาส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มาเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อเส้นเลือดเเละอวัยวะภายในดวงตาให้ได้รับความเสียหายดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานทุกรายจึงควรใส่ใจสุขภาพของตัวเอง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงระดับน้ำตาลสะสมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นตาและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะประสาทส่วนปลายเสื่อม

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันเบาหวานขึ้นตา

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันเบาหวานขึ้นตา สามารถปฏิบัติวตามคำแนะนำเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต คอเลสเตอรอล ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามที่คุณหมอเเนะนำอยู่เสมอ
  • หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อทราบถึงระดับน่ำตาลในชีวิตประจำวันของตน เพื่อให้สามารถปรับเเนวทางการรักษา รวมไปถึงปรับพฤติกรรมสุขภาพได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยในผู้ที่อาจมีโรคร่วม หรือ มีภาวะสุขภาพอื่นๆ ร่วมด่วย อาจขอคำปรึกษาจากคุณหมอเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมเเละปลอดภัย
  • ไปพบคุณหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานขึ้นตาเป็นประจำทุกปี ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้เร็วและป้องกันการลุกลามของภาวะเบาหวานขึ้นตาได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetic retinopathy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-retinopathy/symptoms-causes/syc-20371611. Accessed May 5, 2023

Diabetic retinopathy. https://www.nhs.uk/conditions/diabetic-retinopathy/. Accessed May 5, 2023

Diabetic Retinopathy. https://www.nei.nih.gov/learn-about-eye-health/eye-conditions-and-diseases/diabetic-retinopathy. Accessed May 5, 2023

Diabetic Retinopathy. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/diabetes/diabetic-retinopathy. Accessed May 5, 2023

Diabetic retinopathy. https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/diabetes/diabetic-retinopathy. Accessed May 5, 2023

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy). https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=919#:~:text=%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94,%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%20(macular%20ischemia)%20%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87. Accessed May 5, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/06/2023

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

10 อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อาการเบาหวานขึ้นเป็นอย่างไร วิธีดูแลผู้ป่วยเบาหวาน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 13/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา