backup og meta

แผลเบาหวาน เท้าดำ อันตรายหรือไม่ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

แผลเบาหวาน เท้าดำ อันตรายหรือไม่ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

แผลเบาหวาน เท้าดำ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอย่างเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสื่อมเเละตีบตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะส่วนปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปลายเท้าได้ตามปกติ เท้าจึงมีสีดำคล้ำจากการขาดเลือด อีกทั้งหากมีภาวะเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ผู้ป่วยจะมีอาการเท้าชาร่วมด้วย ทำให้เกิดแผลบริเวณเท้าได้ง่ายขึ้น หากมีการติดเชื้ออาจทำให้ลุกลามเกิดเนื้อตายมากขึ้นและอาจทำให้ต้องตัดเท้า-ขา ทั้งนี้ ภาวะดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยหมั่นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมอยู่เสมอ ตรวจดูสุขภาพเท้าและทำความสะอาดเท้าของตนเป็นประจำเพื่อป้องกันรวมถึงหากมีแผลจะได้รีบทำการรักษาตั้งเเต่เนิน ๆ 

[embed-health-tool-bmi]

แผลเบาหวาน และอาการเท้าดำ เกิดขึ้นได้อย่างไร

แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี  แผลมักหายช้ากว่าปกติและหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อเเละลึกจนถึงกระดูก

แผลเบาหวานมักเกิดขึ้นที่เท้า โดยมีสาเหตุมาจากการมีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสื่อมและมีไขมันสะสมในผนังของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เลือดจึงไหลเวียนไปยังอวัยวะส่วนปลายเช่นขาหรือเท้าได้น้อยกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นๆ บริเวณขาดเลือด เเละกลายเป็นเนื้อตายในที่สุด โดยที่แผลเนื้อตายจะมีสีดำ จึงทำให้พบว่า ผู้ป้วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี จนเกิดภาวะนี้มีนิ้วเท้าบางนิ้วดำ บางรายลุกลามจนทำให้เท้ากลายเป็นสีดำทั้งเท้าเนื่องจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง

นอกจากนี้ เมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ตามปกติจึงทำให้แผลเบาหวานหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถเข้าถึงบาดแผลได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อนอีกด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ คือ เส้นประสาทเสื่อมจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเท้าชา รับความรู้สึกได้ลดลงจึงไม่ทันรู้ตัวว่าเท้าเป็นแผลหรือมีรอยขีดข่วน จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น

วิธีรักษา แผลเบาหวาน เท้าดำ

คุณหมออาจมีวิธีรักษาคำแนะนำต่อไปนี้

แผลเบาหวาน 

  • แนะนำให้ลดการเดินหรือลงน้ำหนักเท่าที่จำเป็น อาจใช้ไม้เท้าหรือรถเข็นช่วย ในช่วงที่แผลยังไม่หายดี เพือลดเเรงกดทับไปยังเเผลซึ่งอาจทำให้เเผลหายช้า หรือทรุดลงกว่าเดิม
  • ทำแผลและให้ยาฆ่าเชื้อ คุณหมอจะทำเเผล ในกรณีที่มีหนองคุณหมอจะระบายหนองออก รวมถึงตัดเนื่อเยี่อที่ตายบางส่วนออก รวมถึงจ่ายยาฆ่าเชื้อให้รับประทาน
  • หากที่เท้ามีตาปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดเเผลกดทับ คุณหมอมักผ่าตัดตาปลาออก รวมไปถึงหากผู้ป่วยบางรายมีเท้าผิดรูป เช่น เท้าเเบน/เอียงหรือมีกระดูกยื่น คุณหมอจะเเนะนำให้ตัดรองเท้าที่เหมาะสมกับรูแปเท้า เผื่อป้องกันการเสียดสีรวมถึงการกดทับซึ่งอาจทำให้เกิดแผลตามมาได้

เท้าดำ เนื่องจากเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงได้ไม่เพียงพอ จนเนื้อเยื่อส่วนดังกล่าวขาดเลือด เเละเกิดเนื้อตาย

  • ตัดเท้า คุณหมออาจจำเป็นต้องตัดเนื่อเยื่อส่วนที่ตายออก ซึ่งอาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า ไปจนถึงขาเพื่อป้องกันมิให้ลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง  อย่างไรก็ตามหากไม่จำเป็นคุณหมอจะไม่ตัดสินใจผ่าตัด อาจให้การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ก่อน 
  • ผ่าตัดหลอดเลือดที่ตีบแคบหรืออุดตัน เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปถึงขาหรือเท้าได้ดีขึ้นหรือเป็นปกติ
  • การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Chamber) เป็นการเพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนไปยังบาดแผล ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดและเนื้อเยื่อใหม่มาสมานแผล รวมถึงช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อโรค ทำให้เเผลหายได้ดีขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นแผลเบาหวานหรือเท้าดำจาก สิ่งที่ผู้ป่วยทุกคนควรดูเเลตนเองให้ดีคือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายอย่าเคร่งครัด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคหัวใจ ที่อาจทำให้สุขภาพโดยรวมทรุดลง

วิธีป้องกัน แผลเบาหวาน และอาการเท้าดำ

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูเเลตนเองเพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลเบาหวานหรืออาการเท้าดำได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  • หมั่นตรวจเท้าของตัวเองสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแผลหรือรอยถลอกใด ๆ
  • หากเป็นแผล ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือทางการเเพทย์หรือน้ำต้มสุกที่สะอาด รวมถึงอาจใช้แอลกอฮอล์ หรือ ยาฆ่าเชื่อเบตาดีนเช็ดรอบเเผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และควรเช็ดเท้าให้แห้งอยุ่เสมอ หลีกเลี่ยงการปล่อยให้เท้าอยู่ในสภาพอับชื้นเป็นเวลานาน
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพเท้าปีละ 1 ครั้ง
  • สวมถุงเท้าและรองเท้าตลอดเวลา เเนะนำให้ใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าสำหรับใส่ภายใน ตลอดเวลาเเม้จะอยุ่ที่บ้าน เพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลจากการกระเเทกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผุ้ป่วยอาจไม่ทันรุ้สึก
  • เลือกสวมรองเท้าที่ไม่แน่นหรือรัดเกินไป เพื่อลดการเสียดสี ซึ่งอาจทำให้เกิดเเผลตามมาได้
  • หากมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับเท้า เช่น เท้าชา เท้าเย็นกว่าปกติ เท้าเปลี่ยนสี แผลที่เท้ามีหนองให้รีบไปพบคุณหมอเพือรับการรักษาที่เหมาะสมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการบริโภคอาหารกลุ่มเเป้ง-น้ำตาล นอกจากนี้ควรรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามคำเเนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดเเข็งและตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงเท้าได้ไม่สะดวก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Frequently Asked Questions: Diabetic Foot Ulcers. https://www.uofmhealth.org/conditions-treatments/podiatry-foot-care/frequently-asked-questions-diabetic-foot-ulcers#:~:text=What%20Is%20a%20Diabetic%20Foot,or%20other%20ulcer%2Drelated%20complication. Accessed September 16, 2022

Diabetic Foot Ulcers: Prevention, Diagnosis and Classification. https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/1998/0315/p1325.html. Accessed September 16, 2022

How to Care for Diabetic Ulcers and Sores. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-sores-ulcers-care. Accessed September 16, 2022

Diabetes – foot ulcers. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000077.htm. Accessed September 16, 2022

Gangrene. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gangrene/symptoms-causes/syc-20352567#:~:text=Gangrene%20is%20death%20of%20body,body%2C%20such%20as%20the%20gallbladder. Accessed September 16, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/10/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า ทำได้อย่างไรบ้าง

แผลเบาหวาน ตัดขา เกิดจากอะไรได้บ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา