โรคเบาหวาน เป็นภาวะเรื้อรังที่ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยยังคงมีสุขภาพที่ดี อาการไม่ให้ทรุดลงและเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ การควบคุมโรคเบาหวานนั้น สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร่วมกับการรักษาด้วย ยา แก้ เบาหวาน ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาตามะภาวะสุขภาพเเละความเหมาะสมของของผู้ป่วยเเต่ละราย
[embed-health-tool-bmi]
โรคเบาหวานเกิดจากอะไร
โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในร่างกายสูงกว่าปกติ เกิดจากเซลล์ของตับอ่อน ชื่อ เซลล์เบต้า (Beta Cells) ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ถูกทำลาย ทั้งอาจมาจากระบบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเอง หรือ การเจ็บป่วย/การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนกับตับอ่อน จึงส่งผลให้อินซูลินไม่เพียงพอในการจัดการสมดุลนำ้ตาลในเลือด เกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือหากเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินผิดปกติไป ก็จะทำให้ไม่สามารถนำนำ้ตาลในเลือดมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้ระดับน้ำตาลสูง นำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามมา
ยาแก้เบาหวาน มีอะไรบ้าง
ยา แก้ เบาหวาน หรือยารักษาโรคเบาหวาน คือยาที่มีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ ซึ่งเป็นหลัก ๆ เป็น 2 กลุ่ม คือ ยาฉีดอินูลิน เเละ ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน
อินซูลิน เป็นยาในรูปเเบบของยาฉีด โดยผู้ป่วยสามารถได้ด้วยตนเองที่บ้าน จะเป็นการฉีดเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่ตำเเหน่งหน้าท้อง ต้นเเขน หรือ ต้นขา ยาฉีดอินซูลินที่ใช้ในปัจจุบันจะเป็นอินซูลินสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์เสมือนกับอินซูลินที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ ดังนี้
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่นาทีหลังจากฉีด และออกฤทธิ์นาน 3-5 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที เหมาะสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน
- อินซูลินออกฤทธิ์ปกติ/สั้น (Regular or Short-acting Insulin) จะเริมออกออกฤทธิ์หลังฉีดภายใน 30 นาที และออกฤทธิ์นานประมาณ 5-8 ชั่วโมง จีงควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาที เเละ เหมาะสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารเช่นกัน
- อินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate-acting Insulin) ออกฤทธิ์ภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์นาน 10-12 ชัวโมง จีงสามารถฉีดวันละ 1-2 ครั้ง มักใช้ฉีดร่วมกับอินซูลินออกฤทธิ์สั้น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย
- อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์ต่อเนื่องยาวนาน 24 ชั่วโมง จึงใช้ฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง เเละอาจใช้ร่วมกับอินซูลินออกฤทธิ์เร็วหรือบางครั้งใช้ร่วมกับยาเม็ดลดน้ำตาลได้เช่นกัน
ยาลดระดับน้ำตาลชนิดรับประทาน
- ยาเมตฟอร์มิน (Metformin) เป็นยาที่ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพื่อช่วยให้เซลล์ในร่างกายสามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น
- เอสจีแอลที ทู อินฮิบิเตอร์ (SGLT2 Inhibitors) เช่น คานากลิโฟลซิน (Canagliflozin) ดาพากลิโฟลซิน (Dapagliflozin) และเอ็มพากลิโฟลซิน (Empagliflozin) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการขับน้ำตาลทางปัสสาวะ เเละยังมีผลดีช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เเละ ชะลอการเสื่อมของไตได้
- ดีพีพี-4 อินฮิบิเตอร์ (DPP-4 Inhibitors) เช่น ซิตากลิปติน (Sitagliptin) แซกซ่ากลิปติน (Saxagliptin) ไลนากลิปติน (Linagliptin) ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้โดยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนก็ต่อเมื่อมีการรับประทานอาาหาร จึงเป็นยาที่ค่อยข้างปลอดภัยมาก ในเเง่ของการไม่ทำให้เงินภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ออกฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่ ไกลบูไรด์ (Glyburide) ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ไกลพิไซด์ (Glipizide) ควรใช้ตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เนื่องจากยากลุ่มนี่อาจทำให้เกิดอาการน้ำตาลต่ำได้หากใช้ไม่เหมาะสม
- ยากลุ่มไกลไนด์ (Glinides) เช่น รีพาไกลไนด์ (Repaglinide) นาทิไกลไนด์ (Nateglinide) ออกฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินเช่นเดียวกับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย แต่สามารถออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าเเละหมดฤทธิ์รวดเร็วกว่า
- ยากลุ่มจีเเอลพีวัน (Glucagon like Peptide 1 : GLP-1) ยาในกลุ่มนี้มีทั้งรูปเเบบยาเม็ดรับประทานเเละเเบบยาฉีด เช่น ดูรากลูไทด์(Duraglutide) เซมากลูไทด์ (Semaglutide) ลิรากลูไทด์ (Liraglutide) ตัวยาเป็นรูปแบบฉีด นอกจากยากลุ่มนี้จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดเเล้ว ยังมีผลช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากยาจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวช้าลง อาหารจึงค้างอยู่ในท้องนานขึ้น จึงทำให้รู้สึกอิ่มท้องนาน อีกทั้งออกฤทธิ์กระตุ้นศูนย์ควบคุมความอื่มในสมอง ทำให้รู้สึกไม่อยากอาหารอีกด้วย
- ยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) ยากลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้ยังอาจช่วยลดภาวะไขมันพอกตับได้ด้วย ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ยากลุ่มี้คือ บวม น้ำหนักขึ้น มวลกระดูกบางลง (ในผู้สูงอายุ)
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่โรคอ้วนด้วย นอกเหนือจากการใช้ยาเเละการปรับพฤติกรรมสุขภาพเเล้ว คุณหมออาจเเนะนำถึงการผ่าตัดกระเพาะ/บายพาสกระเพาะอาหาร ซึ่งนอกจากจะช่วยลดนำ้หนักเเล้ว ยังช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น เนื่องจากสมดุลฮอร์โมนต่าง ๆ เป็นระบบมากขึ้น เเละทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินของผู้ป่วยดีขึ้นด้วย
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน
การใช้ยารักษาโรคเบาหวานไม่ว่าจะเป็นยาฉีดอินซูลินหรือยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยา ปรับขนาดยา ด้วยตนเองโดยที่ยังมิได้ปรึกษาคุณหมอหรือไม่ควรปรับประทานยาของผู้อื่นเเม้จะเป็นยารักษาโรคเบาหวานเหมือนกัน เนื่องจากภาวะสุขภาพและอาการเบาหวานของผู้ป่วยแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน เพราะหากได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก ผื่นแพ้ยา ลมพิษ ใบหน้าบวม ตับวาย ไตวาย ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำที่อาจทำให้ชัก/หมดสติได้
นอกจากนี้ ควรแจ้งให้คุณหมอทราบว่ามีโรคร่วมอื่น ๆ อะไรบ้าง เเละกำลังรับประทานยา หรือสมุนไพร/อาหารเสริมใดบ้างร่วมด้วย รวมถึงมีอาการแพ้ยา เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเองเนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยารักษาโรคเบาหวานหรือเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาร่วมกันได้
การดูแลตัวเองเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน
การดูแลตัวเองเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน ทำได้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินเเละเพิ่มความไวต่ออินซูลินได้ ทำให้ร่างกายสามารถจัดการนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง นอกจากนี้เเนะนำให้เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้ง ไขมันและน้ำตาลสูง เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ และยังควรเลิกสูบบุหรี่ รวมถึงจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองเป็นประจำด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วยังมีส่วนช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น เนื่องจากทำให้ทราบว่ายาต่าง ๆ เเละการปรับพฤติกรรมสุขภาพของตนเหมาะสมเเล้วหรือไม่ มีระดับน้ำตาลในเเต่ละวันที่ประกอบชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร เพราะหากยังคงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือมีอาการเบาหวานแย่ลง จะได้รีบแจ้งหรือไปพบคุณหมอเพื่อขอคำเเนะนำรวมถึงปรับยา/การรักษาได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังควรเข้ารับการตรวจคัดกรองภาวะเเทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคเบาหวานที่คุณหมอเเนะนำ เช่น การตรวจจอประสาทตา ตรวจเลือดเเละปัสสาวะเพื่อคัดกรองโรคไต การตรวจการทำงานของหัวใจ เเละ การตรวจสุขภาพเท้าเป็นต้น