ลักษณะฉี่ของคนเป็นเบาหวาน มักมีกลิ่นคล้ายผลไม้รสหวาน สีขุ่น และฉี่บ่อย เนื่องจากในกระแสเลือดมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสปนอยู่มากกว่าปกติ เมื่อร่างกายขับของเสียออกมาทำให้มีน้ำตาลปนออกมาด้วย นอกจากนั้นแล้ว ในฉี่ของผู้ป่วยเบาหวานยังมีการปะปนของสารคีโตน (Ketone) รวมทั้งการมีระดับอัลบูมิน (Albumin) ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในเลือดอยู่น้อย แต่ปนออกมาอยู่ในฉี่จำนวนมาก ปัจจัยเหล่านี้สะท้อนถึงภาวะเลือดเป็นกรด เนื่องจากการทำงานของไตที่บกพร่องทำให้การกรองของเสียผิดปกติ
[embed-health-tool-bmi]
โรคเบาหวานกับระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานมักผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย
โดยอินซูลินมีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน เมื่อมีอินซูลินน้อย และน้ำตาลไม่ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ก็จะทำให้เกิดการตกค้างของน้ำตาลในกระแสเลือด เกิดเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเป็นเบาหวาน จะมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในขณะที่คนปกติจะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนระดับน้ำตาลระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจหมายถึงบุคคลนั้นมีความเสี่ยงโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes)
เกณฑ์ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเป็นเบาหวาน ควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนมื้ออาหาร และน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังมื้ออาหาร
ลักษณะฉี่ของคนเป็นเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานนอกจากจะฉี่บ่อยแล้ว ฉี่ยังมีลักษณะที่สะท้อนถึงอาการของโรคเบาหวานซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่
- มีกลิ่นคล้ายผลไม้รสหวานหรือรสเปรี้ยวเนื่องจากมีน้ำตาลปนอยู่
- มีสีขุ่นไม่ใส และในบางครั้งอาจจะมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีฉี่ขุ่นด้วย
นอกจากนี้ ฉี่ของคนเป็นเบาหวานมักมีการเจือปนของสารอื่น ๆ ดังนี้
กลูโคส
ในฉี่ของคนเป็นเบาหวาน มักพบระดับน้ำตาลกลูโคสปนอยู่มากกว่าปกติ หรือเกินกว่า 0.25 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งสะท้อนถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินความต้องการของร่างกายผู้ป่วย จนต้องถูกขับออกมาทางฉี่
สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี มักตรวจไม่พบกลูโคสในฉี่ เนื่องจากไตจะทำหน้าที่กรองกลูโคสแล้วดูดซึมกลับสู่กระแสเลือด กลูโคสในฉี่ มักพบในผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร นอกจากนี้ กลูโคสยังทำให้ฉี่มีกลิ่นหอมหวานคล้ายผลไม้และมีลักษณะขุ่นด้วย
คีโตน
คีโตน (Ketone)เป็นสารประกอบความเป็นกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสพบคีโตนหรือภาวะเลือดเป็นกรด เนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินได้ต่ำกว่าปกติหรือในบางรายอาจไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย ซึ่งอินซูลินทำหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลออกจากกระแสเลือดไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ร่างกายจึงจำเป็นต้องสร้างพลังงานทดแทนด้วยการสลายไขมัน กระบวนการสลายไขมันเพื่อใช้เป็นพลังงานส่งผลให้เกิดคีโตนในกระแสเลือด และเมื่อมีคีโตนมาก เลือดก็จะเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
โดยปกติ คีโตนจะถูกขับออกมาทางฉี่ หากคีโตนในเลือดสูง คีโตนในฉี่จะสูงตาม ทั้งนี้ การตรวจระดับคีโตนในฉี่ สามารถทำได้ด้วยชุดตรวจเฉพาะ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยา
ชุดตรวจคีโตนจะเป็นแผ่นทดสอบ เมื่อจุ่มลงในฉี่แล้วจะแสดงค่าเป็นสีต่าง ๆ ตามระดับคีโตนที่พบ ถ้าระดับคีโตนอยู่ที่ “ปานกลาง” หรือ “สูง” หรืออยู่ระหว่าง 4-16 มิลลิโมล/ลิตร ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที
อัลบูมิน
ฉี่ของคนเป็นเบาหวานมักมีโปรตีนอัลบูมินเจือปนในปริมาณมาก หรือประมาณ 30-300 มิลลิกรัม ภายใน 24 ชั่วโมง และถ้าหากพบมากกว่า 300 มิลลิกรัม จะเรียกว่า ภาวะแมคโครโปรตีนนูเรีย (Macroproteinuria)
เกิดจากการเสื่อมของไตจากโรคเบาหวาน
การตรวจสอบว่ามีภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียหรือไม่ คุณหมอต้องตรวจพบปริมาณอัลบูมินจำนวน2 ใน 3 ของตัวอย่างฉี่ ซึ่งเก็บในเวลาต่างกัน
ในคนปกติหรือผู้ป่วยเบาหวาน ที่ไตยังทำงานปกติ ปริมาณอัลบูมินที่พบในฉี่ จะมีประมาณ 30 มิลลิกรัมหรือน้อยกว่า