backup og meta

เป็นเบาหวานแล้วผอมอันตรายไหม

เป็นเบาหวานแล้วผอมอันตรายไหม

เป็น เบาหวาน แล้ว ผอม อันตราย ไหม อาจเป็นคำถามที่ผู้เป็นเบาหวานสงสัยและกังวลใจ โดยผู้ป่วยเบาหวานแล้วผอมหรือมีน้ำหนักลดลงอาจมีสาเหตุมาจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จนต้องเปลี่ยนไปเผาผลาญไขมันและกล้ามเนื้อเเทน รวมถึงน้ำหนักที่ลดลงอาจมาจากการสูญเสียน้ำเนื่องจากต้องขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งหากไม่ทำการรักษาก็อาจทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ขาดน้ำ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายและไม่มีแรง จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

[embed-health-tool-bmi]

เบาหวานทำให้ผอมลงได้อย่างไร

สาเหตุที่ผู้ป่วยเบาหวานผอม หรือน้ำหนักลดลงอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ร่างกายขาดน้ำ จากการที่เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย เเละ สูญเสียน้ำจากร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและอาจทำให้น้ำหนักลดลงได้
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ร่างกายต้องเริ่มกระบวนการย่อยสลายไขมันและกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงานแทนจึงเป็นสาเหตุให้ให้น้ำหนักตัวลดลง
  • จิตใจเศร้าหมอง เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยบางราย อาจทำให้รู้สึกเศร้า โดดเดี่ยว วิตกกังวล จนไม่อยากรับประทานอาหารและทำให้น้ำหนักลดลงได้
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อรุนแรง เช่น เท้าติดเชื้อเรื้อรัง เนื้อตาย ระบบภูมิคุ้มกันจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ร่างกายจึงต้องใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น จึงอาจทำให้ผอมลงได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ไทรอยด์ มะเร็ง โรคเหล่านี้อาจกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานมากเกินไป หรือมีความผิดปกติบริเวณลำไส้ ส่งผลให้ดูดซึมสารอาหารได้น้อยลงจนทำให้น้ำหนักลดลงเช่นกัน

เป็น เบาหวาน แล้ว ผอม อันตราย ไหม

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน อาจมีร่างกายซูบผอม อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย ไม่มีแรงแม้จะรู้หิวบ่อย โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่มีรูปร่างผอมและน้ำหนักตัวน้อยอยู่แล้ว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้ร่างกายขาดพลังงานมากจนส่งผลกระทบร้ายแรงได้ เช่น ร่างกายขาดสารอาหาร เกิดภาวะขาดน้ำ ทำให้มีความดันโลหิตต่ำ อาจทำให้หน้ามืดเเละหมดสติได้

นอกจากนี้ หากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต โรคระบบประสาท มือและเท้าชา

วิธีดูแลเรืองน้ำหนักตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีภาวะน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อ่อนแรง หงุดหงิดง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

  • ควบคุมการรับประทานอาหาร โดยควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักและผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น เบคอน แฮม น้ำอัดลม ขนมหวาน ของทอด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต โรคระบบประสาท
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานส่วนเกินในร่างกาย ช่วยควบคุมและลดน้ำหนัก รวมถึงเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยแนะนำให้ออกกำลังกายที่ความเหนือยระดับปานกลาง  เช่น เต้นแอโรบิก วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ ประมาณ 30 นาที/วัน อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ ทั้งนี้ อาจต้องปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Unexplained Weight Loss. https://www.diabetes.co.uk/symptoms/unexplained-weight-loss.html#:~:text=Diabetes%20and%20sudden%20weight%20loss,reduction%20in%20overall%20body%20weight. Accessed July 18, 2022

Will Weight Loss Help With Your Diabetes?. https://www.webmd.com/diabetes/safe-diet-tips-for-diabetes. Accessed July 18, 2022

Diabetes Symptoms: Sudden Weight Loss. https://www.sutterhealth.org/ask-an-expert/answers/diabetes-symptoms-sudden-weight-loss#:~:text=It%20can%20become%20a%20sudden,provider%20as%20soon%20as%20possible. Accessed July 18, 2022

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444. Accessed July 18, 2022

Diabetes-treatment-Diagnosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/diagnosis-treatment/drc-20371451. Accessed July 18, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/04/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เมตาบอลิซึม เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ DM type 2 คือ อะไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา