backup og meta

วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดขึ้นจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินขึ้นมาได้มากเพียงพอที่จะจัดการกับน้ำตาลในเลือด พบได้มากในผู้ที่มีอายุน้อย ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เพื่อให้สามารถรับมือกับอาการและช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

[embed-health-tool-bmi]

วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อาจทำได้ดังนี้

  • เตือนความจำ จดโน้ตถึงการนัดหมายตรวจสุขภาพประจำปี หรือตามที่แพทย์กำหนดเอาไว้ เพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1  ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพตรงตามเวลา
  • รับการฉีดวัคซีนให้ครบ
  • หลีกเลี่ยงสูบบุหรี่อย่างถาวร
  • ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากเป็นไปได้ให้หยุดดื่มเลยจะดีเสียกว่า
  • ลดระดับความเครียด หรือหากิจกรรมที่ช่วยให้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 รู้สึกผ่อนคลาย เพราะความเครียดจะทำให้อินซูลินมีการทำงานที่ผิดปกติ
  • ควบคุมความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอล หรือมีการตรวจเป็นประจำด้วยอุปกรณ์ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • เลือกอาหารที่เหมาะสม ตามการวางแผนรับประทานอาหารจากคุณหมอ
  • สังเกตบาดแผลพุพองบนผิวหนังทั่วทั้งร่างกายของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง คุณหมออาจให้สวมใส่อุปกรณ์ที่ข้อมือ หรือติดอุปกรณ์อย่างเข็มกลัด ที่บ่งชี้ว่าเป็น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1  ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉินในทันที เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรปล่อยให้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ถอดออกตามอำเภอใจ

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 บางกรณีอาจมีภาวะแทรกซ้อนเข้ามาร่วมด้วยอย่างแน่นอน โดยสามารถแบ่งออกเป็นภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้น และระยะยาว ดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ระยะสั้น ได้แก่

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ภาวะเลือดเป็นกรด จากการที่ร่างกายสร้างคีโตน (Ketones) มากเกินไป

ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ระยะยาว ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • เส้นประสาทเสียหาย
  • โรคไต
  • จอประสาทตาเสื่อม เสี่ยงเป็นต้อหิน และต้อกระจก
  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
  • หัวใจวาย

การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1

คุณหมอส่วนใหญ่มักเลือกใช้การรักษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วยอินซูลิน และตัว ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ก็อาจต้องได้รับรักษาด้วยวิธีนี้ตลอดทั้งชีวิต โดยคุณหมอจะทำการฉีด หรือสอนการฉีดอินซูลินให้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ดูแลให้ได้ทราบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวอุปกรณ์ด้ามฉีด เข็มฉีด ชนิดยาที่ใช้ วิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา เป็นต้น

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยอินซูลินนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ต้องผ่านการวินิจฉัยสุขภาพจากคุณหมอในการหาสาเหตุเบื้องต้นเสียก่อน ซึ่งอินซูลินที่จะได้รับนั้น สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (Rapid Acting) โดยจะเริ่มการทำงานหลังฉีดใต้ผิวหนัง 15 นาที จนถึง 1 ชั่วโมง และยังอาจมีการทำงานต่อไปได้อีก 2-4 ชั่วโมง ก่อนประสิทธิภาพจึงจะค่อย ๆ ลดลง
  • อินซูลินออกฤทธิ์สั้น (Short Acting)  จะเริ่มการทำงานประมาณ 30 นาที จนถึง 3 ชั่วโมง และยังอาจมีการทำงานต่อไปได้อีก 3-6 ชั่วโมง
  • อินซูลินออกฤทธิ์นาน (Long Acting Insulin Analog) จะใช้เวลาหลายชั่วโมงก่อนที่จะเริ่มซึมเข้าสู่กระแสเลือด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Managing type 1 diabetes.https://www.diabetesaustralia.com.au/living-with-diabetes/managing-your-diabetes/managing-type-1/.Accessed June 18, 2021

Type 1 diabetes – symptoms, diagnosis, treatment. https://www.southerncross.co.nz/group/medical-library/type-1-diabetes-symptoms-diagnosis-treatment.Accessed June 18, 2021

Type 1 Diabetes.https://www.webmd.com/diabetes/type-1-diabetes.Accessed June 18, 2021

Diabetes Symptoms.https://www.diabetes.org/diabetes/type-1/symptoms.Accessed June 18, 2021

Diabetes treatment and care programme.https://www.england.nhs.uk/diabetes/treatment-care/.Accessed June 18, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/03/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานลงไต ปัจจัยเสี่ยง และวิธีดูแลตัวเอง

สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และปัจจัยเสี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา