backup og meta

ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานชนิดที่ 1 มีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานชนิดที่ 1 มีอะไรบ้าง

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือ ภาวะที่ระดับกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เนื่องจาก ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ผู้ป่วยโรคนี้จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ยังอาจเกิดจากความผิดปกติที่ตับอ่อน รวมถึงปัจจัยบางอย่าง เช่น การรับพันธุกรรมในครอบครัว จนอาจก่อให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานชนิดที่ 1 ได้อีกด้วย โดยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กอายุ 4-7 ปี และ 10-14 ปี และอาจพบได้น้อยกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 

ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานชนิดที่ 1 มีอะไรบ้าง

หากผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ยอมดูแลตัวเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รยมถึงไม่ยอมออกกำลังกาย ก็อาจทำให้อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แย่ลง รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ดังนี้

  • โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เนื่องจาก โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเล็กน้อยตั้งแต่เจ็บหน้าอกไปจนถึงหัวใจวายได้
  • เส้นประสาทได้รับความเสียหาย น้ำตาลส่วนเกินที่อยู่ในหลอดเลือด อาจเข้าไปทำลายเส้นเลือดฝอยบริเวณเส้นประสาท โดยเฉพาะบริเวณขา นิ้วเท้า นิ้วมือ ส่งผลให้เกิดอาการแขนชา ขาชา มือชา และเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหวได้
  • โรคไต ไตประกอบด้วยหลอดเลือดขนาดเล็กที่คอยกรองของเสียออกจากเลือด แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจเข้าไปทำลายระบบการทำงานของไต จนนำไปสู่ภาวะไตวายที่อาจรักษาได้ยาก นอกเสียจากจะปลูกถ่ายไตใหม่
  • ตาบอด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจทำลายหลอดเลือดบริเวณจอประสาทตา ที่ส่งผลให้เป็นต้อกระจก ต้อหิน และตาบอดได้ในที่สุด
  • ผิวหนังติดเชื้อ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราบนผิวหนังได้ง่าย

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ส่วนใหญ่อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจปรากฏขึ้นได้อย่างกะทันหัน โดยอาจแสดงอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • รู้สึกกระหายน้ำ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ความผิดปกติทางอารมณ์ อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
  • เหนื่อยล้า
  • มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน

วิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

ถึงแม้จะไม่มีวิธีป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อย่างแน่ชัด แต่อาจนำวิธีต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย และป้องกันอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แทน

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
  • เลือกรับประทานอาหารที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ไฟเบอร์จากผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง
  • ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต เช่น โยคะ ว่ายน้ำ วิ่ง ปั่นจักรบาน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินและสารพิษในบุหรี่อาจเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคแทรกซ้อนเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามการนัดหมายของคุณหมอ เพื่อตรวจดูว่าตัวเองกำลังเป็นโรคอื่น ๆ อีกหรือไม่ เพราะหากมีสิ่งผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวจะได้รีบทำการรักษาในทันที ก่อนเกิดอาการรุนแรงในอนาคต

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Type 1 diabetes.https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-1-diabetes/symptoms-causes/syc-20353011.Accessed June 17, 2021

How to Avoid Complications From Type 1 Diabetes.https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-complications-type-1.Accessed June 17, 2021

Avoiding complications.https://www.nhs.uk/conditions/type-1-diabetes/avoiding-complications/.Accessed June 17, 2021

Complications of diabetes.https://diabetesnsw.com.au/living-with-diabetes/complications-of-diabetes/.Accessed June 17, 2021

Type 1 Diabetes.https://www.cdc.gov/diabetes/basics/type1.html.Accessed June 17, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/03/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รู้ก่อน รับมือทัน

ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 20/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา