สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คาดว่าอาจเกิดขึ้นจากการปฏิกิริยาภูมิต้านทานตนเอง ที่ระบบภูมิต้านทานเข้าไปโจมตีเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างอินซูลิน ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ใช้ยาสำหรับโรคเบาหวาน เช่น ยาอินซูลิน และออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
[embed-health-tool-bmi]
สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีอะไรบ้าง
ถึงแม้จะไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจาก เป็นโรคที่ค่อนข้างเชื่อมโยงกับภาวะทางสุขภาพหลากหลายปัจจัยจนไม่อาจคาดเดาได้ นอกเสียจากจะได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอโดยตรง แต่ส่วนใหญ่ สาเหตุโดยส่วนใหญ่คือเกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานตัวเอง ที่เข้าไปทำลายเซลล์ในตับอ่อนที่มีบทบาทในการสร้างอินซูลิน รวมถึงอาจได้รับการสืบทอดทางพันธุกรรมของบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อยู่แต่เดิม
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1
มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ ดังนี้
- ภาวะซึมเศร้า
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
- ประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ
- เชื้อชาติพันธุ์ โดยเฉพาะเชื้อสายเอเชีย ชาวเกาะแปซิฟิก ชนพื้นเมืองอเมริกัน
การวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1
สำหรับการวินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คุณหมออาจเริ่มต้นด้วยการสอบถามประวัติ อาการ และยาบางชนิดเบื้องต้น ที่กำลังใช้อยู่ จากนั้น จึงค่อยเริ่มการตรวจสุขภาพ ดังต่อไปนี้
- การทดสอบระดับน้ำตาลในเลือด (A1C) เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงหรือไม่
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการอดอาหาร คุณหมอจะแนะนำให้อดอาหารข้ามคืนก่อนถึงวันนัดหมายในเจาะการเลือด หากพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถูกจัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปกติ แต่ถ้าผลตรวจออกมาว่า มีระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ก็หมายความได้ว่าอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานอยู่นั่นเอง
เคล็ดลับลดการควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 1
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที และการเลือกรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยผักและผลไม้ รวมถึงเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ถึงแม้จะไม่ช่วยรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้ แต่ก็อาจช่วยบรรเทาอาการรุนแรงบางอย่างไม่ให้ทำลายสุขภาพเพิ่มเติมได้
ที่สำคัญ ควรมีการวางแผน หรือรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเองขณะเป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย เนื่องจาก ปัญหาสุขภาพที่ทุกคนเผชิญอาจแตกต่างกันออกไป การกำหนดแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงอาจช่วยให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมและตรงจุด หรืออาจปรึกษาคุณหมอเพื่อค้นหาวิธีการอื่น ๆ หรือรับยาที่คุณหมอกำหนดมากิน เพื่อเป็นตัวช่วยเสริมแทน เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาลดคอเลสเตอรอล