backup og meta

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ยาก อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ อาหาร ผู้ ป่วย เบาหวาน ชนิดที่ 1 อาจช่วยให้สามารถเลือกอาหารที่ควรกินและอาหารที่ไม่ควรกินได้อย่างเหมาะสม และเมื่อดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ ใช้ยาตามที่คุณหมอสั่ง อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและรับมือกับโรคเบาหวานได้ดีขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรได้รับสารอาหารครบถ้วน หลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้

คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตถือเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตประมาณ 50% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน หรือเท่ากับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 200-225 กรัม และควรแบ่งรับประทานคาร์โบไฮเดรตแต่ละมื้อให้เท่า ๆ กัน เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวน เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและเข้าสู่กระแสเลือด จึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาหารที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ

ไฟเบอร์

ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร เป็นสารอาหารที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่สามารถย่อยสลายได้ จึงไม่ถูกดูดซึมไปใช้เป็นพลังงาน และถูกขับออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ ไฟเบอร์มีส่วนช่วยชะลอการย่อยอาหาร ช่วยดักจับไขมันจากอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น และช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล จึงถือเป็น อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ที่ควรรับประทานเป็นประจำ สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี ควรได้รับไฟเบอร์ 15 กรัม/วัน เด็กอายุ 5-11 ปี ควรได้รับไฟเบอร์ 20 กรัม/วัน ผู้ที่อายุ 11-16 ปี ควรได้รับไฟเบอร์ 25 กรัม/วัน และผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป ควรได้รับไฟเบอร์ 30 กรัม/วัน อาหารไฟเบอร์สูงที่ควรรับประทาน เช่น ผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชเต็มเมล็ด

โปรตีนและไขมันดี

โปรตีนมีส่วนสำคัญในการซ่อมแซมร่างกาย แต่ไม่แนะนำให้รับประทานเนื้อสัตว์แปรรูปหรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงเพราะอาจอุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัวและโซเดียม อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อไก่ เนื้อแดงไร้ไขมัน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ส่วนไขมันดีและกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ทั้งยังช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วย โดยอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดีและกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน อะโวคาโด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ควรหลีกเลี่ยง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรลดหรืองดรับประทานอาหารดังตัวอย่างต่อไปนี้ เพราะอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และอาจทำให้อาการของโรคเบาหวานรุนแรงขึ้นด้วย

คาร์โบไฮเดรตที่ควรหลีกเลี่ยง

  • แป้ง ขนมปังขาว มันฝรั่งทอด แป้งขัดสีหรือขัดขาว
  • ผัก ผักกระป๋อง ผักปรุงรส ผักดอง
  • ผลไม้ ผลไม้กระป๋อง ผลไม้กวน แยมผลไม้ น้ำผลไม้แปรรูป

โปรตีนที่ควรหลีกเลี่ยง

  • เนื้อทอด
  • เนื้อติดมัน
  • เบคอนหมู
  • ชีส
  • หนังไก่
  • ปลาทอด
  • เต้าหู้ทอด

ผลิตภัณฑ์นมที่ควรหลีกเลี่ยง

  • นมรสหวาน
  • โยเกิร์ต
  • ไอศกรีม

ไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง

อาจทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงจนหลอดเลือดอุดตัน และเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • ไขมันอิ่มตัว อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อวัว ไส้กรอก เบคอน น้ำมันปาล์ม
  • ไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม ครีมเทียม เนยขาว

เครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง

  • น้ำอัดลม
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ชารสหวาน
  • กาแฟใส่น้ำตาลและครีมเทียม
  • เครื่องดื่มชูกำลัง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Best and Worst Foods for Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/diabetic-food-list-best-worst-foods. Accessed May 21, 2021

Diabetes diet: Create your healthy-eating plan. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes-diet/art-20044295. Accessed May 21, 2021

Good to know: Factors affecting blood blood glucose. (2018).
ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5898168/. Accessed May 21, 2021

Important nutrients to know: Proteins, carbohydrates, and fats. (2019).
nia.nih.gov/health/important-nutrients-know-proteins-carbohydrates-and-fats. Accessed May 21, 2021

The Top 10 Worst Foods if You Have Diabetes. https://health.clevelandclinic.org/top-10-worst-diet-choices-if-you-have-diabetes/. Accessed February 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/11/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษาโรคเบาหวาน โดยการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน

พฤติกรรมการกินผิดปกติ ในกลุ่มวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 18/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา