ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถบ่งบอกได้ว่า เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ หากวัดได้เกินกว่า 100 มิลลิกรัม นั่นอาจหมายความว่า อาจเป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับประทานอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารบางรูปแบบ เช่น ควบคุม เบาหวาน ด้วยการทำ IF อาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการก่อนตัดสินใจทำ IF เพราะหากเลือกรูปแบบของการทำ IF ไม่เหมาะสม อาจยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
ควบคุม เบาหวาน ด้วย IF มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไร
ผลการวิจัยระบุไว้ว่าการใช้วิธีคุมเบาหวานด้วย (Intermittent Fasting หรือ IF) อาจทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว และส่งเสริมให้สุขภาพหัวใจมีความแข็งแรงขึ้น เนื่องจาก IF จะช่วยลดน้ำหนักได้ดี ปรับปรุงระดับอินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดเอวันซี (Hemoglobin A1c) ให้คงที่ตามเกณฑ์ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้นั่นเอง
จากผลการศึกษา การวิจัย พบว่าผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 3 คน ได้รับการดูแลตามที่แพทย์กำหนด เป็นเวลา 10-25 ปี โดยอดอาหารวันเว้นวัน หรือ 3 วันต่อสัปดาห์ ภายในหนึ่งเดือนแรกที่พวกเขาเริ่มปฏิบัติตาม ทำให้พวกเขาทั้ง 3 คน หยุดใช้อินซูลิน หรือลดการใช้ยารักษาโรคเบาหวานลง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่า การคุมเบาหวานด้วย IF มีส่วนช่วยในการลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญ
แต่ถึงอย่างไร นักวิจัยยังคงเร่งดำเนินการทดสอบต่อไป เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม และหนทางที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพได้น้อยที่สุด
ความเสี่ยงที่อาจได้รับจาก การควบคุมเบาหวานด้วย IF
หากคุณเลือกใช้วิธีนี้ คุณอาจต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า IF คือ การจำกัดหรือกำหนดเวลารับประทานอาหาร โดยการลดปริมาณอาหารลง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอลที่นำไปสู่โรคเบาหวานนั่นเอง
ดังนั้น การที่คุณได้รับแผนการทำ IF จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตามความเหมาะสมมาเริ่มปฏิบัตินั้น อาจทำให้คุณรู้สึกหิวในช่วงระยะแรกจนอารมณ์แปรปรวน ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ไม่มีสมาธิ แต่บางกรณีที่รุนแรงก็อาจเผชิญกับความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ การทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวาน
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเริ่มทำ IF อาจต้องเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อให้แพทย์ตรวจเช็กสภาวะสุขภาพว่า คุณสามารถทำ IF ได้หรือไม่ อีกทั้งควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับ การทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงการดูแลตัวเองระหว่างคุมเบาหวานด้วย IF โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- สังเกตตนเองและหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือด หากคุณมีตัวเลขน้ำตาลในเลือดลดลงเร็วเกินควร พร้อมมีอาการเหงื่อออก ตัวสั่น ให้หยุดแผนอดอาหารทันที และหันมาเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดแทนด้วยอาหารปกติ จนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดคุณจะสูงในระดับที่พอดี
- ระวังอย่ารับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปหลังจากเสร็จสิ้นการทำ IF
- ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนักระหว่างทำ IF เพราะอาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงไว
- ดื่มน้ำให้มาก ๆ (ควรเลือกเครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาล และมีแคลอรี่สูง)
[embed-health-tool-bmi]