backup og meta

คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/03/2022

    คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

    คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างมาก เพราะหากไม่ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ เนื่องจากร่างกายจะย่อยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส เมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้น โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงก็ยิ่งสูงตามไปด้วยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน

    ความเชื่อมโยงระหว่าง คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน

    หากรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) มากจนเกินไป อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเพราะร่างกายจะย่อยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส เมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้น ร่างกายจึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานได้ง่าย

    ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต (คาร์โบไฮเดรตคืออาหารประเภทน้ำตาล ข้าว แป้ง นมวัว ผักที่มีแป้งมาก) และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง 

    อาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับประทานและหลีกเลี่ยง สำหรับ 

    ถึงแม้ว่าคาร์โบไฮเดรตจะมีส่วนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถควบคุมได้ดชด้วยการกำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ โดยปกติในแต่ละวัน ร่างกายไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตเกินวันละ 30 กรัม  

    คาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับประทาน ได้แก่

  • ผักที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น กะหล่ำปลี คะน้า บร็อคโคลี่
  • อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำและมีไขมันดี อะโวคาโด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก
  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ปลา อาหารทะเล
  • อื่น ๆ ไข่ ชีส ขนมปัง
  • คาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรหลีกเลี่ยง

    • อาหารแปรรูป เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารที่มีรสชาติเค็ม รวมถึงอาหารว่างทานเล่นที่มีรสชาติเค็ม ขนมหวาน
    • อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น เค้ก คุกกี้ น้ำผลไม้ แป้งพลาสต้า นมปรุงแต่ง
    • ประเภทของทอด เช่น มันฝรั่งทอด
    • ผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น แตงโม กล้วยสุก มะม่วงสุก 
    • ผลไม้แปรรูป

    อาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างไร

    การรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีคุณประโยชน์ที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังต่อไปนี้

    • ให้พลังงานมากขึ้น 
    • รักษาสุขภาพโดยรวมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    • ลดความอยากอาหาร โดยเฉพาะน้ำตาล หรือของหวาน
    • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
    • ช่วยลดน้ำหนัก
    • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในระยะยาว
    • ลดระดับคอเลสเตอรอล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา